พาณิชย์เดินหน้าปกป้องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนแพลตฟอร์มออนไลน์

พาณิชย์เดินหน้าปกป้องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนแพลตฟอร์มออนไลน์

พาณิชย์จับมือรัฐ เอกชน แพลตฟอร์มชื่อดังทั้งลาซาด้า ช้อปปิ้ง เจดี เซ็นทรัล  ลงนาม MOU ป้องกันสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เผยปี 63 จับกุมผู้ค้าละเมิด 231 คดี ยึดของกลางได้กว่า 4.5 หมื่นชิ้น ขณะที่ปิดกั้นเว็บละเมิด 1.5 พันยูอาร์แอลตั

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ(MOU)ในการคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และผู้ประกอบการด้านอินเตอร์เน็ต  ได้แก่ ลาซาด้า ช้อปปี้ และเจดี เซ็นทรัล โดยมีเป้าหมายคือการระงับการจำหน่ายสินค้าละเมิดบนเพลตฟอร์มออนไลน์ และและการเสริมสร้างองค์ความรู้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ค้าออนไลน์

ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าและบริการบนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2562 มีมูลค่าสูงถึง 4.02 ล้านล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 7% ส่งผลให้การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเปลี่ยนรูปแบบจากการละเมิดในรูปแบบเดิมเป็นการละเมิดบนแพลตฟอร์มและอินเทอร์เน็ตมากขึ้นตามไปด้วย  อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ตได้ทั้งหมด กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงได้หารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ต รวมถึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และท้ายที่สุดนำมาสู่การแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันเพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ตให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม

  161035172329             

“เชื่อมั่นว่าการลงนามในวันนี้จะมีส่วนสำคัญในการช่วยประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้รวมไปถึงการบูรณาการร่วมกันอย่างใกล้ชิดทั้งในส่วนของภาครัฐภาคเอกชนในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังของประเทศไทยซึ่งจะส่งผลให้เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้นรวมทั้งช่วยพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้มีความเข้มแข็งส่งผลเชิงบวกในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไปด้วยในเวทีสากล"  นายจุรินทร์ กล่าว

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า  เมื่อวันที่14 ธ.ค. 2563 คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้เผยแพร่รายงานการเฝ้าระวังการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยระบุรายชื่อตลาดและเว็บไซต์ที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศ ในรายงานดังกล่าวEC ได้ชื่นชมไทยที่มุ่งมั่นมั่นแก้ปัญหาการละเมิดบนอินเทอร์เน็ตร่วมกันด้วย  โดยในปี 2563 มีการจับกุมผู้กระทำความผิดแล้ว 231 ยึดของกลาง 44,953 ชิ้น  และการระงับหรือปิดกั้นเว็บไซต์ละเมิด ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งศาลได้มีคาสั่งแล้วกว่า 1,500 URLs ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา การจัดทา MOU ในวันนี้ จะเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพ ในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้เข้มแข็ง อันจะมีส่วนผลักดันการค้าออนไลน์ ให้เติบโตยิ่งขึ้นต่อไป” นายวุฒิไกร

           

สำหรับสถิติการนการป้องปรามการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต โดยการจับกุมในปี 2562มีการจับกุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ตจำนวน 114 คดี ยึดของกลางทั้งหมด 11,396 ชิ้น มูลค่าความเสียหายรวม 11,435,700 บาท ปี 2563มีการจับกุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต จำนวน 231 คดี ยึดของกลางทั้งหมด 44,953 ชิ้น มูลค่าความเสียหายรวม 70,258,200 บาท

ในส่วนของการระงับและปิดกั้นเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญารับคำขอจากเจ้าของสิทธิขอให้ระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาออกจากระบบคอมพิวเตอร์ และส่งเรื่องให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับฯ ตามมาตรา 20 (3) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯโดยผลดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ศาลได้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายฯ จำนวน 36 คำสั่ง 1,501 URLs