'พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์' ตามความตกลง RCEP

'พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์' ตามความตกลง RCEP

เจาะลึก "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" หนึ่งข้อตกข้อลงจาก 20 ข้อตกลงใน "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค" (RCEP) มีสาระสำคัญอย่างไรบ้าง? อำนวยความสะดวกทางการค้าอย่างไรบ้าง?

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) (Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement : RCEP) มีสมาชิกเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจากับอาเซียนอีก 5 ประเทศ คือออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ รวมภาคีสมาชิก 15 ประเทศ จุดมุ่งหมายเพื่อเปิดเสรีทางการค้า บริการ การลงทุนในภูมิภาค

ความตกลง RCEP แยกข้อตกลงเรื่องต่างฯ ไว้รวม 20 บท เช่น การค้าสินค้า กฎถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากรฯ การค้าบริการ การลงทุน สำหรับข้อตกลงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในบทที่ 12

บทที่ 12 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Commerce ) สาระสำคัญคือ

  • วัตถุประสงค์

- เพื่อส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสมาชิก RCEP และการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดนให้มากขึ้น

- สนับสนุนให้เกิดความเชื่อมั่นและความมั่นใจในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

- ร่วมมือกันระหว่าประเทศสมาชิกในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  • ความร่วมมือ                 

- สมาชิกจะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมในการขจัดอุปสรรคปัญหาการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

- ส่งเสริมพัฒนาสร้างความน่าเชื่อถือความมั่นใจของผู้บริโภคเพื่อพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

- เข้าร่วมในเวทีภูมิภาคและพหุภาคี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  • การอำนวยความสะดวกทางการค้า

การค้าไร้กระดาษ

1.ประเทศสมาชิกจะ

(1) ทำงานไปสู่การใช้ข้อริเริ่ม ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการใช้การค้าไร้กระดาษ โดยคำนึงกระบวนการที่ได้รับความเห็นชอบภายใต้องค์การระหว่างประเทศและองค์การศุลกากรโลก

(2) ประเทศเทศสมาชิกแต่ละประเทศต้องพยายามที่จะยอมรับเอกสารด้านบริหารงานด้านการค้าที่ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีสถานะทางกฎหมายเช่นเอกสารที่อยู่ในรูปกระดาษ

(3) พยายามให้มีการส่งเสริมให้การใช้เอกสารการบริหารงานด้านการค้าในรูปอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่แพร่หลายต่อสาธารณชน

2.ประเทศสมาชิกจะร่วมมือกันในเวทีระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการยอมรับเอกสารการบริหารงานด้านการค้าในรูปแบอิเล็กทรอนิกส์

หมายเหตุของผู้เขียน  เอกสารที่เรียกว่าเอกสารการบริหารงานด้านการค้า ตัวอย่างเช่นใบอนุญาตให้ส่งออกหรือนำเข้าสินค้า หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หนังสือรับรองสุขอานามัย หรือเอกสารสำคัญทางการค้าอื่นฯที่ต้องใช้ประกอบการทำพิธีการนำเข้าส่งออก หรือที่ต้องใช้ประกอบการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันทางการเงินในการส่งออกนำเข้า

3.การยืนยันตัวบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

- ประเทศสมาชิกจะยอมรับความถูกต้องทางกฎหมายของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronics signature)

- การยืนยันตัวบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ จะเปิดช่องให้ผู้มีส่วนร่วมในธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดเทคโนโลยีและรูปแบบการบังคับใช้การยืนยันตัวบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของตน ไม่มีข้อจำกัดต้องใช้แบบใด

- ยอมรับให้ผู้มีส่วนร่วมในธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีโอกาสพิสูจน์ว่าธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของตนสอดคล้องกับกฎหมายหรือระเบียบของประเทศสมาชิกในการยืนยันตัวบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์

4.การคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์

- ให้มีมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคที่โปร่งใสมีประสิทธิภาพสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และมาตรการอื่นที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค

- ประเทศสมาชิกจะให้มีกฎหมายและกฎระเบียบ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคที่ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อการดำเนินการที่ฉ้อฉลและทำให้เข้าใจผิดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

- ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญต่อการร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการคุ้มครองผู้บริโภคจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค

- จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภค ให้แก่ผู้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ช่องทางการเยียวยาความเสียหาย  ข้อควรรู้ที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย

5.การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออนไลน์       

- ประเทศสมาชิกให้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

- พัฒนากรอบกฎหมายคุ้มตรองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ

- เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล  ช่องทางการเยียวยา และข้อปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจควรรู้เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง     

6.ข้อความอิเล็กทรอนิกส์เชิงพาณิชย์ที่ไม่พึงประสงค์  ตามความหมายที่กำหนดไว้ในข้อตกลงนี้คือ ข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกส่งเพื่อวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์และการตลาดไปยังที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้รับหรือทั้งที่ได้รับการปฏิเสธโดยตรงจากผู้รับ โดยกำหนดให้มีมาตรการ

- ให้ผู้รับหยุดรับข้อความดังกล่าวได้อย่างสะดวก หรือ

- การกำหนดให้ผู้ส่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับ หรือ

- กำหนดให้มีข้อความอีเล็กทรอนิกส์เชิงพาณิชย์ที่จะส่งได้ให้น้อยที่สุด

7.มีกรอบกฎหมายที่กำกับดูแลธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมายดังกล่าวต้องสอดคล้องกับกฎหมายแม่บทของคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า Uncitral

8.อากรศุลกากร

ประเด็นที่น่าสนใจ ของข้อตกลงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามความตกลงRCEP คือ

ข้อ 12.11 อากรศุลกากร ประเทศสมาชิกจะไม่มีการจัดเก็บอากรศุลกากรสำหรับการๆส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้ามแดนระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งสอดคล้องกับแผนการทำงานเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขององค์การการค้าโลก(WT/MIN (17)/65) คือแนวปฏิบัติที่ยังจะไม่มีการให้เรียกเก็บอากรศุลกากร สำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นตามที่จะมีการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงประการใด ประเทศสมาชิกจะปฏิบัติตามนั้น

หมายเหตุของผู้เขียน 1.ความหมายในข้อนี้คือจะไม่มีการเรียกเก็บอากรศุลกากรสำหรับการส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างประเทศสมาชิก สำหรับสินค้าที่ส่งมอบกันทางออนไลน์หรือทางอินเตอร์เน็ท ที่เรียกกันว่า Digital products หรือ Digital goods เช่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพ ภาพยนตร์ เพลง  ข้อเขียนหรือหนังสือที่เรียกว่า ebooks

2.ในความเป็นจริงในทางปฏิบัติก็เป็นไปไม่ได้ ที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะตรวจสอบ หรือตรวจพบสินค้าที่ส่งผ่านแดน เพราะขณะส่งมอบ ไม่มีตัวตนทางกายภาพ แต่อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ ไม่สามารถจับต้องได้

3.การไม่เรียกเก็บอากรศุลกากรในกรณีนี้ไม่รวมถึงการสั่งซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือทางออนไลน์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีตัวตนทางกายภาพจับต้องได้ ที่ขนส่งตามระบบโลจิสติกส์ตามปกติ