อาการอย่างไรเรียกว่า 'แพ้วัคซีน'

อาการอย่างไรเรียกว่า 'แพ้วัคซีน'

โดยปกติอาการไม่พึงประสงค์หรือการ“แพ้วัคซีน”จะเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนภายใน 15 นาทีมี 2 ระดับอาการไม่รุนแรง และอาการรุนแรง แม้ว่าวัคซีนจะมีความปลอดภัยแต่อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ จึงต้องรอดูอาการหลังฉีด 30 นาที

กระทรวงสาธารณสุข มีระบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์หลังกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมาทันที จนถึง 30 วัน โดยให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉินเตรียมพร้อมให้คำปรึกษา รับแจ้งเหตุ และจัดรถพยาบาลรับที่บ้าน หากมีผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ โทร 1669

ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 3 มี.ค.2564 ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กลุ่มเป้าหมายใน 13 จังหวัดแล้ว จำนวน 13,464 ราย เป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุขรวมอสม. ราย เจ้าหน้าที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคด่านหน้า ราย ผู้ที่มีโรคประจำตัว ราย และประชาชนทั่วไป ราย ในจำนวนนี้มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน จำนวน 119 ราย มีอาการอักเสบบริเวณที่ฉีด 59 ราย ปวดเมื่อยเนื้อตัว 1 ราย คลื่นไส้ 19 ราย ไข้ 2 ราย หนาวสั่น 6 ราย เหนื่อย 1 ราย และแน่นหน้าอก 11 ราย โดยผู้ฉีดวัคซีนสังเกตอาการและรายงานผ่านไลน์หมอพร้อมและเจ้าหน้าที่หรือ อสม. ทางโทรศัพท์

  • แพ้วัคซีนเกิดขึ้นภายใน15นาที

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า โดยปกติอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนมักเกิดขึ้นภายใน 15 นาที กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เตรียมระบบรองรับไว้แล้วอย่างไรก็ตาม วัคซีนโควิด 19 เป็นวัคซีนใหม่ จึงให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และมีระบบรายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน

"การแพ้วัคซีน" แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1.อาการไม่รุนแรง คือ มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และปวดบริเวณที่ฉีด หากมีอาการเหล่านี้หลังฉีดขอให้รายงานในระบบไลน์หมอพร้อมและ 2.อาการรุนแรง ได้แก่ ไข้สูง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรงมีจุดเลือดออก ผื่นขึ้นทั้งตัว อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง หรือชักหมดสติ ขอให้รีบโทรแจ้ง 1669 เพื่อแจ้งรถพยาบาลมารับหรือถ้าหมดสติให้ญาติรีบพาไปโรงพยาบาลแม้วัคซีนจะมีความปลอดภัย แต่อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นได้

  • บุคลากรสธ.ไม่ได้แพ้วัคซีนโควิด

ส่วนกรณีบุคลากรทางการแพทย์เพศหญิงอายุ 28 ปี 1 รายมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนนั้น เมื่อวันที่ 3 มี.ค คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์จากโรงเรียนแพทย์และกรมควบคุมโรค พิจารณาข้อมูลแล้วเห็นว่า ได้รับวัคซีนประมาณ 11.00 น.ช่วงสังเกตอาการ 30 นาทีแรกอาการปกติ อาจจะมีเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนเล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการพบได้ทั่วไปหลังได้รับวัคซีน 

ต่อมาเมื่อเวลา 14.00 น. คลื่นไส้อาเจียนเวียนศีรษะเพิ่มขึ้น ยังปฏิบัติงาน เวลา 16.30 น. เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น แน่นหน้าอก เหงื่อออก ปลายมือเท้าเย็น ไม่มีผื่นขึ้นตามตัวหรือตัวบวม ความดันเลือด 90/60 มิลลิเมตรปรอท ชีพจรปกติ 90 ครั้งต่อนาที ตรวจปอดปกติ ไม่มีผื่นขึ้น ไม่มีหอบเหนื่อย หลังได้รับยาทางกล้ามเนื้ออาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

อาการของรายนี้เกิดขึ้นล่าช้าหลัง 30 นาทีแรกและไม่มีภาวะช็อค ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปว่าไม่ได้เป็นอาการช็อครุนแรงหรือแพ้วัคซีน แต่เป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการรับวัคซีนและสามารถพบได้ โดยรายนี้เมื่อสังเกตอาการ 1 วันก็ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม บุคลากรรายนี้มีอากรท้องเสียร่วมด้วย อาจจะต้องพิจารณาต่อว่าเป็นประเด็นเรื่องของการติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่ โดยอยู่ระหว่างตรวจสอบเพิ่มเติม 

