สธ.เฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ C.1.2

สธ.เฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ C.1.2

  สธ.เผยเข้มเฝ้าระวังผู้เดินทางจากประเทศเจอโควิดพันธุ์ C.1.2 ร่วมเฝ้าระวังในประเทศ

    เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่  31 ส.ค.2564 ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.เฉวตสรร นามวาท ผอ.กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า รายงานการฉีดวัคซีนโควิด19 วันที่  30 ส.ค. 2564 ฉีดเพิ่ม 817,342 โดส สะสม 31,771,819 โดส เป็นเข็ม 1 จำนวน  23,401,465 ราย ครอบคลุม 32.5 % เข็มที่ 2 จำนวน 7,780,973 ราย  ครอบคลุม 10.8%และเข็มที่ 3 จำนวน 589,381 ราย   

    ต่อกรณีการพบโควิดสายพันธุ์ C.1.2 นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ธรรมชาติของเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์และทุกประเทศมีการเฝ้าระวังอย่างดี ของประเทศไทยยังไม่พบสายพันธุ์นี้ ซึ่งในระบบเฝ้าระวังมีการตรวจดูพันธุกรรมของสายพันธุ์ประมาณ 500 ตัวอย่างต่อสัปดาห์ เมื่อทราบแหล่งที่มาพบสายพันธุ์ในประเทศใด มีการสุ่มตรวจจากผู้ที่เดินทางมาจากประเทศนั้นและตรวจหาเชื้อสายพันธุ์ที่แปลกแตกต่างจากเดิมหรือไม่ ร่วมกับสุ่มตรวจทั่วประเทศ  โดยขณะนี้ประเทศไทยสายพันธุ์หลักยังเป็นเดลตาอยู่ 92% ส่วนความรุนแรงของตัวเชื้อ C.1.2 เร็วเกินไปที่จะให้ข้อสังเกตว่ามีการแพร่ระบาดเร็วขึ้นหรือทำให้ความรุนแรง ดื้อต่อการรักษาหรือวัคซีนหรือไม่ เป็นที่จับตามองและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิทยาศาสตร์และระบบสาธารณสุขประเทศต่างๆ

         

      

 

กรณีการผ่อนปรนกิจการ กิจกรรมวันที่ 1 ก.ย.2564   นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า พื้นฐานสำคัญคือมาตรการส่วนบบุคล  โดยการปรับมาตรกาในวันที่ 1 ก.ย. เปิดกิจการ กิจกรรมให้ทำได้มากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา แต่ไม่เปลี่ยนสีของพื้นที่ ยังมี 29 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 37 จังหวัด  พื้นที่ควบคุม 11 จังหวัด เป็นการเปิดภายใต้มาตรการควบคุมโรคแนวใหม่ที่ยังคงความเข้มข้น พลิกมุมมองว่าโควิดไม่หายจากชีวิต และโลกในเร็ววัน แม้ฉีดวัคซีนมากแล้ว แต่การแพร่ระบาดยังเพิ่มมากขึ้น และแต่การจะรอให้โควิดหมดแล้วค่อยเปิดกิจการเป็นผลกระทบที่สูงมาก และประเทศต่างๆดำเนินการคล้ายกันนี้ การปรับกลยุทธ์ต่างๆ จึงเกิดขึ้น

        ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  โดย 1.ภาครัฐ เร่งรัดกำหนดมาตรการรองรับที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้การปรับมาตรการในครั้งนี้ไม่ทำให้สถานการณ์แพร่เชื้อเพิ่มมากขึ้น  รวมทั้ง การกำกับดูแลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย  2.ภาคเอกชน สถานประกอบการ ผู้จัดกิจกรรม รับผิดชอบ ทำCOVID Free Setting ทั้งสภาพแวดล้อม ผู้ประกอบการ ผู้จัดกิจกรรม พนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ ลุกค้า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และ3.ประชาชน ขอความร่วมมือให้ตระหนักมาตรการการป้องกันตัวเองรอบจักรวาล

   “ในเดือนก.ย.เป็นช่วงที่จะสามารถเปิดได้ โดยที่ใช้มาตรการส่วนบุบคลที่เข้มข้น ทำให้เกิดความปลอดภัย  เรื่องของวัคซีนถ้ายังไม่ทั่วถึง หรือยังไม่ได้ตรวจATKยังเปิดได้ เพราะยังเป็นการขอความร่วมมือ องค์กรต่างๆและจะมีเรื่องมาตรฐานแนวทางกำหนดออกมาอีกครั้ง ถ้าแนวทางชัดเจน ในเดือนถัดไป จะนำใช้ในร้านค้า ซึ่งแห่งใดมีมาตรฐานในเกณฑ์เป็นที่สนใจไปใช้บริการของประชาชน ส่วนที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบยังเปิดบริการได้ ประชาชนที่ต้องไปใช้บริการยังไม่ต้องแสดงบัต0รหรือวัคซีนยังไม่ต้องแสดง จะเป็นแนวทางประกาศต่อไปและมีแนวทางชัดเจน”นพ.เฉวตสรรกล่าว