'ติดหนี้' แบบ 'ติ๊ก บิ๊กบราเธอร์' หาทางปลดหนี้ยังไง ให้ไม่ต้องพึ่ง 'พนัน'
เปิดตัวช่วย "แก้หนี้" ช่องทางต่างๆ จากภาครัฐ และเทคนิคการบริหารจัดการหนี้ที่ควรจะเป็น จากกรณี "ติ๊ก บิ๊กบราเธอร์" ที่แก้ปัญหา "หนี้สิน" ผิดจนต้องยุติเส้นทางรักกับ "หนุ่ม ศรราม"
"ติ๊ก บิ๊กบราเธอร์" หรือกนิษฐรินทร์ พัชรภักดีโชติ อดีตภรรยา "หนุ่ม ศรราม" ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม จากประเด็นการออกมายอมรับสาเหตุการ "หย่าขาด" จากอดีตสามีเพราะพฤติกรรมทางการเงินของตัวเอง ที่เริ่มจากการมีหนี้สินส่วนตัวหลายแสนบาท ก่อนเล่นพนันออนไลน์หวังหาเงินมาใช้หนี้ ทั้งยังมีกรณีที่นำบัตรของศรรามไปกดเงินเพื่อใช้หนี้โดยไม่ได้ขออนุญาต ฯลฯ
เมื่อมองในมิติการบริหารจัดการหนี้ส่วนตัวบุคคล การมีหนี้สินลักษณะเดียวกับ ติ๊ก บิ๊กบราเธอร์ เป็นสภาวะที่หลายคนกำลังประสบอยู่ ทว่าการแก้ปัญหาที่ผิดจุดของ ติ๊ก ยิ่งนำไปสู่วังวนหนี้ที่หนักหนากว่าเดิม และยิ่งเพิ่มปัญหาอื่นที่กระทบต่อชีวิต เช่น ความสัมพันธ์ หน้าที่การงาน ฯลฯ
จากกรณีที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สะท้อนว่าการบริหารจัดการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ทั้งต่อชีวิตคู่ และการเงินส่วนบุคคล "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงรวบรวมช่องทางการแก้ปัญหาหนี้ต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นวิธีที่ช่วยให้ไม่หลุดจากพันธนาการหนี้สิน ที่ไม่บานปลายไปยิ่งกว่าเดิม โดยสเต็ปการแก้หนี้ที่ควรจะเป็น 3 วิธีหลักๆ มีดังนี้
1. หยุดสร้างหนี้
ปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้นเรื้อรัง และนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา เพราะรับรู้ถึงปัญหานี้แต่ยังไม่หยุดสร้างหนี้ ทำให้หนี้พอกหนักและยิ่งยากที่จะแก้ไข ฉะนั้นจุดเริ่มต้นที่ควรเริ่มทำเมื่อรู้ตัวว่าหนี้ที่มีอยู่เกินตัว และกำลังเป็นปัญหากับชีวิต คือการหยุดสร้างหนี้ใหม่ให้ได้เป็นเรื่องแรก
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- บทเรียนหนี้ 'ติ๊ก บิ๊กบราเธอร์' หย่า ‘หนุ่ม-ศรราม’ สู่เรื่องการเงินที่ต้องรู้ก่อนพัง
- 'หนี้' ท่วม จ่ายไม่ไหว ไปไหนได้บ้าง? เปิด 3 ช่องทางช่วย 'ลูกหนี้' ช่วงโควิด-19
- 'ติ๊ก บิ๊กบราเธอร์' เปิดใจเหตุหย่าขาด 'หนุ่ม ศรราม' ยอมรับเป็นหนี้พนันบาคาร่า
2. กางโครงสร้างหนี้ และทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อให้เห็นปัญหา เพื่อแก้ไขอย่างตรงจุด
จุดเริ่มต้นในการเริ่มต้นแก้ปัญหาหนี้ ควรจะต้องมองเห็นถึงปัญหาหนี้สินที่แท้จริง การลิสต์รายการหนี้สินทั้งหมดที่มีพร้อมประเมินทรัพย์สิน และรายได้ที่ตัวเองมี เพื่อหาทางว่าเงินส่วนใดบ้างที่สามารถนำมาใช้หนี้ได้ หรือถ้าไม่มีทรัพย์สินที่เพียงพอต่อการชำระหนี้ สามารถคำนวณให้เห็นชัดเจนว่า ยังขาดเงินอยู่อีกเท่าไร และควรหารายได้เพิ่มจากที่ไหนบ้างในแต่ละเดือน พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญในการชำระหนี้ เช่น หนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงควรชำระก่อน หนี้ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าชำระทีหลัง หรือค่อยๆ ผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่กำหนดตามลำดับ
3. หาทางแก้ปัญหาให้ตรงจุด
ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาหนี้ของประชาชนหลากหลายโครงการ ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยให้สามารถชำระหนี้ได้แบบไม่ทำให้ดอกเบี้ยพอกพูนมากกว่าเดิม และมีโอกาสปลดหนี้ได้ โดยมีทางเลือกในการ "แก้หนี้" หรือ "ปลดหนี้" ด้วยวิธีการต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งแต่ละคนสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับภาระหนี้สินของตัวเอง โดยมี 3 ทางเลือก ดังนี้
3.1 รวมหนี้
รวมหนี้ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วย วิธีการรวมหนี้ (debt consolidation) โดยให้สามารถนำสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่อยู่ภายใต้ผู้ให้บริการทางการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของผู้ให้บริการทางการเงินเดียวกัน อาทิ บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อ มาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อใช้ประโยชน์จากหลักประกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถลดอัตราดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นให้เหลือไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate: MRR) และขยายระยะเวลาการชำระหนี้ตามความสามารถของลูกหนี้
การรวมหนี้ด้วย ในกรณีฉุกเฉิน สำหรับคนที่ต้องการเงินด่วน อาจมองหาวิธีเพิ่มสภาพคล่องในระยะสั้นที่มาจากสถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น สินเชื่อระยะสั้นของธนาคารต่างๆ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
'หนี้' ท่วม จ่ายไม่ไหว ไปไหนได้บ้าง? เปิด 3 ช่องทางช่วย 'ลูกหนี้' ช่วงโควิด-19
3.2 คลินิกแก้หนี้
"คลินิกแก้หนี้" เกิดจากความร่วมมือของบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) และ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหา "หนี้เสีย" ทั้งบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ให้สามารถหลุดจากวงจรหนี้บัตรเครดิตได้ผ่านการ "ปรับโครงสร้างหนี้" โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยร่วมกับสถาบันการเงิน (bank) 17 แห่ง และผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) 18 แห่ง
ทั้งนี้ ผู้ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขจะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ คือ เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 65 ปี เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ โดยต้องเป็น NPL ก่อน 1 ม.ค. 63 (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือน ธ.ค. 62 ต้องมีสถานะค้างชําระ 91-120 วันขึ้นไป) และหนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท
3.3 เจรจาหนี้
เทคนิคการจัดการหนี้สินส่วนบุคคลในกรณีที่ไม่สามารถชำระคืนได้ของ "หนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์" หรือ "เดอะมันนี่โค้ช" ได้แนะนำว่า "ถ้าอาการหนัก คุยแบบขอหยุดพักชำระ ที่ไม่ใช่มาตราการขั้นต่ำ เราสามารถเจรจาขอเป็นสิทธิพิเศษได้ เพราะฉะนั้น ควรเจรจาอย่างจริงจัง สื่อสารตรงๆ ว่าจ่ายไม่ได้ เพราะจะได้เงื่อนไขที่เป็นประโยชน์มากกว่า" โดย เดอะ มันนี่โค้ช เผยสเต็ปการเจรจาหนี้ได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
4 เรื่อง 'การเงิน' ที่ควรทำ ก่อนการเงินเข้าขั้นวิกฤติ สไตล์ 'THE MONEY COACH'