พาณิชย์ เปิดตัวสินค้า GI ใหม่ “ข้าวขาวกอเดียวพิจิตร” และ “เชอร์รี่ฮิกาชิเนะ”
กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียนสินค้า GI”ข้าวขาวกอเดียวพิจิตร” ไทย และ “เชอร์รี่ฮิกาชิเนะ” ของญี่ปุ่น ปักธงคุ้มครองสินค้า GI ไทยและต่างประเทศพร้อมเดินหน้าผลักดันขึ้นทะเบียนสินค้า GI ไทยต่อเนื่องให้ได้ 15 รายการในปี 2564
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI ใหม่ 2 รายการ โดยเป็นสินค้าไทย 1 รายการ คือ ข้าวขาวกอเดียวพิจิตร และสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น 1 รายการ คือ เชอร์รี่ฮิกาชิเนะ
สำหรับ ข้าวขาวกอเดียวพิจิตร ที่ขึ้นทะเบียน GI ครอบคลุมทั้งข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวสาร มีลักษณะเด่นคือเมล็ดข้าวเรียวยาวสามารถสีเป็นข้าวสารได้100% เมื่อหุงสุกข้าวจะร่วนค่อนข้างแข็งส่วนของปลายข้าว สามารถใช้ผลิตเส้นขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว เพราะมีความข้นหนืด ซึ่งเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมของข้าวขาวกอเดียวพิจิตร นอกจากนี้ ยังเป็นข้าวนาปีไวต่อแสง ทาให้ลาต้นมีความสูงถึง 190 เซนติเมตร จึงเหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ลุ่มที่มี น้าหลากในช่วงฤดูฝนของจังหวัดพิจิตร
ส่วน เชอร์รี่ฮิกาชิเนะ เป็นเชอร์รี่สายพันธุ์ซาโต-นิชิกิ และเบนิ-ซูโฮ มีผลสีแดง ขนาดใหญ่ มีรสชาติหวาน อมเปรี้ยวกลมกล่อมพอเหมาะ มีการปลูกมานานกว่า 90 ปี ในเมืองฮิกาชิเนะ จังหวัดยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านรสชาติและรูปลักษณ์ที่โดดเด่นสวยงาม
นายสินิตย์ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยรับขึ้นทะเบียนสินค้า GI จากต่างประเทศเป็นการสร้าง ความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการชาวต่างชาติ ในระบบการคุ้มครอง GI และการปกป้องไม่ให้ ถูกละเมิดชื่อสินค้า GI ทั้งนี้ ในส่วนของ GI ไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเดินหน้าขึ้นทะเบียน สินค้าGI อย่างต่อเนื่องพร้อมผลักดันให้มีการจัดทาระบบควบคุมมาตรฐานสินค้าGIเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า ตลอดจนส่งเสริมด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศในวงกว้างและครบวงจรซึ่งขณะนี้มีสินค้าGI ไทยที่ได้รับการ ยอมรับอย่างมาก อาทิ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง กาแฟดอยช้าง กาแฟดอยตุง เส้นไหมไทย พื้นบ้านอีสาน ผ้าไหมยกดอกลาพูน และส้มโอทับทิมสยามปากพนัง เป็นต้น โดยสินค้า GI ทุกรายการจะสร้างรายได้กลับ สู่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น
ล่าสุดมีสินค้า GI ไทยขึ้น ทะเบียนแล้ว 137 รายการ ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถผลิตได้ในท้องถิ่น