ดังนั้นบุคลากรรายนี้ถือว่าเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน แต่ไม่ใช่แพ้วัคซีนอย่างรุนแรง ผู้เชี่ยวชาญประเมิน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ สรุปแล้ว รายนี้สามารถรับวัคซีนเข็มที่ 2 ได้โดยอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด แต่หากยังกังวลว่าจะแพ้วัคซีนหรือไม่ อาจจะทดสอบก่อนฉีดเข็มต่อไป

  • ประเมินกลุ่มเสี่ยงก่อนฉีด 

ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องรับวัคซีน ก่อนที่จะฉีดวัคซีนจะมีการประเมินอาการโดยแพทย์ก่อนว่า อาการคงตัวสามารถควบคุมได้ หากแพทย์ประเมินว่าไม่พร้อมก็ไม่ให้วัคซีน และข้อห้ามในการรับวัคซีนเลย คือรายที่มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดนี้มาก่อน ซึ่งจะเป็นข้อห้ามในการฉีดเข็มถัดไป แต่ผู้ที่มีประวัติแพ้รุนแรงใน 30 นาที ทั้งการแพ้ยา แพ้อาหาร หรือแพ้วัคซีนตัวอื่นให้แจ้งแพทย์ที่รพ.ที่รับวัคซีนเพื่อประเมินอีกครั้ง

ในการฉีดวัคซีนนั้น ที่รพ.จะมีการซักประวัติว่าเข้าข่ายรับวัคซีนได้หรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่ เช่น มีการวัดความดัน หลังรับวัคซีนสังเกตอาการ ณ สถานพยาบาล 30 นาที ถ้ามีปัญหามีทีมช่วยดูแลทันที และการเฝ้าติดตามอาการหลังรับวัคซีนจะประเมินจนครบ 30 วันในการฉีดแต่ละเข็ม โดยติดตามผ่านไลน์หมอพร้อมหรือโดยรพ. ในวันที่ 1,7 และ30 หลังรับวัคซีน ยังมีความจำเป็นและความสำคัญที่โปรแกรมการให้วัคซีนโควิด-19 ยังต้องให้ต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนมั่นใจในการติดต่อกับรพ.ในการรับวัคซีน จะมีการประเมินและผู้ดูแลอย่างรอบคอบในการรับวัคซีน ส่วนถ้ามีอาการรุนแรงขณะอยู่ที่บ้านสามารถโทรสายด่วน 1669 หรือ 1422 และไปรพ.ใกล้บ้านที่สุดด้วยความรวดเร็ว และแจ้งแพทย์ว่ารับวัคซีนโควิด-19

  • ระวังฉีดในกลุ่มแพ้เพนิซิลลิน

ส่วนกรณี แพ้ยาเพนิซิลลิน ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน แต่ให้เพิ่มความระมัดระวัง เนื่องจากอาจแพ้สารอื่นๆ ได้ง่าย สำหรับสถานพยาบาลขอให้ดำเนินการฉีดวัคซีนตามระบบ 8 ขั้นตอนอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการเฝ้าระวังอาการหลังฉีด 30 นาที เพราะส่วนใหญ่การแพ้วัคซีนอย่างรุนแรงมักเกิดขึ้นภายใน 15 นาที หากเกิน 30 นาทีส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและมีเวลาในการรักษา แนะนำว่าหลังฉีดวัคซีน แขนข้างที่ฉีดแล้วอย่าออกแรงหรือยกของหนัก ขอให้พัก 4 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้วัคซีนเข้าเส้นเลือดเร็วเกินไป ก็จะมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ให้ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ซึ่งมีจำนวน 1 ล้าน 4 หมื่นคนทั่วประเทศ ลงพื้นที่บอกต่อสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 โดยให้ความรู้วัคซีนโควิด 19 ผ่านสื่อและชุดข้อมูล, สำรวจ คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย, เชิญชวนประชาชนลงทะเบียน “หมอพร้อม” เพื่อรายงานติดตามอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีน และแจ้งเตือนนัดหมายรับวัคซีนเข็มที่ 2 ช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ด้วยการลงทะเบียนผ่านโทรศัพท์ของลูกหลานในครอบครัว หรือของ อสม. และรวบรวมรายงานติดตามอาการไม่พึงประสงค์ส่งต่อไปยัง รพ.สต.และรพ.ชุมชน

161488522016