สิ้นเดือนนี้จบ? ค้นหาเชิงรุกแรงงานในจ.สมุทรสาคร

สิ้นเดือนนี้จบ? ค้นหาเชิงรุกแรงงานในจ.สมุทรสาคร

เปิดแผนค้นหาเชิงรุกลงพื้นที่สมุทรสาคร ตั้งเป้าตรวจ 50 คนใน 600 โรงงานต่อวัน คาดค้นหา12,000 กว่าโรงงาน แล้วเสร็จสิ้นเดือนนี้ ขณะที่ภาคใต้น่าเป็นห่วง เหตุติดชายแดนมาเลเซีย ย้ำประชาชนทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ภูมิคุ้มกันคือวัคซีนที่ดีที่สุด

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)  กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มการติดเชื้อใน.สมุทรสาคร เป็นไปในทิศทางทรงตัว เพราะถ้ามีการค้นหาเยอะก็จะพบผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้ทีมสอบสวนโรคที่มาจากทุกจังหวัด เขต 1-12 มาช่วยเขตราชการที่ 5 เพื่อค้นหาเชิงรุกในชุมชนขณะที่การเดินมาในโรงพยาบาล มีทั้งหมด18 ราย แบ่งเป็นผู้หญิง 12 ราย ผู้ชาย 6 ราย และเป็นสัญชาติไทย 4 และแรงงานต่างด้าว 14 ราย ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน ส่วนระบบการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 125 รายนั้น แบ่งเป็นสมุทรสาคร 120 ราย กรุงเทพมหานคร 4 ราย และนนทบุรี 1 ราย ตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเน้นย้ำให้แก่ประชาชนทุกคนได้รับทราบ และดูแลปฎิบัติตนเอง

ทั้งนี้ เมื่อจัดแบ่งตามแผนที่ประเทศไทย พบว่า ไม่มีผู้ป่วยโควิด -19 จำนวน 16  จังหวัด มีผู้ติดเชื้อสะสม 1-10 รายมีจำนวน 39 จังหวัด มีผู้ติดเชื้อ สะสม 11-50 ราย มีจำนวน 12 จังหวัด และมีผู้ติดเชื้อที่มีมากกว่า 50 ราย มีจำนวน 10 จังหวัด โดยในส่วนของจังหวัดมีการรักษาตัวมากกว่า 100 ราย มีมากกว่า 4 จังหวัด ส่วนใหญ่กระจุกตัวในภาคกลางและภาคตะวันออก

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่าสำหรับแผนของกระทรวงสาธารณสุขในการมอบหมายให้ทีมสอบสวนโรค เข้าไปตรวจ 50 คน ต่อโรงงานในพื้นที่จ.สมุทรสาครนั้น ได้มีการกำหนดว่าในแต่ละวันจะต้องตรวจคัดกรอง 600 โรงงาน ซึ่งโรงงานที่อยู่ในจ.สมุทรสคร มี10,000 กว่าโรงงาน ตอนนี้เร่งเข้าไปตรวจ ถ้าเป็นการติดเชื้อ เสมุทรสาครน่าจะมีความเป็นห่วง เพราะการเข้าไปตรวจยาก เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง อาทิ จำนวนทีมของสธ.เข้าไปในแต่ละวัน ซึ่งตอนนี้มีทีมสอบสวนโรคทั้ง 12 เขตกำลังดำเนินการ  นอกจากนั้นยังเจอปัญหาความร่วมมือจากโรงงาน ที่มีอยู่ประมาณ12,000แห่ง ที่ต้องให้ความร่วมมือในการเข้าตรวจ และคาดว่าจะทำให้เสร็ตสิ้นสุดเดือนนี้

"อยากให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยกัน เพราะตอนนี้ภาครัฐมีความเข้มแข็งกระทรวงแรงงาน ให้ความร่วมมือเต็มที่  แจ้งกับนายจ้าง สถานประกอบการให้สามารถทำงานร่วมกับสธ.ให้ได้  โดยอยากขอให้ไม่ระแวดระวังและอย่าระแวงภาครัฐ  รวมถึงอยากให้ภาคประชาชน และคนงาน ต้องร่วมมือกัน ทำให้ได้ 50 คนใน600 โรงงานต่อวัน ภายในสิ้นเดือนนี้ถ้าลุยกันเต็มที่ เพื่อค้นหาคนที่มีความเสี่ยงออกจากโรงงาน การจัดการกับโรคได้เร็วมากขึ้น"นพ.ทวีศิลป์กล่าว

นอกจากนั้น ส่วนกรุงเทพฯยังน่าเป็นห่วง เพราะต่อให้กราฟออกมาทรงๆ ลด แต่หากมีการค้นหาก็สามารถพบเจอได้ และส่วนใหญ่จะเจอในสถานบริการ ผับ บาร์ ถ้าฝั่งของกทม.รับผลกระทบมาจากฝั่งจ.ปริมณฑล ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาควบคู่กัน ส่วนพื้นที่ภาคใต้ ตอนล่าง มีภาพการติดเชื้อไปถึงพัทลุง และตรัง มีการหารือร่วมกันสิ่งที่กังวลใจเนื่องจากมีการติดเชื้อในประเทศมาเลเซีย 3,000-4,000 คน การดูแลขอบชายแดนต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นต้องขอแรงกายแรงใจ ภาครัฐ เอกชน ประชาชน ช่วยดูแลพื้นที่ให้ดี ใครไม่คุ้นหน้าคุ้นตาในพื้นที่ต้องช่วยกันดูแล และขอความร่วมมือในการตรวจโรคด้วย

