อัพเดท! รัฐบาลประกาศเทงบ 7,500 ล้าน จ่ายเงินเยียวยา 4 กิจกรรม กว่า 6.97 แสนคน
เช็คด่วนอัพเดท! รัฐบาลประกาศจ่ายเงินเยียวยา 7,500 ล้านบาท "นายจ้าง-ลูกจ้าง" ทั้งในและนอกระบบ "ประกันสังคม" รวม 4 กิจกรรม กว่า 6.97 แสนคน
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงข่าว ระบุ ที่ประชุมที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบ เยียวยา ประชาชน 6 จังหวัด ในกลุ่มก่อสร้าง , สถานบริการ , ร้านอาหาร , กลุ่มศิลปะ บันเทิงและสันทนาการ ซึ่งได้ลงทะเบียน กระทรวงการคลัง ราว 697,315 คน เตรียมงบ 7,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากอยู่ในระบบประกันสังคม รัฐจะจ่ายให้ 50% ของค่าแรง แต่ไม่เกิน 7,500 บาท อย่างไรก็ตามหากมีคุณสมบัติ สัญชาติ คนไทย จะเพิ่มอีก 2,000 บาท หากรายใด ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ไปลงทะเบียนแอพพลิเคชั่น "ถุงเงิน"
ล่าสุด เลขาฯสภาพัฒน์ ชี้แจงรายละเอียดมาตรการเยียวยา ผู้ประกอบการ และลูกจ้าง ทั้งในระบบและนอกระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบคำสั่งปิดแคมป์คนงาน ห้ามกินข้าวในร้านอาหาร
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวถึงมาตรการพิเศษที่ออกมาในช่วง 1 เดือนหลังมีคำสั่งฉบับที่ 25 ปิดและควบคุมกิจการบางประเภท จะพุ่งเป้าไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี ส่วน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ สงขลา จะยังใช้เงื่อนไขตามประกาศฉบับที่ 24 อยู่
อัพเดท(29 มิ.ย.) : ครม.ไฟเขียว 8.5 พันล้านบาท เยียวยาก่อสร้าง-ร้านอาหาร พื้นที่ 6 จังหวัด
สำหรับ "ธุรกิจก่อสร้าง" และ "ร้านอาหาร" ที่ได้รับผลกระทบ กระทรวงแรงงานจะเยียวยาผู้ที่ได้รับกระทบในระบบประสังคม จ่ายชดเชยในเหตุสุดวิสัยให้กับ "ลูกจ้าง" จ่ายเงิน 50 % ของฐานเงินเดือนหรือไม่สูดสุงเกิน 7,500 บาท และเงินเพิ่มเติมให้กับลูกจ้างในระบบประสังคมอีก 2,000 บาทต่อราย จากสาเหตุเมื่อลูกจ้างได้รับผลกระทบจากการลดเงินเดือนหรือไม่ได้รับเงินเดือน
สำหรับ "ผู้ประกอบการ" หรือ "นายจ้าง" จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวของลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน ระยะเวลา 1 เดือน
ส่วนการจ่ายเงินช่วยเหลือ ผู้ประกอบการและลูกจ้างที่อยู่ "นอกระบบประกันสังคม" แบ่งรายละเอียดดังนี้
- ผู้ประกอบการ/โรงงาน ที่ "ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคม" และต้องการความช่วยเหลือ ขอให้ไปขึ้นทะเบียนเข้าในระบบประกันสังคม ซึ่งในช่วง 1 เดือนจากนี้ ทางกระทรวงแรงงานจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่อยู่ในระบบให้เข้าระบบได้สะดวก ซึ่งเมื่อเข้าระบบแล้ว นายจ้างจะได้รับเยียวยา 3,000 บาทต่อหัวของลูกจ้าง (ไม่เกิน 200 คน) และลูกจ้างที่มีสัญชาติไทยก็จะได้รับเงินเยียวยาคนละ 2,000 บาท เช่นกัน
แต่ในส่วนที่เป็นเงินช่วยเหลือ 50% ซึ่งเป็นเงินที่ให้จากเหตุสุดวิสัยนั้น ลูกจ้างในกลุ่มนี้จะไม่ได้รับสิทธิ เนื่องจากในทางกฎหมายของประกันสังคมกำหนดเอาไว้ว่า จะต้องจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะได้เงินในส่วน 50% ตรงนี้
- ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการในหมวด "ร้านอาหารและเครื่องดื่ม" ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้เพราะไม่มีลูกจ้าง ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนเข้าสู่แอพพลิเคชั่น “ถุงเงิน” ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” ได้ภายใน 1 เดือนนี้ และคงต้องขอความร่วมมือจากทางกระทรวงมหาดไทยให้ลงไปช่วยตรวจสอบ ซึ่งในส่วนนี้ ที่ผู้ประกอบการจะต้องเข้าไปอยู่ในระบบถุงเงิน ที่เป็นผู้ประกอบการนอกระบบประกันสังคม ก็จะต้องเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งก็จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทเช่นกัน
โดยรวมแล้ว วงเงินเยียวยาที่ทางรัฐบาลเตรียมไว้สำหรับผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคุมโควิดรอบนี้ อยู่ภายใต้กรอบวงเงินรวม 7,500 ล้านบาท แบ่งเป็นที่รัฐบาลจัดเตรียวไว้ 4,000 ล้านบาท และในส่วนประกันสังคมก็ใช้วงเงินประมาณ 3,500 ล้านบาท
นอกจานี้ที่ประชุม ศบศ. ยังขอความร่วมมือกผู้ประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้าง และขอความร่วมมือไปภัตตาคารและร้านอาหาร ให้ใช้บริการร้านอาหารรายย่อยสั่งอาหารมาดูแลแคมป์คนงานต่างๆ และในระยะถัดไปจะมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่ม SME ที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
พร้อมกันนี้ เลขาสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยืนยันว่า ไม่เลื่อนโครงการคนละครึ่งเฟส 3 เพราะสถานการณ์นี้จะเป็นการกระตุ้นการบริโภคจึงต้องดำเนินการตามกำหนด