นศ. มจธ. เจ๋ง สร้างแพลตฟอร์มพัฒนารูปแบบคอร์สเรียนออนไลน์

นศ. มจธ. เจ๋ง สร้างแพลตฟอร์มพัฒนารูปแบบคอร์สเรียนออนไลน์

นศ. มจธ. เจ๋ง คว้าแชมป์ “Hackathon BUILD ON THAILAND 2020 EMBRACING YOUR FUTURE” นำเสนอ OpenDurian”แพลตฟอร์มที่พัฒนาด้านการศึกษารูปแบบคอร์สเรียนออนไลน์ ได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับอาเซียน

นักศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภายใต้ชื่อทีม Hello World คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Hackathon BUILD ON, THAILAND 2020 EMBRACING YOUR FUTURE  จัดโดย AWS, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), สำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), KMITL Research and Innovation Services (KRiS) ซึ่งเป็นการจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย และได้เป็นตัวแทน 1 ใน 3 ของไทยที่ได้เข้าแข่งขันเพื่อชิงอันดับหนึ่งในระดับอาเซียนร่วมกับทีมผู้ชนะเลิศจากอีก 4 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ภายในปลายปี 2563 

ทีมHello World มีสมาชิกด้วยกัน 5 คน ประกอบด้วย น.ส.จิรัฐติกาล วิไลรัตน์ (ปอย), นางสาวภัทราภร เพิ่มพูล (ข้าวตู), น.ส.ทัศนีย์วรรณ น้อยตา (มาย) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, น.ส.กมลวรรณ ครองสกุล (ปลา) และนายชลันธร หนิ้ววิยะวงค์ (น็อต) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

160351303219

สำหรับการแข่งขัน Hackathon BUILD ON, THAILAND 2020 EMBRACING YOUR FUTURE ที่จัดขึ้นครั้งแรกในไทยนี้ มีการแบ่งโจทย์การแข่งขันออกเป็น 7 หัวข้อหลักตามองค์กรที่ต้องการพัฒนาหรือแก้ปัญหาธุรกิจโดยนำ AWS หรือ Amazon Web Services มาตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ โดยทีมHello World”จาก มจธ.เลือกโจทย์ของ“OpenDurian”แพลตฟอร์มที่พัฒนาด้านการศึกษารูปแบบคอร์สเรียนออนไลน์

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีนักเรียนที่สมัครเรียนออนไลน์เป็นจำนวนมาก ทำให้มีปัญหาด้านระบบการตรวจสอบสลิปการจ่ายเงิน เนื่องจากนักเรียนจะต้องส่งสลิปเข้าไปในระบบก็จะใช้พนักงานในการตรวจสอบ แต่เมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้าน ทำให้พนักงานต้องใช้เวลามากในการตรวจสลิป โจทย์ของ OpenDurian คือ ต้องการระบบที่ทำให้สามารถตรวจสลิปได้รวดเร็วขึ้น โดยจะต้องไม่ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้งาน หรือ User

ปัญหาของ OpenDurian คือยังใช้คนในการตรวจสอบสลิปที่มีจำนวนมาก จึงใช้เวลานานและมีกระบวนการหลายอย่าง จึงอยากได้ระบบที่มาแก้ปัญหาตรงนี้ เราเลยคิดระบบที่ช่วยตรวจสอบสลิปได้อัตโนมัติ เพื่อตอบโจทย์กับธุรกิจ ตรวจสอบสลิปที่มีการโอนเข้ามาได้มีประสิทธิภาพและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือต้องไม่ไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้งานของ user นายชลันธร หนิ้ววิยะวงค์ หรือ น็อต กล่าว

