'ดอน' ตัวแทนนายกฯ ถกอาเซียน หาทางออกสถานการณ์ 'เมียนมา'

'ดอน' ตัวแทนนายกฯ ถกอาเซียน หาทางออกสถานการณ์ 'เมียนมา'

"ดอน ปรมัตถ์วินัย" เป็นตัวแทน "นายกฯประยุทธ์" ร่วมวงผู้นำอาเซียน หารือสร้างสรรค์ และจริงใจ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์การเมืองไม่สงบในเมียนมา

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดเดินทางเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEANLeaders’ Meeting) ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ในวันที่ 24 เมษายน 2564 เวลา 13.30 - 15.30 น. ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมฯ ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี (Special Envoy) เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีภารกิจในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศ

การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกในรูปแบบหาหน้าค่าตา (physical) ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยที่ประชุมจะหารือเกี่ยวกับ การสร้างประชาคมอาเซียน ความสัมพันธ์กับภาคีภายนอก และการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา

161907581234

“การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสให้ผู้นำอาเซียนได้หารือกันอย่างสร้างสรรค์ จริงใจ และตรงไปตรงมา เพื่อหาทางยุติความรุนแรงและหาทางให้ฝ่ายต่าง ๆ ในเมียนมาหันหน้าเข้าหากันและหาทางออกโดยสันติผ่านช่องทางที่สร้างสรรค์ ภายใต้การสนับสนุนของอาเซียน” นายธานี กล่าวในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์  

นอกจากนี้ เมียนมาไม่เพียงเป็นเพื่อนบ้านของไทยที่มีพรมแดนติดกันยาวที่สุด แต่ถือว่าเป็นสมาชิกสำคัญของครอบครัวอาเซียน เสถียรภาพและสันติภาพในเมียนมาจึงเป็นส่วนหนึ่งของเสถียรภาพและสันติภาพของอาเซียนอย่างแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้น อาเซียนจำเป็นต้องมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์เพื่อช่วยเหลือเมียนมา โดยจากประสบการณ์ที่ผ่านมา แนวทางที่น่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดคือการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและรักษาช่องทางการพูดคุยกับฝ่ายต่าง ๆเพื่อสนับสนุนกระบวนการปรองดอง

นอกจากนี้ เมียนมาไม่เพียงเป็นเพื่อนบ้านของไทยที่มีพรมแดนติดกันยาวที่สุด แต่ถือว่าเป็นสมาชิกสำคัญของครอบครัวอาเซียน เสถียรภาพและสันติภาพในเมียนมาจึงเป็นส่วนหนึ่งของเสถียรภาพและสันติภาพของอาเซียนอย่างแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้น อาเซียนจำเป็นต้องมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์เพื่อช่วยเหลือเมียนมา โดยจากประสบการณ์ที่ผ่านมา แนวทางที่น่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดคือการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและรักษาช่องทางการพูดคุยกับฝ่ายต่าง ๆเพื่อสนับสนุนกระบวนการปรองดอง