เช็คราคา 'บ้านพักคนชรา' เปิดวิธีเตรียมเงินสู่บั้นปลายสไตล์ 'เกษียณโสด'

เช็คราคา 'บ้านพักคนชรา' เปิดวิธีเตรียมเงินสู่บั้นปลายสไตล์ 'เกษียณโสด'

เปิดราคาบ้านพักคนชรา พร้อมวิธีการเตรียมตัวของคนที่อยากอยู่ "บ้านพักคนชรา" ในชีวิตบั้นปลาย ควรวางแผนการเงินอย่างไร เพราะใช่ว่าใครๆ จะเดินเข้าไปอยู่ก็ได้

ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่คิดว่าตัวเองจะ "โสด" ไปถึงวัย "เกษียณ" ในใจลึกๆ อาจมีความกังวลเกี่ยวกับคนดูแลในช่วงปั้นปลายชีวิต ซึ่งเป้าหมายที่หลายคนพูดถึงบ่อยๆ หนีไม่พ้น "บ้านพักคนชรา"

ทว่า ความเป็นจริงการเข้าไปอยู่ "บ้านพักคนชรา" หรือ "บ้านพักผู้สูงอายุ" อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากสถานที่ที่ให้บริการสำหรับผู้สูงวัยเหล่านี้ มีปัจจัยหลายๆ ด้านที่จะต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ "ค่าใช้จ่าย" 

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ลองรวบรวมตัวอย่างบ้านพักคนชรา และบ้านพักผู้สูงอายุ ทั้งในเครือของรัฐและเอกชนที่มีชื่อคุ้นหู เพื่อเช็คค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับคนที่อยากอยู่บ้านพักคนชราให้เห็นภาพค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม ทั้งรายเดือน รายปี รวมถึงลองคำนวณดูเล่นๆ ว่า หากอยู่ต่อไปหลังเกษียณอีกสัก 10 ปี จะต้องใช้เงินทั้งหมดเท่าไร ดังตารางต่อไปนี้

1604655950100

หมายเหตุ: ข้อมูลในตารางไม่ใช่การจัดอันดับ

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเกษียณโสด หรือไม่โสด จะอยู่บ้านพักคนชราที่ไหนๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นคำถามที่ควรรีบถามและหาคำตอบให้ตัวเองเสียแต่เนิ่นๆ คือ "เราจะวางแผนรับมือกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร" 

สำหรับแนวทางในการเตรียมตัวไปอยู่บ้านพักคนชรา คือการวางแผนการเงินไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อให้มีเวลาเตรียมเงิน เตรียมใจ ให้พร้อมเมื่อเวลานั้นมาถึงแบบไม่เหนื่อยจนเกินไป

4 เรื่องที่ต้องเริ่มทำเพื่อเตรียมเงินไปอยู่บ้านพักคนชราตามเป้าหมาย มีดังนี้

1. กําหนดอายุที่ต้องการจะเกษียณ เช่น 60 ปี 55 ปี หรือจะ early retire ที่อายุ 45 ปี เพื่อจะได้รู้ว่าเรามี เวลาเตรียมตัว เตรียมการ เตรียมเงิน อีกนานเท่าไร

2. ประมาณช่วงระยะเวลาที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณ เช่น 20 ปี 25 ปี หรือ 30 ปี เพื่อให้รู้ว่าเราจะต้องใช้เงินหลังเกษียณไปอีกกี่ปี เช่น จะเกษียณ 60 ปี คาดว่าจะมีอายุถึง 80 ปี ซึ่งเท่ากับว่าต้องใช้เงินไปอีก 20 ปี โดยประเมินอายุขัยจากคนในครอบครัวว่าส่วนใหญ่มีชีวิตถึงอายุประมาณเท่าไหร่ ประกอบกับความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราว่าเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยแค่ไหน 

3. ประมาณการรายได้จากแหล่งเงินได้หลังเกษียณ เช่น เงินบําเหน็จบํานาญ เงินรับจากกองทุนประกันสังคม กองทุน สํารองเลี้ยงชีพ รายได้จากการลงทุน การประกันชีวิต ฯลฯ ซึ่งการลองคำนวณเงินที่จะได้หลังเกษียณจะทำให้เห็นภาพว่าเรามีเงินสำรองที่จะได้รับในอนาคตเท่าไร และต้องเก็บเพิ่มอีกเท่าไรจึงจะไปถึงตัวเลขค่าใช้จ่ายสำหรับบริการบ้านพักคนชราที่เราตั้งเป้าหมาย

4. วางแผนการออมในปัจจุบัน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้ ไม่ว่าจะไปอยู่บ้านพักคนชราหรืออยากมีชีวิตในแบบของตัวเอง ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น จุดเริ่มต้นของการวางแผนคือเริ่มต้นจาก 1-3 ข้อแรกก่อน เมื่อเรารู้ว่าต้องเก็บเงิน เพิ่มอีกเท่าไร มีระยะเวลาเก็บกี่ปี จะสามารถวางแผนการออม การลงทุนอย่างเหมาะสม ตามความเสี่ยงของตัวเองได้ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้แสดงตัวอย่างพอร์ตการวางแผนลงทุนสำหรับช่วงวัยต่างๆ ได้ ดังนี้

160507858131

160507857937

160507858037

160507858012

อย่างไรก็ตาม แนวทางการออมและการลงทุนเหล่านี้จะไปถึงฝั่งฝันได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผนของแต่ละคน และแน่นอนว่าย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามจริตการลงทุน วินัย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนด้วย

ที่มา: ฟซบุ๊ค SET ตลาดหลักทรัพย์