สศอ.จับตาดัชนีอุตฯพ.ค. ผวาโตแผ่วโควิดฉุดการผลิต

สศอ.จับตาดัชนีอุตฯพ.ค. ผวาโตแผ่วโควิดฉุดการผลิต

สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมมีสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนเม.ย. 2564 MPI อยู่ที่ระดับ 91.88 เพิ่มขึ้น 18.46% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดผลกระทบจากการระบาดรอบแรกของโควิด-19 มากที่สุดในปีก่อน 

ทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า  แม้วจะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่แต่ไม่ได้ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวมและกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นตามทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้นเช่นกัน

โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ดังนั้นในช่วงเวลานี้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจึงถือได้ว่าเป็นกลจักรสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้

ส่วน คาดการณ์ในเดิอนพ.ค. การขยายตัวของ MPI ในเดือนพ.ค. 2564 จะยังคงได้รับอานิสงส์จากฐานที่ต่ำในปี 2563 ต่อเนื่อง ทิศทางการส่งออกมีแนวโน้มที่เป็นไปในทิศทางที่ดี ส่วนประเด็นที่มีการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในส่วนของโรงงานหรือสถานประกอบการ อาจจะส่งผลต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมบ้าง แต่ไม่น่าจะส่งผลต่อการผลิตในภาพรวมประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นการติดเชื้อเฉพาะกลุ่ม ยังไม่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน

162246923254

“จากการนำตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในประเทศ ต่างประเทศจนถึงปัจจุบันนี้มาใส่ในโมเดลคาดการณ์เศรษฐกิจ พบว่าตัวเลขดัชนีเอ็มพีไอ และตัวเลขดัชนีต่าง ๆ ในเดือนต่อไปจนถึงสิ้นปีดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้” 

อย่างไรก็ตาม สศอ. ขอรอดูตัวเลขเดือนพ.ค. อีกครั้งก่อนที่จะพิจารณาปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะการระบาดของโควิดในพื้นที่อุตสาหกรรมจะสะท้อนเต็มที่ในเดือนพ.ค.นี้ เบืื้องต้นยังคงประมาณการเติบโตของดัชนีเอ็มพีไอปี 2564 ที่ ขยายตัว 2 – 3% และจีดีพีอุตสาหกรรมขยายตัว 2.5-3.5% ซึ่งหากดัชนีเอ็มพีไอเดือนพ.ค. ได้รัลผลกระทบไม่มาก ก็อาจทำให้ตัวเลขภาคอุตสากรรมในปีนี้ปรับตัวสู้งภาวะปกติก่อนวิกฤตโควิดได้

สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI ในเดือนเม.ย.2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 18.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ รถยนต์ ที่ขยายตัวในระดับสูงถึง 288.06% จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล โดยตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 4 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวเฉลี่ย 4.38% อัตราใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 65.48% เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตรายหลาย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ขยายตัว 75.61% จากความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Work From Home เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ เริ่มดีขึ้นจึงมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

เหล็ก ขยายตัว 29.2% ขยายตัวเกือบทุกรายการสินค้า เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลงโดยจีนซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศให้ดีขึ้นจึงสั่งปิดโรงงานเหล็กที่ผลิตไม่ได้ตามมาตรฐานส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง ประกอบกับในช่วงนี้สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของโลกปรับตัวสูงขึ้น จากทั้งสองปัจจัยหลักข้างต้นจึงทำให้การผลิตเหล็กของไทยเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาเหล็กและความต้องการที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2564 มีมูลค่า 16,178.8 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 45.69% เป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 36 เดือน ส่วนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 26.82% สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งจากตัวเลขทั้งภาคการส่งออกและการนำเข้าสะท้อนให้เห็นถึงภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าตัวเลขเอ็มพีไอในเดือนถัดไปจะมีทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน