'รุ้ง' บุกศาลรัฐธรรมนูญ อ่านจดหมายเปิดผนึก ร้องประกันตัว 4 แกนนำม็อบ

'รุ้ง' บุกศาลรัฐธรรมนูญ อ่านจดหมายเปิดผนึก ร้องประกันตัว 4 แกนนำม็อบ

"รุ้ง-ปนัสยา" มาตามนัดบุกศาลรัฐธรรมนูญ-กระทรวงยุติธรรม อ่านจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องประกันตัว 4 แกนนำม็อบ รับขอโทษเหตุชุมนุม 13 ก.พ. ยันจัดต่อ 20 ก.พ.นี้

วันที่ 16 .. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลัง ..ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ "รุ้ง" แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คนัดหมายทำกิจกรรมอ่านจดหมายเปิดผนึกถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เพื่อเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเป็นกลางในการพิจารณาและดำเนินคดีความ ใน 5 สถานที่ ประกอบด้วย 1.ศาลรัฐธรรมนูญ ถนนแจ้งวัฒนะ 2.กระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ 3.ศาลอาญารัชดา ถนนรัชดาภิเษก 4.สำนักงานตำรวจแห่งชาติถนนพระราม 1 และ 5.สำนักนายกรัฐมนตรี ถนนพิษณุโลก โดยจะเริ่มกิจกรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญในเวลา 09.00 .

ล่าสุดเมื่อเวลา 10.15 . ..ปนัสยา ได้เดินทางมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมอ่านจดหมายเปิดผนึก มีเนื้อหาระบุว่า "จดหมายเปิดผนึก ถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลกว่า การเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ทวีความเข้มข้นขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะนับตั้งแต่กลาง 2563 เป็นต้นมา ประชาชนจำนวนมหาศาลได้ก้าวออกมาร่วมกันชุมนุมโดยสบ สันติ และปรศจากอาวุธครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อส่งเสียงเรียกร้องไปยังรัฐบาลและผู้มีอำนาจ ถึงความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ไปสู่การป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงดังนานาอารยประเทศ ต้องการที่จะเห็นความป็นธรรมในสังคมไทย อันหมายถึความเท่าเทียมในศักดิ์ศรีและโอกาสของประชาชนทุกคน ภายใต้ข้อ เรียกร้อง 3 ข้อคือ 1.ขับไล่ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และองคาพยพ 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญ และ 3.ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย

161344663927

แต่ก็เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกอีกเช่นกันว่า รัฐไทยได้เลือกที่จะใช้วิธีการที่รุนแรงและเกินกว่าเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย การใช้กระบอง กระสุนยาง แก๊สน้ำตา และรถฉีดน้ำแรงดันสูง มาตอบโต้และปราบปรามผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธ ไม่ว้นแใจกลางมืองหลวงและต่อหน้าสื่อมวลชน หลายครั้งหลายหน ยิ่งไปกว่านั้นคือการจับกุมผู้ปรศรัยและผู้ชุมนุมป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้งด้วยวิธี การที่ไม่ชอบด้วกฎหมาย เช่น จับกุมและควบคุมตัวไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 (บก.ตชด.1) แทนที่จะเป็นสถานีตำรวจในพื้นที่ การปฏิเสธให้ทนายและญาติเข้าร่วมการสอบสวน รวมถึงการตั้งกล่าวข้อหาที่ไม่ป็นธรม โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือ "ข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคง" และมาตรา 112 ที่รู้จักกันดีในนาม "ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์" ซึ่งอัตราโทษสูงอย่างเกินกว่าเหตุ

และที่เลวร้ายและขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนอย่างมากก็คือ กรปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวของผู้ต้องหาในระหว่างการดำเนินคดี ดังกรณีล่สุดคื คารปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นายอานนท์ นำภา นายสมศ พฤกษากษมสุข และนายปติวัฒน์สหรายแย้ม ที่ถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 เป็นเหตุให้ทั้ง 4 คน ยังคงถูกจองจำอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จวบจนนาทีนี้