โฆษกศบค. กล่าวอีกว่าสำหรับเรื่องการติดตั้งของไทยชนะ 388,997 แห่ง นั้น เจ้าของกิจการ/กิจกรรมทั้งหลาย ได้คะแนนจากประชาชน 4.93 คะแนนเต็ม 5 โดย 5 จังหวัดอันดับแรกที่ได้มากกว่า 4 ดาว คือ .นครปฐม ระยอง ชลบุรีนนทบุรี และกรุงเทพฯ ส่วนกิจการ/กิจกรรมที่ได้รับเรตติ้งดีที่สุด ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารร้านเครื่องดื่ม หน่วยงานสถานราชการ โรงเรียนหรือสถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า และมีรถเมล์ ขนส่งสาธารณะ

ส่วนแอพพลิเคชั่น หมอชนะ ขณะนี้ทุกภาคส่วนกำลังช่วยกันและร่วมกันทำงาน ซึ่งอยากให้ประชาชนอย่าเพิ่งลบแอพพลิเคชั่นดังกล่าว เพราะต่อให้หลายคนบอกว่าทำให้เปลืองแบตเตอรี่ แต่ตอนนี้ทีมกำลังพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยในการติดตามตัวบุคคลไปยังสถานที่ต่างๆ เช่นเดียวกับการนำเสนอข้อมูลเมื่อวันที่ 16 .. ที่มีการนำเสนอ คนที่ติดเชื้อ .ตราดและฉะเชิงเทราและต้องมีการติดตามผู้ที่ไปในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อไปนั้น จำนวน  3,583 ราย อย่าตกใจ แต่หากมีความเสี่ยงไปในสถานที่ดังกล่าว ขอให้ติดตามอาการ แอพทำหน้าที่เพียงแจ้งเตือนเท่านั้น

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่าสำหรับเรื่องวัคซีน ในการจัดการวัคซีนนั้น ถ้าพบว่ามีที่ใด น่าเชื่อถือ และเป็นไปได้ ก็จะมีนำมาหารือร่วมกัน โดยมีคณะกรรมการติดตามโรคติดต่อ คณะกรรมการวัคซีนของชาติ และมีชุดการกำกับติดตามที่มีปลัดจากกระทรวงต่างๆ และมีที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีที่เป็นแพทย์จำนวนมาก ดังนั้น สิ่งที่ศบค.วางแผนและกำหนดขึ้นมานั้น ผ่านชุดข้อมูลและการพิจารณาหลายครั้ง เพราะทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง น่าเชื่อถือและความปลอดภัย ซึ่งการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนต้องคำนึงถึงความปอลดภัย ตอนนี้การผลิตวัคซีนเป็นการเร่งรีบต้องมีความมั่นใจในการใช้ 

เพราะฉะนั้น การฉีดวัคซีนจะเร็วจะช้า ต้องมีความมั่นใจจริงๆถึงจะฉีดได้ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเสี่ยงที่ได้ใช้วัคซีนก่อนก็ต้องมั่นใจว่าจะไม่เสียพวกเขาไป  เราเดินกันอย่างช้าๆ ได้พร้าเล่มงานเป็นเรื่องการตัดสินใจอย่าให้ตัวเวลามาบีบคั้น ทุกครั้งที่ตัดสินใจการบริหารสถานการณ์ต่างๆ ต้องใช้ชุดข้อมูลที่มีความสำคัญ  ถ้าบอกว่าวัคซีนจะฉีดได้ต้องมีชุดข้อมูลที่มั่นใจ ขอฝากทุกๆท่านได้มั่นใจว่าจะฉีดวัคซีนได้ต้องปลอดภัย

"สถานการณ์โควิด-19 ในไทยขณะนี้  ในส่วนของสมุทรสาคร ทำอย่างไรให้เจอผู้ป่วยมากที่สุด  ต้องค้นหาผู้ป่วยที่รอการรักษาอยู่ต้องหาให้เจอ ขณะที่กรุงเทพฯ แม้พื้นที่จะไม่ใหญ่  แต่ประชากรเยอะมากและมีการติดต่อกันในครอบครัวระบบการค้นหาเชิงรุกต้องมีการออกแบบวางระบบในเรื่องนี้ทางกทม.รับทราบเรื่องนี้ และทำงานร่วมมือกับสธ. และในส่วนของจังหวัดที่ใกล้ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ภาคใต้ใกล้มาเลเซียที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ต้องนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นประเทศเพื่อนบ้านฝั่งตะวันตก มาใช้ภาคใต้  เพราะเชื่อว่าภาครัฐเข้มแข็ง ภาคเอกชนเข้มข้น ประชาชนเคร่งครัว เราชนะแน่ ขอความร่วมมือทุกภาคส่วน เนื่องจากวัคซีนจะมาเดือนหน้า หรือปีหน้าจะเกิดอะไรไม่รู้ แต่วันนี้ทุกคนปกป้องประเทศได้ ภูมิคุ้มกันของทุกคนเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดที่ทุกคนจะใช้ได้"นพ.ทวีศิลป์ กล่าว