เช็ค'ตาแดง' จากโควิด พบผู้ป่วยแสดง 'อาการทางตา' ถึง31%

เช็ค'ตาแดง' จากโควิด พบผู้ป่วยแสดง 'อาการทางตา' ถึง31%

รพ.เมตตาฯ เผย'ผู้ป่วยโควิด-19' แสดง 'อาการทางตา' อย่าง 'ตาแดง' ระบุสามารถพบแสดง'อาการทางตา'เพียงอย่างเดียวได้ ประมาณ 0.8 - 31%

นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส 'โควิด-19' ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ พบว่า 'ผู้ป่วยโควิด-19'  จะมี 'อาการทางตา' คือ 'ตาแดง' ร่วมด้วยพบเชื้อไวรัสนี้ในน้ำตาสารคัดหลั่งเยื่อบุตาแพร่กระจายจากคนสู่คนโดยได้รับสารคัดหลั่งเช่นน้ำตา น้ำมูก น้ำลายที่มีเชื้อโรคผ่านทางระบบทางเดินหายใจ

ดังนั้น อาการที่ต้องเฝ้าระวัง คือ ผื่น 'ตาแดง'น้ำมูกไหล และบางรายไม่มีไข้ได้ 'อาการทางตา' อย่าง 'ตาแดง'นั้นไม่เฉพาะเจาะจงกับการติดเชื้อโควิด สามารถพบได้ในการติดเชื้อไวรัสทั่วไปได้เช่นเดียวกัน เช่น มีอาการน้ำตาไหล มีขี้ตาใสๆ ลักษณะเป็นเมือกได้ โดยอาการนี้พื้นฐานมีความใกล้เคียงกับ โรคภาวะตาแห้ง อาการ'ตาแดง'จากการใส่ contact lens ภูมิแพ้ที่ตา ซึ่งอาจเป็นโรคประจำตัวของหลาย ๆ คน หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น แนะนำปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

  • 2สาเหตุหลักเกิด'อาการทางตา'จากโควิด

นพ.เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มว่า 'อาการทางตา' อย่าง 'ตาแดง' นั้นแยกเป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ 1. 'ตาแดง'ที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสที่พบบ่อยคือ Adenovirus หรือเชื้อแบคทีเรีย

2. โรคที่ไม่ติดเชื้อ เช่น 'ตาแดง'จากโรคภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งอาการ'ตาแดง'ที่พบในโควิด-19 นั้นเข้าข่ายตกอยู่ในกรณีแรกคือ จากการติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โดยอาการ'ตาแดง'จากโควิด-19 ไม่ใช่อาการใหม่ หากแต่พบมากขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ เกิดได้กับความรุนแรงของโรคตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงระดับรุนแรง

  • เช็ค 'อาการทางตา' หรือ 'ตาแดง'เสี่ยงติดเชื้อ

โดยพบว่าหากอาการของการติดเชื้อโควิดอยู่ในระดับรุนแรง จะพบอาการแสดงทางตาเยื่อบุตาอักเสบได้ และยังสามารถพบเชื้อโควิดได้ในน้ำตา สามารถติดต่อโรคทางน้ำตาได้ จึงควรระวังการสัมผัสที่ตา ขยี้ตา อาจนำเชื้อเข้าสู่เยื่อบุตา และแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ดังนั้นหากมีอาการตาแดง อย่าเพิ่งตื่นตระหนกว่าติดเชื้อโควิด เพราะเยื่อบุตาอักเสบจากโควิดพบน้อยกว่าเยื่อบุตาอักเสบจากสาเหตุอื่นๆมาก และมักจะมีอาการทางกายอื่นๆที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิดร่วมด้วย

พญ.วธูกานต์ รุ่งภูวภัทร จักษุแพทย์ด้านกระจกตา และแก้ไขสายตาผิดปกติ กล่าวเสริมว่า จากอาการ'ตาแดง'ที่เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆที่ทำให้มีตาแดงนอกเหนือจากการติดเชื้อโควิดได้ ได้แก่ กระจกตาอักเสบเป็นแผล กระจกตาติดเชื้อ ม่านตาอักเสบ ต้อหินเฉียบพลันเป็นต้น ซึ่งต้องวินิจฉัยแยกโรคกับการติดเชื้อกระจกตาจากสาเหตุอื่นๆ

162330922363

ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ในผู้ที่ใส่ contact lens ควรงดการใช้ไปก่อนเนื่องจากมีการสัมผัส อาจมีโอกาสติดเชื้อได้ แนะให้ใช้แว่นสายตาแทนเพื่อความปลอดภัยจากเชื้อไวรัส ทั้งยังสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ จากเชื้อไวรัสโควิด(COVID-19) ที่กำลังระบาดในระยะนี้

