JTS หุ้นเล็ก “ปมใหญ่” ลากราคาหุ้น 20 เด้ง
ความร้อนแรงของหุ้นขนาดเล็กบริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JTS ภายใต้บริษัทแม่ บมจ. จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า สร้างความสนใจให้กับนักลงทุน
จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นหวือหวาและรวดเร็ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ กลุ่มจัสมิน จนไปสู่ธุรกิจนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตามที่มีกระแสข่าวออกมาหรือไม่
เมื่อข่าวยังไม่เป็นที่ปรากฎชัดเจน หรือประกาศอย่างเป็นทางการ ย่อมทำให้เกิดความไม่แน่นอนจนสร้างความคาดหวังต่อราคาหุ้นที่กำลังซื้อ-ขาย ส่งผลทำให้ราคาหุ้น JTS กลายเป็นหุ้น 20 เด้ง ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา
โดยราคาหุ้นต้นปีเปิดทำการซื้อขายอยู่ที่ 1.89 บาท (4 ม.ค.64) ซึ่งราคาเริ่มขยับขึ้นไป 2.25 บาทเดือนก.พ. จนในเดือนเม.ย. ราคาปรับตัวอย่างรวดเร็วอยู่ที่ระดับ 14 บาทถือว่าเป็นหุ้นร้อนแรงปรับเพิ่มขึ้น 640 %
ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนมิ.ย. จนทำราคาออลไทม์ไฮเกือบ 40 บาท กลายเป็นหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 2,000 % หรือหุ้น 20 เด้งไปทันที ซึ่งวานนี้ (20 ก.ค.) ราคาหุ้นสามารถขึ้นไปแตะที่สูงสุด 67 บาท ก่อนจะที่ปรับตัวลดลงมาปิดที่ 54.25 บาท
ระหว่างที่ราคาปรับตัวขึ้นร้อนแรง ตลาดหลักทรัพย์ฯดำเนินมาตรการควบคุมความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น JTS แทบจะเดือนชนเดือน ด้วยใช้มาตรการบังคับซื้อขายเงินสด (Cash Balance) ทั้งหมดถึง 5 ครั้งในช่วง 6 เดือน
ตั้งแต่ 23 มี.ค.-12 เม.ย. หลังจากนั้นขยายระยะเวลามาตรการต่อเป็น 16 เม.ย. – 30 เม.ย. ต่อด้วยขยายเวลาเช่นเดิม 5 พ.ค. – 21 พ.ค. จาหนั้นจึงมีการเข้า Cash Balance อีกครั้ง 13 ก.ค. -2 ส.ค. จนล่าสุดขยับมาตรการเป็นระดับ 2 คือ เพิ่มห้ามคำนวณวงเงินซื้อระหว่าง 20 ก.ค. -9 ส.ค. แต่มาตการดังกล่าวกลับไม่ได้มีผลต่อราคาหุ้นเลยแม้แต่น้อย
ด้วยข่าวอย่างเป็นทางการที่ยังไม่ชัดเจนมีการรายงานจากบริษัทซึ่งปรากฎในรายงานประจำปี 2563 ระบุแผนต่อยอดทางกลยุุทธ์ Hyperscale Data Center ด้วยการลงนามวันที่ 23 ก.ย. 2563 ในสัญญา “Strategic Collaboration Agreement” กับ KT Corporation (KT) พันธมิตรจากประเทศเกาหลีใต้ เพื่่อดำเนินธุุรกิจ Hyperscale Data Center และ Cloud Service จะเป็นการเพิ่มมููลค่าทางธุุรกิจให้แก่กลุ่ม JAS
โดย KT จะทำหน้าที่่เป็นพันธมิตรทางด้านกลยุุทธ์ การพัฒนาธุุรกิจ การร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลก รวมถึงการนำเทคโนโลยีทางด้าน Data Center และ โซลููชั่่น ต่างๆเกี่่ยวข้องมาพัฒนาร่วมกับบริษัท พร้อมให้ข้อมูลว่าพันธมิตรดังกล่าว ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมอันดับหนึ่่งในประเทศเกาหลีใต้ และมีความเชี่ยวชาญด้าน Internet Data Center (IDC) ในประเทศเกาหลีใต้มากว่า 10 ปี
จนวันที่ 13 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมามีการเปิดเผยดังกล่าวอีกครั้งหลัง ตลาดหลักทรัพย์มีการสอบถามพัฒนาการธุรกิจที่มีผลต่อราคาหุ้น ซึ่ง JTS ชี้แจงในประเด็นเดิมและเพิ่มความสนใจในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาเป็นเรื่องใหม่ เป็นที่มาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงลบข้อมูลดังกล่าวออกไปในวันเดียวกัน
ข่าวดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจในแง่ความเป็นไปได้ในโครงสร้างผู้ถือหุ้น การเกิดธุรกิจใหม่จนมีผลต่อผลการดำเนินงานในอนาคต จากปัจจุบัน JTS ดำเนินธุรกิจ จัดหา ออกแบบ วางระบบสื่่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบ วงจร (System Integration Business) อยู่แล้ว
และมีรายการเกี่ยวโยงในการเข้าทำการซื้อหุ้นบริษัทในกลุ่ม บริษัท จัสเทล เน็ทเวิลด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจ ให้บริการเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่าง จาก บริษัท จัสมิน ซับมารีน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด 99.99 % มูลค่า 1,201 ล้านบาท ที่ราคาหุ้นละ 231 บาท ซึ่งทั้ง 2 บริษัท JAS ถือ 100 % สามารถรับรู้ตัวเลขทางบัญชีการซื้อขายไปด้วย
ที่สำคัญประเด็นดังกล่าวในมุมมองของผู้สอบบัญชีคิดเห็นว่าเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับธุรกิจคลาวด์พิวติ้ง และดาต้าเซ็นเตอร์
สุดท้ายดีลดังกล่าวอาจได้เห็นพัฒนาการตามที่มีการระบุไว้ หรือไม่เกิดขึ้นเลยย่อมได้ เนื่องจากข้อตกลงพันธมิตรยังไม่มีรายละเอียดออกมา แต่ผู้ที่ได้ประโยชน์อันดับแรกไม่พ้น JAS และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับราคาหุ้น 2 บริษัทในตลาดได้ท่ามกลางข่าวที่ยังไม่ชัดเจน