ทั้งที่ตามหลักการ "Presumption of Innocence" ซึ่งใช้ในกระบวนการยุติธรรมทั่วโลก ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ในคดีอาญาระหว่างที่คดียังไม่สิ้นสุด ให้อนุมานว่าผู้ถูกกล่วหาหรือจำเลยนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีความผิด และ "จะปฏิบัติตบุคคลนั้นสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" ซึ่งหลักการนี้ได้ถูกรับรองไว้ในรัฐรรมนูญ แม้แต่ฉบับปัจจุบันซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรมญที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย ก็ยังให้การรับรองสิทธินี้เอาไว้ ในมาตรา 29 วรรค 2 อย่างชัดเจนว่าเป็นสิทธิของปวงชนชาวไทย

161344665879

การที่ศาลปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวโดยให้เหตุผลว่าทั้ง 4 คน "มีพฤติกรรมที่อาจกระทำความผิดซ้ำ" ซึ่งป็นการ "พิพากษาล่วงหน้า" ว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงและอาจทำซ้ำนั้น จึงขัดต่อหลักการ "Presumption of Innocence" และเป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญของจำเลยทั้ง 4 คนอย่างชัดเจนยิ่งไปกว่นั้น การที่ศาลปฏิเสธสิทธิในครประกันตัวของผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม มาตรา 112 ให้จองจำเอไว้ย่างไม่ป็นธรรม ทั้งที่คดียังไม่ได้เริ่มการไต่สวน ทั้งที่ผู้ต้องหาไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี ในขณะที่ยังคงให้สิทธิในการประกันผู้ต้องหหรือจำเลยในคดีอาญาอื่นๆ ที่มีอัตราโทษรุนแรง เช่น ต้องหาว่าฆ่าคนตายโดยเจตนา จึงอาจนำไปสู่การมาตรฐานอันไม่ชอบธรรม นั่นคือ ผู้ต้องหาในความผิดหมิ่นประมาทกษัตริย์มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวมากกว่าคดีอญาอื่น

ซึ่งนอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนรวมถึผู้ที่ออกมาเรียกร้องความป็นรรมในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์แล้ว ยังทำลายเกียรติภูมิของศาลและกระบวนการยุติธรมไทยให้ย่อยยับลง จนอาจถูกติฉินจากนานาอารยประเทศว่า ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองภายในประเทศจนละทิ้งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ เพื่อชำรงไว้ซึ่งเกียรติภูขอศาล และควมเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม "เรา"

ในนามของ "ราษฎร" ขอเรียกร้องให้มีการอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 4 คน และผู้ต้องหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองทั้งหมดและขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอาญา สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนหน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรม และคำนึงถึงเกียรติ ศักดิ์ศรีของความป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะมีได้ก็ต่อเมื่อปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชนเท่านั้น

161344725387

..ปนัสยา ยังให้สัมภาษณ์ด้วยว่า สำหรับการจัดกิจกรรมอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาตามที่เคยประกาศไว้นั้น แต่จากเหตุการณ์วันที่ 13 ..ที่ผ่านมา ทำให้ขณะนี้ต้องพิจารณารูปแบบการจัดกิจกรรม อีกครั้งว่าจะเป็นอย่างไร เพราะต้องวางแผนให้รัดกุมที่สุด แต่จะมีการจัดกิจกรรมแน่นอน ส่วนการชุมนุมวันที่ 20 ก.พ.จะจัดขึ้นเพราะมีการนัดหมายไว้แล้ว 

"วันที่ 13 ก.พ. ต้องยอมรับผิดที่ควบคุมตรงนี้ไม่ได้ เราขอโทษจริงๆที่ควบคุมไม่ได้ แต่จากนี้การวางแผนทุกอย่างจะรัดกุมให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปอย่างดีที่สุดในแนวทางสันติวิธี"น.ส.ปนัสยา กล่าว

161344674568

จากนั้น น.ส.ปนัสยาได้เดินทางต่อไปยังกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลอาญารัชดา ถนนรัชดาภิเษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระราม 1 และสำนักนายกรัฐมนตรี ถนนพิษณุโลก

161344991929