'แม่น้ำโขง' แห้งหนัก! สหรัฐหนุนกรรมาธิการแม่น้ำโขงเรียกร้อง 'จีน' ให้ข้อมูลน้ำ

'แม่น้ำโขง' แห้งหนัก! สหรัฐหนุนกรรมาธิการแม่น้ำโขงเรียกร้อง 'จีน' ให้ข้อมูลน้ำ

"แม่น้ำโขง" แห้งหนัก สหรัฐหนุนกรรมาธิการแม่น้ำโขงเรียกร้องจีนให้ข้อมูลน้ำ ขณะที่ "กลุ่มรักษ์เชียงของ" เผยประเทศท้ายน้ำรับผลกระทบต่อเนื่องมานานกว่า 2 ปี เตรียมประสาน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ยื่นหนังสือเรียกร้องปล่อยน้ำให้กลับสู่ภาวะปกติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ก.พ.2564 สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดดอนทราย และโขดหินโผล่พ้นน้ำมาเป็นจำนวนมากในแม่น้ำโขง ในพื้นที่ อ.เชียงของ และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ทำให้การเดินเรือในแม่น้ำโขงเป็นไปได้อย่างยากลำบาก รวมไปถึงการทำการประมงในท้องถิ่น ซึ่งชาวประมงไม่สามารถนำเรือออกหาตามแหล่งน้ำที่เคยไปได้ เพราะปริมาณน้ำลดระดับลง ทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของปลาเปลี่ยนแปลงไป

161441451868

นอกจากนี้ยังพบว่าเรือสินค้าในแม่น้ำโขง ทั้งฝั่งประเทศไทย และ สปป.ลาว เกยตื้นอยู่บนฝั่งหลายลำ เนื่องจากน้ำที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบการที่ท่าเรือต่างๆ ปิดตัวลง เพราะสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เรือในแม่น้ำโขงหยุดเดินเรือในช่วงนี้ และทำให้การท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงลดลงด้วย

นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือครูตี๋ กลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากเขื่อนในประเทศจีนปล่อยน้ำออกมาในปริมาณน้อย ส่งผลให้ประเทศที่อยู่ท้ายเขื่อนได้รับผลกระทบ ซึ่งในช่วง 2 ปีมานี้จะเห็นว่าหลายฝ่ายได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านการเกษตรริมแม่น้ำ ระบบนิเวศ การประมง วิถีของชาวบ้านริมแม่น้ำโขงต่างได้รับผลกระทบทั้งหมด

161441453271

อยากให้ทางการจีนมาศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะการที่เขื่อนปล่อยน้ำตามใจไม่ได้ ทำให้เกิดผลกระทบเฉพาะการเดินเรือเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบทุกด้าน ในส่วนความร่วมมือของกลุ่มนักอนุรักษ์ในลุ่มแม่น้ำโขง ทั้ง 8 จังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขงได้มีการยื่นหนังสือร่วมกับกลุ่ม กรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ MRC ซึ่งเป็นหน่วยงานของทางราชการแต่ละประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้รวมตัวกัน เพื่อทำหนังสือถึงทางการจีนเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อให้แม่น้ำโขงกลับมามีระบบนิเวศที่ดีเช่นเดิม

161441454296

ทางด้าน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเมื่อวันที่ 23 ก.พ.64 ที่ผ่านมาว่าสหรัฐ จะใช้ความร่วมมือในกรอบ Mekong- U.S. Partnership เพื่อส่งเสริมให้รัฐบาลและชุมชนท้องถิ่นในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้มีการพัฒนาอยางโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยจะดำเนินการ Mekong Water Data Intiative และMekong Dam Monitor

พร้อมกันนี้สหรัฐมีความกังวล เกี่ยวกับระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับประเทศในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง และกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ MRC จงร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลจีนแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับน้ำในแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่องและทันสมัย รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการน้ำของจีน ตลอดจนกระตุ้นให้จีนร่วมมือกับประเทศในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงมากขึ้น

161441455222

ที่มาภาพ : ณัฐวัตร ลาพิงค์