วิเคราะห์ 'อาการโควิด' ของผู้เสียชีวิต ระบาด 3 รอบต่างกันยังไง?

วิเคราะห์ 'อาการโควิด' ของผู้เสียชีวิต ระบาด 3 รอบต่างกันยังไง?

กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลการเสียชีวิตจาก "โควิด-19" ของไทย เปรียบเทียบการระบาดทั้ง 3 รอบ ว่ามีลักษณะป่วย "อาการโควิด" แตกต่างกันยังไง และมีอัตราผู้เสียชีวิตมากน้อยแค่ไหน

หลายวันมานี้ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 ของ ศบค. ระบุว่ายอดผู้ติดเชื้อในประเทศไทยยังพุ่งสูงทะลุหลักพันมาเป็นวันที่ 9 แล้ว (14-22 เม.ย.64) ที่น่าตกใจคือการระบาดโควิดในรอบที่ 3 มียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 23 ราย ในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากการระบาดในรอบที่ 1 และ 2 ประเด็นนี้ กรมควบคุมโรคได้ออกมาให้ข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับลักษณะการป่วย "อาการโควิด" โดยเปรียบเทียบการระบาดของทั้ง 3 รอบ ว่ามีความแตกต่างกัน ดังนี้

1. เปรียบเทียบยอดผู้ติดเชื้อ

กรมควบคุมโรคได้วิเคราะห์ข้อมูลการเสียชีวิตเปรียบเทียบการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยทั้ง 3 รอบ พบว่า

- รอบ 1 ช่วงปี 2563 : ยอดผู้ติดเชื้อ 6,772 ราย  ยอดผู้เสียชีวิต 67 ราย  อัตราเสียชีวิตอยู่ที่ 0.82%

- รอบ 2 เดือน ม.ค.-มี.ค. 2564 : ยอดผู้ติดเชื้อ 21,035 ราย  ยอดผู้เสียชีวิต 27 ราย  อัตราเสียชีวิต 0.13%

- รอบ 3 เดือน เม.ย. 2564 : ยอดผู้ติดเชื้อแล้ว 17,780 ราย  ยอดผู้เสียชีวิต 16 ราย  อัตราเสียชีวิต 0.10%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

161907915737

2. ปัจจัยเสี่ยงของผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต

ส่วนในเรื่อง ปัจจัยเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับความชุกของผู้เสียชีวิต พบว่าในการระบาดของโควิดทั้ง 3 รอบ พบความเสี่ยงไม่แตกต่างกัน คือ เป็นลักษณะการติดเชื้อและเพร่ระบาดจาก สถานบันเทิง, บ่อนพนัน, สนามมวย, ทำงานในแหล่งชุมชน/ตลาด และติดเชื้อจากคนในครอบครัว

3. อายุเฉลี่ยของผู้เสียชีวิตจากโควิด

สำหรับอายุของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโควิด-19 นั้น พบว่าในแต่ละรอบของการระบาด มีอายุเฉลี่ยที่แตกต่างกัน ได้แก่ 

- รอบ 1 ช่วงปี 2563 : พบผู้เสียชีวิตอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 58 ปี

- รอบ 2 เดือน ม.ค.-มี.ค. 2564 : พบผู้เสียชีวิตอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 64 ปี 

- รอบ 3 เดือน เม.ย. 2564 : พบผู้เสียชีวิตมีอายุน้อยที่สุด คือ เฉลี่ย 56 ปี โดยการระบาดรอบที่ 3 ในปี 2564 นี้ พบว่ามีราว 50% ของผู้เสียชีวิต เกิดขึ้นจากการติดเชื้อในครอบครัว

4. ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มี "โรคประจำตัว" 

อีกทั้ง พบว่าสัดส่วนของผู้เสียชีวิตจากโควิด ยังอยู่ที่กลุ่มผู่ป่วยสูง คือมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยราวๆ 50% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มี "โรคประจำตัว" เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคปอด หลอดเลือดหัวใจ/หลอดเลือดสมอง ไทรอยด์ ไตวาย ป่วยติดเตียง

- รอบ 1 ช่วงปี 2563 : เสียชีวิตจากโควิดและมีโรคประจำตัว 43 ราย (64%)

- รอบ 2 เดือน ม.ค.-มี.ค. 2564 : เสียชีวิตจากโควิดและมีโรคประจำตัว 24 ราย (89%)

- รอบ 3 เดือน เม.ย. 2564 : เสียชีวิตจากโควิดและมีโรคประจำตัว 13 ราย (93%)

5. ระยะเวลาจากเริ่มป่วยถึงเสียชีวิต

ขณะที่ ค่ากึ่งกลางของระยะเวลาจากวันทราบผลตรวจพบเชื้อ จนถึงวันที่เสียชีวิต พบว่า

- รอบ 1 ช่วงปี 2563 : ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12 วัน 

- รอบ 2 เดือน ม.ค.-มี.ค. 2564 : ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7 วัน

- รอบ 3 เดือน เม.ย. 2564 : ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6 วัน

161907915882

161907915938