หากไม่จำเป็นควรงดการเดินทางมาที่โรงพยาบาล และเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นการป้องกันการติดต่อและการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 หาก'อาการทางตา'ไม่เร่งด่วน และมีอาการทางกายอื่นๆ เช่น อาการทางระบบทางเดินหายใจให้ประเมินความเสี่ยงว่าต้องไปตรวจคลินิกที่ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจก่อนหรือไม่

แต่ยังมี'อาการทางตา'ด่วนที่ควรจะต้องน่ามาโรงพยาบาล เช่น อุบัติเหตุทางตาที่ก่อให้เกิดอาการระคายตาเคืองตา ตามัว เลือดออก สารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา กระแทกตาหรืออุบัติเหตุที่ใบหน้าเปลือกตาที่อาจส่งผลต่อดวงตาเป็นต้น หรืออาการปวดตามากซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น การติดเชื้อที่กระจกตา เยื่อบุตาเบ้าตา ถุงน้ำตา ม่านตาอักเสบ ต้อหินฉับพลัน

  • เน้นการรักษาใช้ยาตามจักษุแพทย์สั่ง

อาการเห็นจุดลอยใหม่หรือไฟแฟลชในตาอาจเป็นได้จากภาวะน้ำวุ้นลูกตาเสื่อมซึ่งมีการดึงรั้งจอประสาทตาอาจก่อให้เกิดจอประสาทตาฉีกขาดหลุดลอกหรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา อาการการมองเห็นลดลงฉับพลัน อาการต้อหินฉับพลัน อาการจอประสาทตาฉีกขาด หลุดลอก อาการเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตาหรือจุดรับภาพ อาการเส้นเลือดที่จอประสาทตาอุดตัน เส้นประสาทตาอักเสบเป็นต้น

ขอเน้นในเรื่องการรักษาที่ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามจักษุแพทย์สั่ง และห้ามขาดยาหรือขาดรักษาต้องมาตามนัด ตามระยะ และอยู่ในความดูแลของจักษุแพทย์ คือโรคที่ห้ามขาดยาเช่น ต้อหินที่ต้องรับยาหยอดตาต่อเนื่องหรือโรคจอประสาทตาที่ต้องฉีดยาเข้าน้ำวุ้นลูกตาต่อเนื่องภาวะนี้อาจไม่ด่วนแต่ควรต้องติดต่อโรงพยาบาลที่เคยรับการรักษาอยู่ถึงความจำเป็นในการต้องไปตรวจตามนัดในกรณีฉีดยาเข้าน้ำวุ้นตาต่อเนื่อง หรือสามารถซื้อยาเองหรือรับยาทางไปรษณีย์ได้หรือไม่ขึ้นกับสภาวะความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยอย่างไรก็ดี

หากมีอาการ 'ตาแดง' หรือสงสัยว่ามี'ตาแดง'จาก โควิด-19 เช่น พบอาการ'ตาแดง'ร่วมกับอาการทางทางเดินหายใจ มีไข้หรืออาจไม่มีไข้ ผื่นแดง แนะนำให้ไปรักษาโควิด-19 เป็นอย่างแรก เนื่องจาก 'อาการทางตา'พบได้น้อยกว่าอาการทางระบบทางเดินหายใจ อาการไม่รุนแรงสามารถหายเอง หากได้รับการดูแลรักษาความสะอาดดวงตาอย่างถูกวิธี

ถ้า'อาการทางตา'เร่งด่วน แต่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดสูงมาก ควรให้ไปที่หน่วยแยกโรคของโรงพยาบาลตามระบบขั้นตอนการรักษา ในส่วนผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ ไม่แนะนำให้คนที่มีอาการตาแดง ลงสระว่ายน้ำ ในช่วงนี้ เพราะหากติดเชื้อโควิดอาจแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ และอาจรับเชื้อจากผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน

ส่วนวิธีการป้องกัน'ตาแดง'นั้น แม้อาการ'ตาแดง'จากโควิด-19 จะรักษาตามอาการ และโดยทั่วไปมักหายเองได้ หากการป้องกันการเกิดย่อมดีกว่า โดยแนะนำวิธีป้องกันการเกิดต'ตาแดง'ไว้ คือ หมั่นล้างมือสม่ำเสมอ ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง พยายามไม่ใช้มือสัมผัสบริเวณตา หรือขยี้ตา เพราะอาจจะเป็นสาเหตุที่นำเชื้อเข้าไปสู่ดวงตาได้