แบตเตอรีทรานฟอร์มธุรกิจพลังงาน 'บางจาก' เล็งตั้งโรงงานในยุโรป
“บางจาก” เดินหน้าเหมืองลิเทียมในอาร์เจนตินา-สหรัฐ เล็งตั้งโรงงานแบตเตอรีในยุโรป งบลงทุน 200-300 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบันโลกกำลังเปลี่ยนถ่ายจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาดใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยแบตเตอรีจะเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีของแบตเตอรีมีความความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวปาถกฐาในงานสัมมนา “แบตเตอรี่ : ปฏิวัติพลังงานอนาคต Everlasting Battery” จัดโดย บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า จุดมุ่งหมายปลายทางของการพัฒนาพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของโลก คือการใช้พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งต้องพัฒนาเทคโนโลยีกรีนไฮโดรเจนที่ตอบโจทข์ของโลก
ทั้งนี้ ช่วงรอยต่อ 30-40 ปีนี้ เป็นช่วงรอยต่อที่สำคัญที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีแบตเตอรี่จะเข้ามาเชื่อมต่อช่องว่างนี้ เทคโนโลยีเก็บกักไฟฟ้าจะเข้ามาเติมเต็มให้กับโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และพลังงานลมให้มีความเสถียร จ่ายไฟฟ้าได้ทั้งกลางวันกลางคืนอย่างต่อเนื่อง เป็นการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สร้างมลพิษ และแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะแบตเตอรี่ลิเทียงไอออนจะมาตอบโจทย์ได้ในทุกระดับ ตั้งแต่การเก็บไฟฟ้าในมือถือไปจนถึงเก็บไฟฟ้าในโรงไฟฟ้า
“ในจีนแก้ปัญหามลพิษโดยการกำหนดห้ามใช้รถจักรยานยนต์ภายในเมือง ให้ใช้แต่จักรยานยนต์ไฟฟ้า และขยายไปรถยนต์ขนาดใหญ่ ทำให้ลดปัญหามลพิษ และเพิ่มปริมาณการใช้แบตเตอรี่ได้มาก จึงเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่อย่างรวดเร็ว”
ทั้งนี้ บางจากได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้มาก ซึ่งได้ร่วมลงทุนเหมืองแร่ลิเทียมกับต่างชาติในสัดส่วน 18.5% ซึ่งมีเหมืองอยู่ที่อาเจนตินาและรัฐเนวาด้า ประเทศสหรัฐ โดยกำลังก่อสร้างและโรงงานผลิตแร่ริเทียมบริสุทธิ์จะเสร็จปลายปี 2563 ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ บางจาก จะมีสิทธิ์ซื้อแร่ลิเทียมคุณภาพสูงได้ปีละ 6 พันตันในระยะแรก หรือเทียบเท่ากับการผลิตแบตเตอรี่ 3 กิกะวัตต์ชั่วโมง ใช้ในรถยนต์อีวีได้ 1.5 แสนคัน ใช้ในมือถือได้กว่า 200 ล้านเครื่อง
รวมทั้งหลังจากนี้จะลงนามเอ็มโอยูกับผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของยุโรป และร่วมมือกับพาทเนอร์จากจีนพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเทียมตามที่ไทยต้องการ หากผลการเจรจาร่วมลงทุนสำเร็จคาดว่าระยะแรกจะตั้งโรงงานแบตเตอรี่ในยุโรปก่อน คาดว่าใช้เงินลงทุน 200-300 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีความต้องการสูง ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี เสร็จในปี 2567 ซึ่งสอดรับกับเทคโนโลยีแบตเตอรีจะเริ่มนิ่งในปี 2566 -2567
ประกอบปี 2568 ในยุโรปจะผลิตรถยนต์อีวี 3-4 ล้านคัน และของไทย 7.5 แสนคันในปี 2573 และคาดว่าในปี 2567 จะกำหนดมาตรฐานแบตเตอรีรถอีวีทำให้ทุกค่ายรถยนต์ใช้มาตรฐานเดียยวกัน และตลาดแบตเตอรีขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ การที่จะตั้งโรงงานผลิตแบตอตเรี่ลิเทียมไอออนในไทยได้นั้น จะต้องมีความต้องการภายในประเทศสูงกว่านี้ โดยรัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้รถยนต์สาธารณะในไทยหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยเริ่มจากให้วินมอเตอร์ไซด์ใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าก่อน ซึ่งประเทศไทยซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ปีละ 2 ล้านคัน และมีวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างหลายแสนคัน
รวมทั้งหากกลุ่มนี้ใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยเพิ่มความต้องการแบตอตเรี่ได้มาก จากนั้นควรขยายไปกลุ่มรถสองแถว รถเมล์ รถราชการ ซึ่งรถเหล่านี้มีเส้นทางวิ่งที่แน่นอน ทำให้สร้างสถานีชาร์ตได้เหมาะสม หากทำได้ตามนี้ก็จะเพิ่มความต้องการใช้แบตเตอรี่เพียงพอต่อการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่
นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยีแบตเตอรี่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคไฟฟ้าเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นผู้ซื้อไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวมาเป็นทั้งผู้ใช้และขายไฟฟ้า ซึ่งเมื่อรวมกับเทคโนโลยีดิจิทัลจะทำให้เกิดการดีสรัปชั่นในธุรกิจพลังงาน จะทำให้พลังงานสะอาดราคาถูกลง และเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการพลังงานในรูปแบบใหม่
ทั้งนี้ บริษัท ได้หารือกับผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับตัวไปสู่การผลิตไฟฟ้าด้วยตัวเอง การขายไฟฟ้าระหว่างกัน และขายไฟฟ้ากลับเข้าการไฟฟ้า ทำให้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจะตกไปสู่ประชาชนแต่ระบบการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศจะได้รับผลกระทบ ทำให้ธุรกิจผลิตไฟฟ้าอยู่บนทางแยกของระบบผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิมกับระบบผลิตไฟฟ้าแบบใหม่