ภารกิจหนักกดดัน “ไทยคม “  ธุรกิจดาวเทียมยังไร้ทางออก

 ภารกิจหนักกดดัน “ไทยคม “   ธุรกิจดาวเทียมยังไร้ทางออก

จากธุรกิจดาวเทียมที่สร้างสตรอรี่การเติบโตที่ผ่านมาให้กลับ บริษัท  ไทยคม  จำกัด (มหาขน) หรือ THCOM  กลับกลายเป็นธุรกิจค้างอวกาศ กดดันราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่องตามผลประกอบการที่ชะลอตัวลงเช่นกัน

 

            ที่ผ่านมาธุรกิจดาวเทียมเจอความไม่แน่นอนในการเดินหน้าเพิ่มดาวเทียมดวงใหม่  เนื่องจากมีปัญหาสัญญาเดิมที่ได้ทำกับภาครัฐ   จนการให้บริการเกิดความไม่แน่นอนและส่งผลทำให้อัตราการใช้บริการของลูกค้าทยอยลดลงเช่นกัน  จากสิ้นปี 2562 มีอัตราลูกค้าใช้บริการอยู่ที่  55 %  ลดลงจากปี 2561 มีอัตราใช้บริการ 59 %

            ธุรกิจดังกล่าว ‘ไทยคม มีดาวเทียมที่ให้บริการทั้ง 8 ดวง   ซึ่งไทยคม 1 –ไทยคม 3  ได้ปลดระวางไปแล้ว  ส่วนที่เหลืออยู่ประกอบไปด้วยดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เน้นรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตและบรอดแบนด์  ซึ่งอายุสัญญาจะหมดลงเดือนก.ย. 2564   โดยสิ้นปี 2562 มีรายได้อยู่ที่ 2,058 ล้านบาท  ลดลงจากปี 2561 มีรายได้ส่วนนี้ 2,284 ล้านบาท

            ถัดมาดาวเทียมไทยคม 5 ที่มีสัญญาหมดอายุปี 2564  แต่อายุการใช้งานหมดลงในกลางปี 2563 ที่ผ่านมา  ซึ่งภาครัฐไม่ต่ออายุสัญญาให้จึงทำให้ดาวเทียมดวงนี้มีปัญหาหลังมีมติครม. (29 ม.ค. 2562) เห็นชอบเห็นหลักการให้ ไทยคมดําเนินการเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนพลังงาน หรือ พาวเวอร์ แบงค์ เพื่อต่ออายุใช้งานดาวเทียมไทยคม 5  ไปจนกว่าจะหมดสัญญาใช้งาน  เนื่องจากดาวเทียมไทยคม 5 จะหมดอายุการใช้งานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 แต่สัญญาดําเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจะสิ้นสุดในปี 2564

            ส่วนทางกับในมุมของไทยคมต่อมติดังกล่าวเพราะการติดตั้งพาวเวอร์ แบงค์ ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่า 400 ล้านบาท  อาจจะมองได้ว่าไม่คุ้มค่าเพราะเหลือเวลาสัญญาแค่ 1ปี  ต้องมอบทรัพย์สินให้กับกระทรวงดีอีเอส จนกลายเป็นประเด็นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในท้ายที่สุด

            โดยมีการฟ้องร้อง THCOM และ และบริษัท อินทัช โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH   กรณีหากไม่ส่งมอบดาวเทียมทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 เป็นเงิน 7,790 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้้ย 7.5 %  ตั้งแต่ 30 ต.ค.2563เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

            รวมทั้งชำระค่าปรับเป็นเงิน 4.9 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย7.5 %  ต่อปี  ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะส่งมอบดาวเทียมทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 หรือชำระเงินค่าเสียหายครบถ้วน           

             บริษัทยืนยันว่าที่ผ่านมาได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทานอย่างถูกต้องและครบถ้วน อีกทั้งปัจจุบันก็ยังไม่มีแผนจะต้องตั้งสำรองในงบการเงิน  คาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลา 2 ปีขึ้นไป

             ถัดมาดาวเทียมไทยคม 6 แม้ไม่มีประเด็นดังกล่าวแต่ใกล้หมดอายุปี 2564 เช่นกัน  ส่วนไทยคม7-8เป็นดาวเทียมที่มีอายุสัญญค่อนข้างนาน แต่มีข้อพิพาษฟ้องร้องในชั้นอนุญาโตตุลาการว่าสัญญาดังกล่าวกระทรวงดีอีเอสระบุเป็นเงื่อนไขภายใต้สัปทาน สวนทางกับบริษัทมองว่าเป็นการทำสัญญาระหว่างบริษัทกับ กสทช.

             ประเด็นคดีความดังกล่าวทำให้ธุรกิจดาวเทียมสะดุดครั้งใหญ่ด้วยอายุสัญญาที่กำลังทยอยหมดลงไปต่อเนื่องแต่ยังไม่สามารถเพิ่มดาวเทียมดวงใหม่มาทดแทนได้  จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้ลูกค้าในมือของไทยคมที่ต้องให้บริการดาวเทียมเกิดความไม่แน่ใจและสุดท้ายเปลี่ยนไปใช้บริการของรายใหม่แทน

             บวกกับการเติบโตของธุรกิจดาวเทียมที่ใช้สนับสนุน ทีวีดาวเทียม หรือ ธุรกิจอินเตอร์เน็ต ได้ลดลงจากการเข้ามาของธุรกิจไฟเบอร์ตามบ้านที่แข่งขันกันหนัก  การเสพคอนเทนต์ผ่านระบบสตรีมมิ่งทางอินเตอร์ จึงบีบให้ไทยคมต้องปรับรูปแบบธุรกิจตามไปด้วย

           ด้วยการเข้าสู่ธุรกิจดาวเทียมวงโครจต่ำ ((Low Earth Orbit หรือ LEO) และโดรน เพื่อให้บริการในประเทศไทย ทั้งนี้โครงการให้บริการแก่ดาวเทียม LEO ลงทุนร่วมกับ กสท. โทรคมนาคม (CAT) กำลังอยู่ระหว่างการเจรจา กับพันธมิตร ประกอบด้วยStarlink Constellation, OneWeb และ Telesat   และการใช้บริการสื่อสารในทะเล บริการโดรน   บริการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการทำเกษตรแบบสมาร์ท ฟาร์มิ่ง   เหล่านี้ยังถือว่าเป็นสัดส่วนรายได้ที่น้อยเมื่อเทียบกับดาวเทียม

           โดยไตรมาส3  ปี 2563 ไทยคม มีรายได้  918 ล้านบาทลดลง  22.7 %  มีกำไร 77 ล้านบาท โดยหากไม่รวมรายการพิเศษพบว่ามีผลขาดทุนหลัก 21 ล้านบาท   และรอบ 9 เดือนมีรายได้  3672 ล้านบาท กำไร 772 ล้านบาท  ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากต้นทุนลดลงโดยเฉพาะการตัดรายการขาดทุนสินทรัพย์ด้อยค่าลดลงไป

          ส่วนนี้เป็นรายได้จากดาวเทียม 915 ล้านบาท  และมีอัตราการใช้บริการของลูกค้าจากไอพีสตาร์ 19 %   ส่วนดาวเทียมไทยคม 6-7 มีอัตราการใช้บริการอยู่ที่ 65 %