นายกฯ ปฏิวัติ ‘อนุทิน’ สั่งตรงจัดการ 'วัคซีนโควิด' ปมร้อน การเมืองร้าว!

นายกฯ ปฏิวัติ ‘อนุทิน’ สั่งตรงจัดการ 'วัคซีนโควิด' ปมร้อน การเมืองร้าว!

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ออกเมื่อ 8 มิ.ย.2564 ถึง แนวทางการบริหารจัดการ "วัคซีนโควิด-19" สร้างแรงสั่นสะเทือน ทางการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล ที่อาจบ่งชี้ ได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมจะแตกหัก โดยเฉพาะกับ "อนุทิน ชาญวีรกูล" และ ภูมิใจไทย

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ออกเมื่อ 8 มิ.ย.2564 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ...ได้สร้างแรงสั่นสะเทือน ทางการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล เป็นอย่างยิ่ง และอาจจะเป็นการบ่งชี้ ได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมจะแตกหัก โดยเฉพาะกับภูมิใจไทย

มาตรการทั้ง 6 ข้อ ที่ประกาศออกมา เท่ากับว่านายกรัฐมนตรี เข้าไปสั่งหน่วยงาน คณะกรรมการต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข ได้โดยตรง กรณีการบริหารจัดการ วัคซีนโควิด-19

หลังจากที่ประเมินแล้วว่า หากปล่อยให้ หน่วยงาน สธ.และกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารวัคซีน รายงาน และสั่งตรง จาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ต่อไป วาระแห่งชาติ เสี่ยงล้มเหลวแน่นอน

เพราะในข้อกฎหมาย แม้จะมีประกาศ ลง วันที่ 27 เมษายน 2564 เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) คุม พ.ร.บ.31 ฉบับ เป็นการชั่วคราว เพื่อแก้วิกฤติโควิด ก็ตาม

แต่ในแง่ ข้อกฎหมาย นั่น หน่วยงาน คณะกรรม ยังรายงานตรงกับ รมว.สาธารณสุข ตามปกติ

โดยกำหนดไว้ว่า ....

คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมาตามกฎหมายพระราชบัญญัติทั้ง 31 ฉบับ ยังสามารถดำเนินการประชุม หรือทำงานต่อไปได้ตามปกติ โดยให้รัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา หรือเป็นประธานคณะกรรมการตามกฎหมายในลักษณะเช่นเดิม คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามปกติ เว้นแต่มีกรณีใดที่คณะกรรมการชุดใดที่นายกรัฐมนตรีอาจจะมีการเข้าดำเนินการ หรือมีการเข้าประชุมร่วม หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

162320111222

ดังนั้น เมื่อข้อกฎหมาย ล็อกไว้เป็นแบบนี้ ข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข ย่อมต้องฟัง และรับรายงาน ตรงจาก นายอนุทิน

ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะพยายาม ประสานความคิดกำหนด ทิศทาง ระหว่างทีมนายกรัฐมนตรี กับ สธ. อยู่ระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่บูรณาการ ออกมาให้เห็น คณะกรรมการต่างๆที่นายกฯ ตั้งเพื่อจัดหาวัคซีน ก็เงียบหาย ไม่มีบทบาท การกระจายวัคซีน แม้นายกฯ จะสั่งแนวทาง ออกไปแล้ว จำนวนวัคซีน ดูทั้ง ประชากร พื้นที่เสี่ยง เป้าหมายทางเศรษฐกิจ แต่ผลที่ออกมาน้ำหนัก ยังเป็นแบบเดิม

นายกรัฐมนตรี เลยต้องอาศัย หลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 เม.ย.2564

นายกรัฐมนตรี สั่งตรงหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำเนินการ 6 เรื่อง ด้วยกัน

1.ให้มีการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ที่มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอแก่ประชาชนโดยอย่างน้อยให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร (ไม่น้อยกว่าจำนวนประชากรห้าสิบล้านคน)

2.ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประสานงาน ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในการดำเนินการขึ้นทะเบียนวัคซีนให้เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

