เยียวยาเกษตรกร อัพเดทข้อมูล ต้องรู้และเตรียมพร้อมอะไรบ้าง

เยียวยาเกษตรกร อัพเดทข้อมูล ต้องรู้และเตรียมพร้อมอะไรบ้าง

ตรวจสอบ เยียวยาเกษตรกร อัพเดทข้อมูลกรณีเยียวยาโควิด ต้องรู้และเตรียมพร้อมอะไรบ้าง

การแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้าย โควิด 19 ระลอกใหม่ ซึ่งรัฐบาลออกมายืนยันแล้ว "รัฐบาลไม่ถังแตก" เพราะมีงบประมาณหลายแสนล้านบาท รองรับในการช่วยเหลือประชาชนในการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อน โดยเฉพาะ "เกษตรกร" ทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบ

จากการเปิดเผยของ อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ว่า หลังจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา เรื่องการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 โดยมอบหมายให้ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นในสองเดือนนี้นั้น

ความต่อเนื่องดังกล่าว เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เตรียมความพร้อมในการเยียวยาเกษตรกรเพื่อความรวดเร็วทันทีที่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเยียวยาอย่างไร

มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะนายทะเบียนตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนในโครงการเยียวยาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเกษตรกรประมาณ 8 ล้านราย ได้รับเงินเยียวยารายละ 15,000 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือน มิ.ย - ส.ค. โดยรัฐมนตรีเกษตรฯ ยังมอบนโยบายให้เกษตรกรรายใหม่และที่ตกหล่นสามารถลงทะเบียนได้ครบถ้วนโดยต้องครอบคลุมไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและทุกขั้นตอนต้องตรวจสอบความถูกต้อง

สำหรับโครงการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ในปี 2563 สศก. ในฐานะนายทะเบียนจัดส่งรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและได้ตรวจสอบแล้ว ให้ ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วย เกษตรกรกลุ่มพืช กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มประมง กลุ่มหม่อนไหม กลุ่มชาวไร่อ้อย และกลุ่มชาวไร่ยาสูบ โดย 2 กลุ่มหลังขึ้นทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังตามลำดับโดยส่งทะเบียนเกษตรกรผ่าน สศก. ก่อนส่งให้ ธกส. โอนตรงให้เกษตรกร

ทั้งนี้ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ มีบิ๊กดาต้าทำให้มีฐานข้อมูลเกษตรกร พร้อมดำเนินการในทุกภารกิจโดยเฉพาะการเยียวยาเกษตรกรกลางปีที่แล้วสามารถส่งฐานข้อมูลเกษตรกรให้ ธ.ก.ส. ภายใน 5 วันทำการ หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเยียวยาเกษตรกร

การตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน

เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรเท่านั้น ซึ่งการขึ้นทะเบียนเกษตรกรมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ ขึ้นอยู่กับบทบาทและภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ได้ที่ http://farmer.doae.go.th/ 

161001328097

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
สำหรับเกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม รวมถึงเกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่ เพื่อให้สามารถ "ขึ้นทะเบียนเกษตรกร" ได้อย่างถูกต้อง ดังนี้

1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
1.1 ครัวเรือนเกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตร เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพรองก็ได้

1.2 ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คน ในการพิจารณาว่าครัวเรือนใดขอขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนหรือไม่ เจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงรายละเอียดให้เกษตรกร ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับทราบ ตามนิยามที่กําหนด

1.3 เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย กรณีที่เป็นนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียน

2. สถานที่ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
2.1 เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม สามารถแจ้งปรับปรุงได้ที่สํานักงานเกษตรอําเภอทุกแห่ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและร่วมเป็นหน่วยสนับสนุนที่เกษตรกรมีพื้นที่การเกษตรอยู่, อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หรือสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่าน DOAE Farmbook Application ด้วยโทรศัพท์มือถือ (Smartphone) ได้ด้วยตนเอง

2.2 เกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่

สำหรับเกษตรกรรายใหม่ รวมไปถึงเกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ ให้ยื่นเอกสารที่สํานักงานเกษตรอําเภอที่ตั้งแปลงที่ทํากิจกรรมการเกษตรอยู่ หากมี แปลงที่ทํากิจกรรมการเกษตรหลายพื้นที่ หลายอําเภอ ให้ยื่นที่สํานักงานเกษตรอําเภอที่ตั้งแปลงหลัก (อําเภอที่มีจํานวนแปลงมากที่สุด) กรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet) ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เจ้าหน้าที่สามารถรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรราย ใหม่ในพื้นที่ พร้อมวาดผังแปลงไปพร้อมๆ กันในคราวเดียวได้ (เฉพาะพื้นที่ที่มี Internet)

3. เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
3.1 เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง

3.2 เกษตรกรรายใหม่ หรือ รายเดิม เพิ่มแปลงใหม่ ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง พร้อมหลักฐานแสดงสิทธิการถือครองที่ดินตัวจริง หรือสําเนาที่มีการรับรองสําเนาจากผู้ครอบครอง ทั้งนี้ สามารถเรียกหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม

4. การขึ้นทะเบียนปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถดําเนินการได้ทั้งในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์

5. การขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถดําเนินการได้ทุกลักษณะการถือครองที่ดิน ได้แก่ ของครัวเรือน เช่า อื่นๆ (ทําฟรี/ที่สาธารณประโยชน์)

6. การมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมาดําเนินการแทน

6.1 ครัวเรือนเกษตรกรสามารถมอบอํานาจให้สมาชิกในครัวเรือนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเกษตรกร เดียวกัน เป็นผู้ขอปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรแทนได้ แต่หากเป็นเกษตรกรที่ต้องการขอขึ้นทะเบียนใหม่ต้องแจ้ง ขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้วยตนเอง

6.2 นิติบุคคล สามารถมอบอํานาจให้ผู้แทนขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ 7. เจ้าหน้าที่ผู้รับขึ้นทะเบียนจะต้องย้ําให้เกษตรกรทราบว่าต้องแจ้งข้อมูลและกรอกข้อมูลในแบบคําร้องให้สมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วนตามความเป็นจริง พร้อมลงลายมือชื่อรับรองข้อมูล ในแบบคําร้องด้วย สําหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนใหม่ ต้องมีผู้นําชุมชน (รายละเอียดตามคํานิยาม) ลงลายมือชื่อพร้อมระบุตําแหน่ง เป็นพยานการให้ข้อมูล

...

กรณี เยียวยาเกษตรกร ของ ธ.ก.ส.

https://agri.baac.or.th/ 

161002458766

กรณี กระทรวงเกษตรฯ ตรวจสอบสิทธิเยียวยาเกษตรกร

161002484448