'กูรูไต้หวัน' วิพากษ์กลยุทธ์วัคซีนโควิดไทย

'กูรูไต้หวัน' วิพากษ์กลยุทธ์วัคซีนโควิดไทย

กูรูไต้หวันวิพากษ์กลยุทธ์วัคซีนโควิดไทยว่า เป็นแผนการที่ดีเพื่อตอบสนองความต้องการวัคซีนภายในประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของวัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิต แต่ในภาคปฏิบัติ ยังคงต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

นับถอยหลัง 98 วันตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศเปิดประเทศ ทำให้ต้องเร่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อยเข็มแรกให้บประชาชน50 ล้านคนทั่วประเทศ ภายในสิ้นปี 2564

แต่กลยุทธ์ด้านวัคซีนที่รัฐบาลไทยนำมาใช้รับมือสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร “ชิต ลี” หรือเต๋อ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารบริษัทวีทีกรุ๊ป (VISION THAI) ในฐานะที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์และการตลาดต่างประเทศ (ประเทศไทย) ของสถาบันเพื่ออุตสาหกรรมสารสนเทศแห่งไต้หวัน (ไอไอไอ) กล่าวถึงกลยุทธ์วัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลไทยว่า เป็นแผนการที่ดีเพื่อตอบสนองความต้องการวัคซีนภายในประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของวัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิต

การที่บริษัทยายักษ์ใหญ่ในสหราชอาณาจักรและสวีเดนถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนให้กับโรงงานไทย ช่วยยกระดับคุณภาพและกำลังการผลิตของไทย ทั้งยังมีการตรวจสอบคุณภาพโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) และจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ โดยรวมแล้วจึงถือว่าเป็นรูปแบบการแบ่งงานที่ค่อนข้างดี

“แต่ในภาคปฏิบัติ ยังคงต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เช่นเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา วัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิตมีการส่งมอบเพียง 3 ล้านกว่าโดสเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ บริษัทแอสตราเซนเนก้าและบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ คงจะต้องเร่งหาวิธีรับมือให้จนได้” เต๋อกล่าว

162575215790

แผนการฉีด-ความคืบหน้าของวัคซีนโควิด-19

แผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยรวมของไทยสามารถแบ่งออกเป็นการผลิตในประเทศ และการจัดซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของการผลิตในประเทศ แบ่งออกเป็นรับจ้างผลิต (OEM) และวิจัยและพัฒนาเอง สำหรับวัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิตเป็นหลักในปี 2564 คือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้ากับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ เริ่มผลิตเดือน มิ.ย. โดยจะผลิต 60 ล้านโดส คิดเป็น 40% ของความต้องการวัคซีนภายในประเทศ ส่วน 60% หรือประมาณ 90 ล้านโดสที่เหลือเป็นการจัดซื้อจากต่างประเทศ

ปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการอนุมัติแล้วในประเทศไทยมีทั้งหมด 6 บริษัท ได้แก่แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวคจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โมเดอร์นา ซิโนฟาร์ม และวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์

เป้าหมายการจัดซื้อวัคซีนของไทยในปีนี้คือ 100 ล้านโดส วัคซีนที่รัฐจัดหาให้ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นวัคซีนจาก5บริษัทได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค, จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน, สปุตนิก วี และไฟเซอร์

ปัจจุบันคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแวคแล้วประมาณ 10 ล้านโดสคิดเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในสัดส่วน 10% และวัคซีนซิโนแวค 90%

162575235476

วัคซีนทางเลือก

วัคซีนทางเลือกเป็นวัคซีนของ 2 บริษัทคือ วัคซีนโมเดอร์นา ที่สมาคมโรงพยาบาลเอกชนจะจัดซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ปริมาณรวม 10 ล้านโดส ซึ่งจะทยอยเข้ามาล็อตแรก 4 ล้านโดสในช่วงเดือนต.ค. วัคซีนของอีกบริษัทคือ วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่ซื้อตรงจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ช่วงแรกรัฐบาลไทยไม่ทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อวัคซีนนี้ ทำให้เกิดความสับสนอยู่บ้าง