เมื่อได้รับการตีโจทย์ธุรกิจจาก “น็อต” ว่าจะแก้ปัญหาแนวทางไหน จึงนำมาสู่การแบ่งงานกันตามความสามารถของสมาชิกในทีม โดยนางสาวจิรัฐติกาล วิไลรัตน์ หรือ ปอย จะเป็นผู้ที่จะออกแบบระบบอัตโนมัติ (Automation Systems) ที่มีชื่อว่า “อะธีนา (Athena)” ออกแบบให้ทุกคนเห็นภาพตรงกัน  รวมทั้งส่วนของ  Front-End หรือส่วนของการแสดงผลหน้าบ้าน โดยใช้ Programming พัฒนาให้สามารถแสดงผ่านทาง Web Browser จากนั้น นางสาวทัศนีย์วรรณ น้อยตา หรือ มาย ในฐานะ Developer ของทีม จะรับหน้าที่ในพัฒนาระบบด้วย Programming Languages ออกแบบระบบประมวลผล โดยใช้ Service ของ AWS (Amazon Web Services) ในการประมวลผลเพื่อให้ไปตอบโจทย์กับ User Interface (UI) ที่ประมวลผลอยู่ใน Browser

160351313674

ในขณะที่ น.ส.ภัทราภร เพิ่มพูล หรือ ข้าวตู ในฐานะที่มีความรู้ด้าน AWS มากที่สุดของทีม จะนำสิ่งที่เพื่อน ๆ ออกแบบหรือ Source Code ขึ้นไปอยู่บน AWS ให้คนทั่วไปสามารถที่จะเข้าถึงได้ เป็นการทำให้งานที่ Develop ทำงานได้ง่ายขึ้น โดยใช้ระบบอัตโนมัติ สำหรับสร้าง Source Code และทำการนำขึ้นสู่ระบบ Cloud

ส่วน น.ส.กมลวรรณ ครองสกุล หรือ ปลา มีความรู้ด้านData Science ได้รับมอบหมายให้ทำ Data Analytics โดยเมื่อผู้ใช้ส่งสลิปเข้ามาจะได้รับข้อมูล เช่น จำนวนเงิน ชื่อผู้ใช้ หรือคอร์สที่ซื้อ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาวิเคราะห์ในระบบจะทำให้ OpenDurian สามารถรู้ว่า คอร์สไหนที่คนซื้อมาก หรือเทรนด์ต่อไปจะเป็นอะไร เป็นการทำให้บริษัทสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์การวางแผนธุรกิจในอนาคตได้

“สิ่งที่ทำให้ผลงานออกแบบระบบของเราได้รับการคัดเลือก เพราะเขาไม่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานในระบบ ซึ่งวิธีการของเราตอบโจทย์เขามากที่สุด เขาอยากให้นักเรียนส่งสลิปผ่านระบบ ตรวจสอบ ยืนยัน และนักเรียนก็เข้าไปเรียนได้ ไม่อยากให้วิธีการใช้งานเปลี่ยนไป ในขณะที่ทีมอื่นๆ ที่เลือกโจทย์ในหัวข้อเดียวกันนี้ พยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ซึ่งเจ้าของโจทย์รู้สึกว่าเขาไม่ได้อยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมนี้” ปอย กล่าวเสริม

ด้วยการทำงานที่เป็นทีมเวิร์กและออกแบบระบบที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจอย่างแท้จริง ทำให้ทีม “Hello World” สามารถคว้าแชมป์มาครองได้ ถือเป็นทีมแรกจากการแข่งขัน Hackathon BUILD ON, THAILAND 2020 EMBRACING YOUR FUTURE ที่มีการจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้รับรางวัล Viewer Choice Award อีก 1 รางวัล

160351321165

โดยในปี 2019 มีการจัดการแข่งขันขึ้นที่ สิงคโปร์และมาเลเซีย และในปี 2020 ได้มีการขยายการแข่งขันออกไป 5 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย,อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งการแข่งขันHackathon Build On, ASEAN 2020 ซึ่งน้องๆ ทีม Hello World จะเป็นตัวแทน 1 ใน 3 ของประเทศไทยเพื่อเข้าแข่งขันชิงอันดับหนึ่งในระดับอาเซียนร่วมกับทีมผู้ชนะเลิศจาก 4 ประเทศ ราวปลายปี 2563 นี้ อีกด้ว