'ปิยบุตร' เผย 'ก้าวหน้า' ดันโครงการ 'อ่านเปลี่ยนโลก' มั่นใจจุดเริ่มต้นความเปลี่ยนแปลง
'ก้าวหน้า' เปิดโครงการอ่านเปลี่ยนโลก หวังกระตุ้นความคิดและปฏิบัติการสู่ความเปลี่ยนแปลง
เมื่อเวลา 10.00น. ที่อาคารไทยซัมมิท นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เปิดตัวโครงการ "อ่านเปลี่ยนโลก" โดยระบุว่า หัวใจสำคัญของหนังสืออยู่ที่การเขียนและการเข้าไปอ่าน ซึ่งจะก่อให้เกิดความคิดขึ้นมาทันที หนังสือบางเล่มอาจมีความพลานุภาพทำให้ความคิดใหม่และตาสว่างขึ้นมาทันทีเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและคิดถึงโลกใบใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการทางปัญญา
"การอ่านเป็นกุญแจดอกแรกที่นำไปสู่ความรู้และเปิดสมองคนให้นำไปสู่การปฏิบัติการได้ การอ่านเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนโลกนั้นจะต้องทำให้เข้าถึงการอ่านว่าควรอ่านหนังสืออะไรและอ่านกับใคร จึงนำมาสู่โครงการนี้ที่มีการแนะนำหนังสือหลากหลาย เช่น ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ปรัชญาการเมือง เป็นต้น" นายปิยบุตร กล่าว
นายปิยบุตร กล่าวว่า เบื้องต้นเราได้คัดเลือกมา 21 ปกจาก12 สำนักพิมพ์ โดยเราหวังว่าอ่านแล้วจะเกิดการสร้างความคิดใหม่และเกิดการกระตุ้นออกไปเปลี่ยนแปลงสังคม จุดเริ่มต้นของโครงการนี้เกิดจากการที่ตนเองได้เข้าไปเล่นทวิตเตอร์ โดยได้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ได้อ่านหนังสือจำนวนมาก และแต่ละเล่มนั้นมีเนื้อหาแบบหนัก แต่เป็นหนังสือที่มีราคาแพง ทำให้คิดว่าควรลงทุนสร้างห้องสมุดเล็กของคณะก้าวหน้าเพื่อแบ่งปันกันอ่าน โดยให้หนังสือเป็นทรัพย์สินร่วมกัน เมื่ออ่านจบแล้วจะนำมาส่งให้เพื่อนเพื่ออ่านต่อไป เราเชื่อว่าโครงการนี้จะทำให้เยาวชนและประชาชนได้รวมตัวกันเพื่อเปลี่ยนความคิดและออกไปปฏิบัติเพื่อให้การสร้างอำนาจนำใหม่ในสังคมไทย
ด้าน นายธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราภิชานภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ได้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ กล่าวว่า ส่วนตัวขอชื่นชมขบวนการของนักเรียนมัธยม เพราะในวัยแบบนั้นและบรรยากาศที่มีอำนาจนิยมในโรงเรียนการที่จะขบถทำได้ยาก ดังนั้น การขบถของนักเรียนมัธยมต้องการการตัดสินใจที่ใหญ่กว่า ทั้งนี้ การอ่านจะทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรนั้นจะต้องเริ่มจากการสร้างวัฒนธรรมการอ่านในระดับปัจเจกชน
จากนั้นนายธงชัย ได้อ่านแถลงการณ์ หัวข้อ "อ่านเพื่อเปลี่ยนโลก อ่านเพื่ออนาคตของเรา" โดยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ไม่สามารถอาศัยเพียงกำลังทางกายภาพและจำนวนปริมาณเท่านั้น แต่จำเป็นต้องอาศัยเจ้าของแผ่นดินทั้งหลายผู้มีปัญญาพร้อมจิตใจมุ่งมั่นกล้าหาญ ผลักดันสังคมให้ก้าวออกจากกรอบความเชื่องมงาย เพราะหากความคิดความเชื่อแบบเดิมยังคงดำรงอยู่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้
การต่อสู้กับความเชื่อเดิมๆ สร้างความคิดความเชื่อใหม่ๆเป็นสิ่งจาเป็นที่แยกไม่ออกจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของราษฎรที่เท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงเพื่อ อนาคตที่ดีกว่าทุกวันนี้หลายอย่างน่าจะสามารถจบได้ในรุ่นเรา หลายอย่างเป็นกระบวนการไม่สิ้นสุดและไม่มีคาว่าสมบูรณ์ตราบเท่าที่โลกยังคงหมุนเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการถกเถียงแลกเปลี่ยนทางปัญญาอย่างมีเสรีภาพและอย่างอารยะภายใต้ความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบประชาธิปไตย เพราะเส้นทางเช่นนี้เท่านั้นที่จะสามารถแสวงหาทางเลือกใหม่ๆได้อย่างสันติ เพื่ออนาคตที่ดีขึ้นเรื่อยไปไม่สิ้นสุด
วุฒิภาวะของสังคมบังเกิดไม่ได้เพียงเพราะความปราดเปรื่องของผู้นำหรือปัญญาชนจานวนน้อย แต่หมายถึงสังคมที่ประชาชนทั่วไปมีโอกาส มีวัฒนธรรมทางปัญญาในชีวิตประจาวันที่คุ้นเคยกับการแสวงหาความรู้และการสร้างสรรค์อย่างมีจินตนาการ มีความสามารถในการใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ และมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอย่างมีความรู้และปัญญา
วัฒนธรรมการอ่านเป็นพื้นฐานสาหรับการสร้างสังคมอุดมปัญญาเช่นนั้น เป็นวิธีเข้าถึงความรู้ พัฒนาวุฒิภาวะทางความคิด ยกระดับวิจารณญาณ เกื้อหนุนจินตนาการสร้างสรรค์ และหล่อหลอมศีลธรรมทางสังคมแบบโลกวิสัย ความคิดใหม่จะเกิดขึ้นได้เพราะเราอ่าน จินตนาการถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ มักมากับหนังสือที่เราอ่าน เราเปลี่ยนโลกได้เพราะเราอ่านหนังสือ