ข้อมูลที่เปิดเผยโดยรัฐบาลบ่งชี้ว่า ประเทศไทยได้เจรจาจัดหาวัคซีนไว้แล้ว 105.5 ล้านโดส และจะจัดหาเพิ่มเติมให้ครบ 150 ล้านโดส ภายในปี 2565

162575251575

วัคซีนที่ผลิตในไทย:รับจ้างผลิตและพัฒนาเอง

วัคซีนที่ไทยรับจ้างผลิต (OEM)

วัคซีนที่ผลิตในไทยแบ่งเป็น “รับจ้างผลิต (OEM)” กับ “วิจัยและพัฒนาเอง” ซึ่งในส่วนของการรับจ้างผลิตนั้นได้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลัก รับผิดชอบผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ และหนึ่งในนักลงทุนผู้อยู่เบื้องหลังบริษัทนี้คือ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จึงทำให้เกิดข้อสงสัยบางประการ

อย่างไรก็ตาม วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ไทยรับจ้างผลิต ตั้งเป้าผลิตที่ 200 ล้านโดส โดย 60 ล้านโดสจะใช้ในประเทศไทย ส่วนที่เหลือจะส่งออกไปต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ลาว และไต้หวัน

วัคซีนที่ไทยวิจัยและพัฒนาเอง

วัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดยคนไทยมี 2 ตัว ได้แก่ ChulaCov19 ของจุฬาฯ และNDV-HXP-S ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ซึ่งมีชื่อเต็มว่า NDV-HXP-S Newcastle disease virus, HexaPro, and spike protein)

วัคซีนChulaCov19ของจุฬาฯ

วัคซีน ChulaCov19 ของจุฬาฯเป็นวัคซีนชนิด mRNA เป็นชนิดเดียวกับ “ไฟเซอร์” และ “โมเดอร์นา” หนึ่งในวัคซีน 4 ตัวหลักที่ปัจจุบันได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรป(อียู)วัคซีนตัวนี้พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ชาวไทย และได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือศาสตราจารย์ดรูว์ ไวสส์แมน (Drew Weissman)ผู้บุกเบิกเทคโนโลยี mRNA จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ซึ่งวัคซีนไซเฟอร์และโมเดอร์นาที่ใช้อยู่ตอนนี้ ก็ใช้เทคโนโลยีของศาสตราจารย์ไวสส์แมนเช่นกัน

NDV-HXP-S ของมหาวิทยาลัยมหิดล

วัคซีนโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยมหิดลค่อนข้างจะเหมือนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ศาสตราจารย์เจสัน แมคแอลเลน (Jason McLellan) จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เป็นผู้นำในการพัฒนาวัคซีนชนิดนี้ขึ้น โดยเป็นความร่วมมือระหว่างบราซิล เม็กซิโก เวียดนาม และไทย

หากดูจากชื่อวัคซีน “Newcastle disease” มาจากวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลซึ่งเป็นโรคติดต่อในสัตว์ปีก วัคซีนชนิดนี้ต่างจากวัคซีน mRNA ของจุฬาฯ คือเป็นวัคชีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ ชนิดเดียวกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ได้รับการอนุมัติในไทย

ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์และการตลาดต่างประเทศ (ประเทศไทย) ของสถาบันไอไอไอ ตั้งคำถามว่าประเทศไทยรับจ้างผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว แต่ทำไมยังผลิตวัคซีนชนิดเดียวกันออกมาอีกนั่นก็เพราะวัคซีนตัวนี้มีความพิเศษตรงที่ผลิตจากวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ

ที่ปรึกษาสำนักงานเศรษฐกิจไต้หวัน ยังชี้ด้วยว่า ศาสตราจารย์เจสัน แมคแอลเลน เผยแพร่เทคโนโลยีของวัคซีนนี้เป็นสาธารณะโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้ประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางสามารถผลิตวัคซีนในราคาที่ถูกและมีประสิทธิภาพ และในอนาคตอาจมีการฉีดวัคซีนบ่อยครั้งขึ้น ซึ่งถ้าหากวัตถุดิบในการผลิตวัคซีนสามารถหาได้ง่าย ก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตวัคซีนได้

อย่างไรก็ตาม เต๋อยังได้สรุปวัคซีนโควิดในไทย ฉบับคนขี้เกียจ ครบจบม้วนเดียว เพียงแค่สแกนด์คิวอาร์โคด ดังนี้

162607592357