“บิ๊กตู่” นอนใจไม่ได้ “คดีพักบ้านหลวง” ยังไม่จบ
คดีบ้านพักของ 'พล.อ.ประยุทธ์' แม้จะจบลงด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ดูเหมือนว่าในทางการเมืองแล้วฝ่ายค้านยังไม่ยอมจบง่ายๆ เพราะใช้กลไกของสภาเดินหน้าตรวจสอบแบบถอนรากถอนโคนต่อเนื่อง
วันที่ 9 ธันวาคม ถือเป็นวันต่อต้านการคอร์รัปชั่น สากล แม้ปี2563 “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” จะไม่ไปเปิดงานอย่างที่เคย เพราะสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระบาด แต่ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) การันตีว่า งานปราบทุจริตที่ผ่านมา มีผลงานดีขึ้นต่อเนื่อง เพราะดัชนีการร้องเรียนกล่าวหาประเด็นทุจริต ลดลงถึง 16เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2562
โดยปี 2562 มีเรื่องเข้าสู่ระบบ 10,382 เรื่อง คิดเป็นความเสียหายทางงบประมาณ ถึง 2.3 แสนล้านบาท เรื่องที่ถูกร้องมากสุดคือ ทุจริตด้านจัดซื้อจัดจ้าง รองลงมา การปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ขณะที่ปี 2563 มีเรื่องร้อง ทั้งสิ้น 8,691 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 9หมื่นล้านบาท ขณะที่ปี 2564 มียอดสรุป 2 เดือน คือพฤศจิกายน-ธันวาคม พบเรื่องที่อยู่ระหว่างตรวจสอบ 9,416 เรื่อง และรับไต่สวน จำนวน 3,320 เรื่อง
อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า ผลงานที่สังคมจับจ้อง และคิดว่าจะเป็นผลงานชิ้นโบว์ใหญ่ คือ งานสอบสวน-ชี้มูล “นักการเมือง” ที่มีเรื่องร้องเรียน-กล่าวหา โดยเฉพาะ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ต้องทำอย่างตรงไปตรงมา รวดเร็ว และ ไม่ใช่ทำเพื่อปกป้องใคร
คดีพักบ้านหลวง “ในค่ายทหารกรมทหารราบที่ 1 กองทัพบก" ของ “พล.อ.ประยุทธ์” แม้ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยเสียงเอกฉันท์ 9:0 ว่าไม่ผิดตามข้อกล่าวหาของฝ่ายค้าน โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 184 (3) ที่ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับประโยชน์อื่นใดจากหน่วยราชการที่นอกเหนือจากธุรการงานปกติ
ทว่า ฝ่ายค้าน ยังนำไปขยายผลต่อ โดย “เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย”ยื่นเรื่องให้ กรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย เป็นประธานกมธ. ตรวจสอบในแง่ของ "คดีอาญา” ตามกฎหมายของป.ป.ช. และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีข้อห้ามรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ไม่เกิน 3,000 บาท
โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากคดีพักบ้านหลวง ที่มีรายละเอียดว่า “กองทัพบก” เป็นผู้ชำระค่าน้ำค่าไฟตลอดการพักอาศัยของ “บิ๊กตู่”ตั้งแต่เกษียณ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าแล้ว เกิน 3,000 บาทแน่นอน ซึ่งความผิดที่ “ฝ่ายค้าน” ตั้งธงไว้ ผลที่เกิดขึ้นคือ โทษสูงสุดคือจำคุก 3 ปี
ต่อเรื่องนี้ “เรืองไกร” ฐานะผู้ร้องและที่ปรึกษากมธ.ปราบโกงฯ สภาฯ ชี้แจงว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีผลผูกผันที่จะยับยั้งการตรวจสอบของ กมธ.ฯ เพราะเป็นคนละกรณี คนละกฎหมาย ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้บอกว่า การรับประโยชน์จากกองทัพบก ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่ใช่ต้นสังกัดของ “นายกฯ” นั้นไม่เข้าข่าย หรือมีความผิด หรือไม่มีความผิด ตามพ.ร.ป.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพราะศาลรัฐธรรมนูญเอง ไม่อาจก้าวล่วงอำนาจตรวจสอบตามกฎหมายของหน่วยงานป.ป.ช.
อย่างไรก็ดี ในกรณีนี้สามารถยื่นให้ “ป.ป.ช.”ตรวจสอบได้ ตามอำนาจตรง แต่ “เรืองไกร”บอกว่า หากยื่นไป “ป.ป.ช.”ชุดปัจจุบันอาจเตะถ่วง จึงยื่นผ่าน กมธ.ปราบโกง ของสภาฯ ให้ตรวจสอบ แม้ปลายทางจะไปสิ้นสุดที่ส่งเรื่อง ให้ “ป.ป.ช.”ก็ตาม
ดังนั้นเรื่องนี้ เชื่อแน่ ฝ่ายค้านจะไม่ปล่อยไว้ เพราะในแง่มุมทางการเมือง ที่สร้างประเด็น และใช้เป็นเป็นเกม ต่อกร กับ “รัฐบาล” ได้ แม้ไม่หวังผลที่จะเอาผิด แต่ก็สร้างราคาให้ “ฝ่ายค้าน” ได้ดีพอสมคว