3.ให้กรมควบคุมโรค องค์การเภสัชกรรม สถาบันวัคซีนแห่งชาติ สภากาชาดไทย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่และอำนาจในการให้บริการทางการแพทย์ หรือสาธารณสุข แก่ประชาชน ร่วมมือกันในการดำเนินการจัดหา สั่ง หรือนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วและทั่วถึง ภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนด

4.เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้มากขึ้น สถานพยาบาลเอกชนและภาคเอกชนอาจจัดหาหรือขอรับการสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

จากหน่วยงานตามข้อ 3 ภายใต้กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาให้บริการประชาชนหรือบุคลากรในความดูแลได้ตามความเหมาะสม โดยวัคซีนดังกล่าวต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยา และต้องพิจารณากำหนดราคาวัคซีนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

5. โดยที่ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ที่ผลิตหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ยังมีจำนวนจำกัด หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 มาให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้จัดหาจากหน่วยงานตามข้อ 3 และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักเกณฑ์หรือแผนการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 หรือนายกรัฐมนตรีกำหนด

การดำเนินการตามวรรคหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ ให้เป็นไปตามแนวทางหรืออยู่ในการกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการจัดหาวัคนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพด้านงบประมาณและรายได้ ที่แตกต่างกัน และเพื่อให้การกระจายวัคซีนในห้วงเวลาวิกฤติมีความเป็นธรรมมากที่สุด

นายกฯ ปฏิวัติ ‘อนุทิน’ สั่งตรงจัดการ 'วัคซีนโควิด' ปมร้อน การเมืองร้าว!

นายกฯ ปฏิวัติ ‘อนุทิน’ สั่งตรงจัดการ 'วัคซีนโควิด' ปมร้อน การเมืองร้าว!

และ 6.ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกภาคส่วนเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูล กับระบบแพลตฟอร์มหมอพร้อมของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของประชาชนที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 และเพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

เมื่อออกประกาศ เหล่านี้ ออกมาแล้ว ตามมาซึ่งคำถาม จะเป็น ปมร้อน การเมืองร้าว เพิ่มขึ้นไปอีกมากน้อยแค่ไหน

เพราะต้องอย่าลืม ตอนที่นายกฯ คุม พ.ร.บ.31 ฉบับ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ได้ออกมาตอบโต้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อยู่ พอสมควร

ก่อนหน้านี้ 27 เม.ย.2564 นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส. บัญชีรายชื่อ นายทะเบียนสมาชิกพรรคภูมิใจไทย(ภท.) ออกมาโพสต์เฟซบุ๊คระบุว่า การประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินและการตั้ง ศบค. ซึ่งการใช้อํานาจพิเศษเป็นสิ่งที่นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา ถนัดที่สุด จึงไม่แปลกที่มีการเลือกใช้อํานาจพิเศษในการจัดการกับ “โรคระบาด” ซึ่งโครงสร้างของ ศบค. ได้ตัดการมีส่วนร่วมของภาคการเมืองออกรวมถึงได้ ตัดคณะรัฐมนตรีออกจากการทํางานใน ศบค.

ดังนั้น ถึงวันนี้ ต้องจับตาท่าที นายอนุทิน ชาญวีรกูล และสมาชิกพรรค ภูมิใจไทย จะออกมาตอบโต้อย่างไร

เพราะนอกจากเรื่องนี้ แล้ว ครม.ยังอนุมัติงบ จาก พ.ร.บ.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท จำนวน 6,378.22 ล้านบาท ดึงมาจาก ในส่วนงบ 45,000 ล้านบาท ที่ สธ.ดูแล เพื่อหาซื้อวัคซีนทางเลือก 3 ยี่ห้อ อีก 35 ล้านโดส

นอกจากนั้น ยังมีปม ความขัดแย้ง อีกหลายโครงการ ที่ภูมิใจไทย ปะทะ กับ 3 ป.

สถานการณ์แบบนี้ บีบให้การเมือง ไม่ มีทางเลือกมาก

พรรคร่วมรัฐบาล อยู่กันยาก ...การปรับครม.ยุบสภา เกิดขึ้นได้ทุกเวลา

น่าระทึก!ในฤทัยยิ่งหนัก