ชงศบค.เล็กสัปดาห์หน้าลดกักตัวเหลือ 10 วัน
สธ.เผยลดวันกักตัวกันโควิด 14 วันกับ 10 วันความเสี่ยงไม่ต่างกันมาก หลายประเทศปรับลดแล้ว ยังไม่พบว่าไปเพิ่มการแพร่เชื้อ ชงศบค.ชุดเล็กสัปดาห์หน้า ย้ำยังคงความปลอดภัยไว้
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.)มอบหมายให้กรมควบคุมโรคไปจัดดทำข้อเสนอเชิงวิชาการในการฟื้นฟูเศรษบกิจ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเปิดการเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น ซึ่งการกักตัวเมื่อเข้าประเทศไทย 14 วันอาจเป็นอุปสรรค เพราะการกักตัวเดิม 14 วันหลายคนไม่อยากเข้ามา ทำให้ระยะเวลาอนู่ในไทยนานขึ้น ค่าใช้จ่ายมากขึ้น และหลายประเทศได้มีการลดวันกักตัวลงแล้ว ในส่วนของประเทศไทย การกลับไปใช้ชีวิตปกติต้องกลับไปสะดวกสบาย แต่คำนึงความปลอดภัย และแม้ว่าจะมีการ ลดวันกักตัวลง แต่คงมาตรการความปลอดภัยไว้ ซึ่งจะมีการนำเสนอข้อเสนอทางวิชาการในการลดวันกักตัวเหลือ 10 วันเสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19(ศบค.)ชุดเล็กภายในสัปดาห์หน้า
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า มาตรการกักตัว 14 วัน ที่นานาประเทศดำเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา เนื่องจากมีข้อมูลความรู้ว่าระยะฟักตัวโรคตั้งแต่รับเชื้อจนมีอาการไม่เกิน 14 วัน แต่ผ่านไปหลายเดือน มีความรู้มากขึ้น จากเดิมทุกประเทศใช้จำนวนวันเดียวกัน เริ่มมีการลดระยะจำนวนวันกักตัวลงโดยคงความปลอดภัยไว้ ตัวอย่างการศึกษาซึ่งทีมวิจัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ดำเนินการ โดยดูจากข้อมูลจำนวนวันที่กักกันตั้งแต่ 0, 5, 10, 14 วัน และร้อยละการติดเชื้อที่ป้องกันได้ พบว่า เมื่อเวลาเพิ่มขึ้นในการกักกัน ก็จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อได้ อย่างไรก็ตามเมื่อถึงจุดหนึ่งประมาณ 10 วันและต่อมาเรื่อยๆจนถึง 14-15 วันนั้น เปอร์เซ็นต์การป้องกันแพร่เชื้อไม่ค่อยเพิ่มขึ้นแล้ว ดังนั้น ประโยชน์ในช่วงแรกถ้าเพิ่มวันกักกันจะป้องกันดีขึ้น แต่ถึงจุดหนึ่งจะมาเกิดประโยชน์มากขึ้นเท่าไหร่ เนื่องจากความเสี่ยงไม่ต่างกันมาก
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า ช่วง3-4 เดือนที่ผ่านมาหลายประเทศเริ่มเปลี่ยนนโยบาย ลดวันกักกัน เหลือ 10 วัน ได้แก่ ฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ สโลวีเนีย ลัตเวีย บางประเทศลดเหลือ 7 วัน คือ เบลเยียม ฝรั่งเศส และมีกลุ่มประเทศจำนวนหนึ่งกำหนดมาตรการพิเศษสำหรับบางกรณี เช่น การเลือกประเทศ และคนที่มีผลตรวจเชื้อด้วยวิธีพีซีอาร์ไม่พบเชื้อไม่ต้องกักกันเลย เช่น สเปน สหรัฐอเมริกา สวีเดน มัลดีฟส์ บราซิล สหราชอาณาจักร ลักเซมเบิร์ก แอฟริาใต้ และโปรตุเกส ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทและความจำเป็นต่อสถานการณ์ในประเทศนั้น
ข้อเสนอทางวิชาการการสำหรับการปรับนโยบายกักกันผู้เดินทางเข้าประเทศไทย หฟากดูข้อมูลทั้งทางการศึกษาระบาวิทยา การสร้างแบบจำลอง และตัวอย่างในต่างประเทศนั้น คือ การลดจำนวนวันกักกันจาก 14 วันเป็น 10 วัน มีความเสี่ยงใกล้เคียงกัน โดยในผู้ที่ไม่ติดเชื้อความเสี่ยงไม่ต่างกัน แต่ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเมื่อิลดจำนวนวันลงความเสี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มีมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นได้จากการลดวันกักตัว คือ นำร่องประเทศที่ควบคุมโควิดได้ดี เช่น ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศหรือมีจำนวนน้อย ก่อนเดินทางตรวจเชื้อวิธี พีซีอาร์ภายใน 72 ชั่วโมง เมื่อมาถึงประเทศไทยตรวจพีซีอาร์อีก 2ครั้ง และเมื่อกักกัน ครบ 10 วัน แนะนำให้ใส่หน้ากาก หลีกเลี่ยงสถานที่มีคนจำนวนมาก
ต่อข้อถามที่ว่าประเทศที่มีการลดวันกักตัวเหลือ 10 วันก่อนหน้านี้แล้ว มีการประเมินผลเป็นอย่างไร นพ.โสภณ กล่าวว่า ประเทศที่ลดวันกักตัวเหลือ 10 วันไประยะหนึ่งมีการประเมินผลเมื่อพบว่าคนที่กักตัว 10 วันไม่แพร่เชื้อต่อจึงมีการลดวันกักตัวเหลือ 7 วันในบางประเทศ สำหรับประเทศไทย หากมีการลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน จะมีการกำหนดให้ผู้ที่เข้ารับการกักตัวต้องโหลดแอปพลิเคชันติดตามตัว เมื่อมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดขึ้นก็จะดูว่ามีการเชื่อมโยงกับคนที่กักตัว 10 วันหรือไม่ รวมถึง ติดตามคนกักตัวเองด้วยว่าหลังจาก 10 วันแล้วมีการติดเชื้อหรือไม่ เมื่อดำเนินการไประยะหนึ่งแล้วหากไม่พบการติดเชื้อ ก็สรุปได้ว่าการกักตัว 10 วันปลอดภัย จึงจะมีการพิจารณาลดลงเหลือ 7 วันต่อไป อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศที่มีการลดวันกักตัวเหลือ 10 วันแล้วนั้น ยังไม่พบว่าในวันที่ 11-14 ไปเพิ่มการแพร่เชื้อ