'หมอนิธิ' แนะ 5 แผนกลยุทธ์ใหม่สู้โควิด-19

'หมอนิธิ' แนะ 5 แผนกลยุทธ์ใหม่สู้โควิด-19

เลขาฯ "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" แนะ 5 แผนกลยุทธ์ใหม่รับสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ชี้สำคัญที่สุด บริหารทรัพยากรคือเตียง และไอซียู กับบุคลากรให้เพียงพอ

เมื่อวันที่ 4 ก.ค.64 Nithi Mahanonda โดยระบุว่า 

ความจริงไม่ค่อยได้คุยเรื่องนี้มานานเพราะเห็นใจน้องๆในกระทรวงสาธารณสุขที่ทำงานกันตัวเป็นน็อตหัวเป็นเกลียวอยู่แล้วประกอบกับ ไม่อยากสร้างความสับสนให้กับสังคมอีก แต่ผมคิดว่าขณะนี้สถานการณ์การระบาดในบ้านเราโดยเฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล ขณะนี้มันระบาดไปมากไปไกลแล้ว คนเดินไปเดินมาเราไม่รู้แล้วว่าใครเป็นใคร ใครมีเชื้อในตัวบ้างเป็นจำนวนมาก

เราสมควรจัดลำดับความสำคัญ( priority )ของแผนกลยุทธ์ใหม่ครับ………กลยุทธ์ ตอนนี้ความสำคัญลำดับแรกไม่ใช่การป้องกันคนติดเชื้อหรือคนแพร่เชื้อเหมือนก่อนหน้านี้ (ตอนที่เรามีการระบาดน้อย) แต่ความสำคัญที่สุดที่ต้องทำกลับต้องเป็นเรื่องการบริหารทรัพยากรคือเตียง และ icu (ที่ไม่ใช่สักแต่ว่าเพิ่ม…..ปลายเปิดไม่จำกัด) กับบุคลากรให้เพียงพอโดย 

  1. คนที่สงสัยว่าได้สัมผัสหรือรับเชื้อ และอยากตรวจต้องได้ตรวจและด้วยปริมาณการตรวจที่อาจมีจำกัดเราควรลดการตรวจเชิงรุก(proactive case finding) ลงเพื่อให้การตรวจมีเพียงพอในคนที่สงสัยและมีอาการ เคสที่ไม่จำเป็น(ไม่มีอาการ ป้องกันตัวเองได้และสามารถถึงแพทย์ได้เร็ว)ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลให้เปลืองเตียงเปลืองบุคลากร……ติดตามเฝ้าระวังกันที่บ้านได้ ที่รพจุฬาภรณ์ทำมาแต่แรกของการระบาด คัดกรองให้ดี ทำได้ไม่มีปัญหาครับ
  2. เรื่องที่ 1.ต้องทำพร้อมๆกับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ว่าเมื่อไหร่ถึงไปโรงพยาบาลและการป้องกันตัวเองและครอบครัวทำอย่างไร ย้ำกันอีกบ่อยๆ ไม่ต้องเบื่อว่าเคยพูดแล้ว ……คนไทยพร้อมฟังและสอนง่าย
  3. คิดใหม่นอกกรอบบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คิดใหม่ทำใหม่เรื่องการให้ยาให้เร็วป้องกันไม่ให้คนมีอาการหนัก เพราะทรัพยากรตรงนั้นจำกัด ถ้าจะให้คิดแบบฉลาดไม่ใช่รอให้ปอดอักเสบแล้วค่อยให้ยาต้านไวรัส…..ถ้าจะไม่เห่อตามฝรั่งคืออาจต้องกล้าคิดและทำวิจัยไปให้สุดขั้ว(ไม่ใช่แค่ให้ยาต้านไวรัสเร็วขึ้นทุกคนในคนที่ตรวจพบผลบวก)ต้องให้ยาป้องกัน (prophylactic) แบบ ไข้หวัดใหญ่(influenza)คนที่คนในครอบครัวคนใกล้ชิดตรวจพบมีผลบวกคนหนึ่งให้ยาเลย และอย่ามาบอกว่าไม่มีข้อมูล……ถ้าไม่หา ถ้าไม่ดูมันก็ไม่มี แน่นอน Absence of evidence doesn’t mean the evidence is absent ครับ
  4. น้องๆหมอ อาจจะต้องปรับตัวกันในการทำงานข้ามความเฉพาะทางกันเพราะยามสงครามยามไม่ปกติความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามมาตรฐานฝรั่งใช้ไม่ได้ในสนามรบ คนข้างนอกทั่วไปเขามองเราเป็น หมอเป็นฮีโร่ ครับ ไม่ใช่หมอตา หมอหัวใจ หมอพยาธิ หรือหมออื่นๆที่จะดูคนไข้โควิดไม่ได้และเขามองเราเป็น หมอ” ที่รักษาโควิดได้ดูแลคนไข้หนักในไอซียูได้ เราอาจต้องลดกำแพงความเฉพาะทางลง ไปช่วยเพื่อนๆร่วมวิชาชีพเรากัน พยาบาล เภสัช วิชาชีพอื่นๆก็เช่นกันครับ ยามศึกทหารราบ ทหารม้า ทหารเรือ ตำรวจ อาสาประชาชนจับปืนสู้โควิดได้ทุกคน
  5. มาตรฐานโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีไว้ตรวจกันตามฝรั่งในเวลาปกติก็เช่นกัน บางอย่างที่เคร่งครัดว่าทำไม่ได้ให้คิดเหตุผลกันใหม่แล้วปรับเพื่อคนไข้ได้ครับ

"สุดท้ายไหนๆถ้าไม่พูดเรื่องวัคซีนเลยเดี๋ยวจะตกเทรนด์ วัคซีน ไม่มีอะไรมากครับ รีบๆฉีดเข้าตัว 1)อย่ารอเลือก 2)คนได้ครบแล้วอย่างกรีบแย่งเข็มสามเห็นใจคนที่ยังไม่ได้บ้าง ใครอยากได้มาอยู่ในโครงการวิจัยกันครับ 3)ตัวเลขไม่ใช่สาระสำคัญครับคนทั่วไปที่แยกไม่ได้ถึง นัยสำคัญทางสถิตินัยสำคัญทางคลินิกและนัยสำคัญทางสังคมท่านจะแปลผลผิดๆพลาดๆครับ 4)ตัวเลขระดับภูมิคุ้มกันก็เช่นกันครับข้อมูล ณ เวลานี้ ไม่ต้องไปรู้หรืออยากรู้กันเพราะสูงต่ำมีความหมายเท่าไหร่อย่างไร ยังไม่ชัด การที่ว่าระดับต่ำป้องกันไม่ได้ สูงป้องกันได้นั้น ดูจะเหมือน ยุคดิจิตอล ขาวดำ 0/1 ไปหน่อย การป้องกันการติด การมีอาการ จากโรคนั้นมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่ทำให้มีหลายโทนของเทาๆครับ……อย่าไปรีบตื่นเต้นเกินเหตุ"

นิธิ มหานนท์

เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

4 กรกฎาคม 2564 1420