'ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด' ชูสื่อ 'Blackboard Collaboration' เรียนรู้ยุคโควิด-19

'ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด' ชูสื่อ 'Blackboard Collaboration' เรียนรู้ยุคโควิด-19

"ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด" ปรับโฉม "เรียนออนไลน์" เต็มรูปแบบ พร้อมนำสื่อการสอน “Blackboard Collaboration” แบ่งปันไฟล์งาน โต้ตอบการเรียนการสอนแบบเรียลไทม์ เอื้อการเรียนรู้ยุค "โควิด-19"

จากวิกฤตการแพร่ระบาดของ "โควิด – 19" ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน ต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยเฉพาะในการเรียนการสอน เน้นการ "เรียนออนไลน์" มากขึ้น  "มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด" หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ได้มีการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน เพื่อเอื้อให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ

  • "ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด" ปรับโฉมใช้สื่อ“Blackboard Collaboration”

"ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด" ได้พัฒนาระบบการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์มามากกว่า 5 ปี ทำให้มีความพร้อมด้านการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ โดยมีรูปแบบสื่อการสอนรูปของ Blackboard Collaboration”  ที่สามารถทแบ่งปันไฟล์งานให้กับนักศึกษาด้อย่างมีระบบ

นอกจากนี้ อาจารย์และนักศึกษายังสามารถโต้ตอบจากเรียนการสอนแบบตลอดเวลาแบบ "เรียลไทม์" (Real Time) และสามารถบันทึกการเรียนการสอนไว้รับชมย้อนหลังได้อย่างง่ายดาย

161785789879

  • แนะปรับหลักสูตร การเรียนการสอน เน้น "เรียนออนไลน์" 

ดร.สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี "ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด" เปิดเผยว่า "ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด"พร้อมปรับตัวในการเรียนการสอนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในยุค "โควิด-19" โดยได้มีการปรับ "การเรียนการสอน" ให้สอดคล้องในรูปแบบการ "เรียนออนไลน์"  เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักศึกษามากขึ้น ทำให้นักศึกษาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด ก็สามารถเรียนรู้ได้เสมือนอยู่ในชั้นเรียน

พร้อม "ปรับหลักสูตร"ให้ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง หากต้องเรียนผ่าน "ระบบออนไลน์"เต็มรูปแบบ คุณภาพมาตรฐานการศึกษาของนักศึกษาไทยจะสามารถวัดได้จากการมีส่วนร่วมและการทำรายงาน ตลอดจนการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน

161785791628

โดยสามารถเป็นเกณฑ์ในการวัด "คุณภาพการศึกษา" ได้ ทั้งนี้ ระดับการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ สัดส่วนของการสอบข้อเขียนเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับการวัดผลการเรียนรู้ทั้งหมด การวัดผลจากการนำเสนอผลงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากสถานการณ์จริง จึงถือได้ว่า เป็นส่วนที่สำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาก่อให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะ ตลอดจนการสังเคราะห์สิ่งที่ได้ร่ำเรียนมาปรับใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆได้    

  • บันทึกเทปทบทวนบทเรียน เข้าถึงนศ.ไม่สามารถ "เรียนออนไลน์"

ส่วนกรณีที่นักศึกษาต่างจังหวัดที่ไม่สามารถเข้าถึง "ระบบออนไลน์" ได้จริงๆ จะมีการจัดทำ การบันทึกเทปการทบทวนบทเรียนในรายวิชาต่างๆ  หรือการเรียนเสริมออกมาเป็นในรูปแบบบันทึก record เป็นซีดี ที่สามารถนำส่งทางไปรษณีย์ หรือ บันทึกออนไลน์ เพื่อที่นักศึกษาสามารถฟังย้อนหลังในกรณีที่สามารถที่จะเข้าถึงระบบออนไลน์หลังจากนั้นได้

อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยในประเทศไทยต้องปรับตัวและพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องให้มีความสอดคล้องกับรายได้ของมหาวิทยาลัย ในการหารายได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยใช้รูปแบบและหลักการโมเดลจากต่างประเทศ ซึ่งมีการหารายได้จากงานวิจัยที่สอดคล้องกับภาคธุรกิจ เพื่อหางบสนับสนุนให้กับมหาวิทยาลัย