เช็คที่นี่! ปภ.อัพเดต 30 ก.ย.จังหวัดไหนต้องเฝ้าระวังพื้นที่น้ำล้นตลิ่ง
เช็คเลยจังหวัดไหนบ้าง! ปภ.อัพเดตข้อมูลประจำวันที่ 30 ก.ย. 64 คาดการณ์-แจ้งเตือนภัย พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง-ฝนฟ้าคะนอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 30 ก.ย. 2564
โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ได้แก่
ภาคเหนือ จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง คีรีมาศ) กำแพงเพชร (อ.ขาณุวรลักษบุรี คลองขลุง) พิจิตร (อ.บึงนาราง โพธิ์ประทับช้าง โพทะเล สามง่าม) พิษณุโลก (อ.วังทอง บางระกำ พรหมพิราม) เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ วิเชียรบุรี หนองไผ่ ศรีเทพ บึงสามพัน น้ำหนาว) นครสวรรค์ (อ.ลาดยาว ท่าตะโก) และอุทัยธานี (อ.เมืองฯ ทัพทัน สว่างอารมณ์)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ จัตุรัส บ้านเขว้า ภูเขียว คอนสวรรค์) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน ชุมแพ หนองเรือ แวงน้อย แวงใหญ่ โคกโพธิ์ชัย ชนบท มัญจาคีรี โนนศิลา นครราชสีมา (อ.เมืองฯ ด่านขุนทด สูงเนิน โนนสูง พิมาย โนนไทย คง พระทองคำ จักราช) และอุบลราชธานี (อ.เมืองฯ)
ภาคกลาง จ.ชัยนาท (อ.เมืองฯ มโนรมย์ วัดสิงห์ เนินขาม หันคา สรรพยา สรรคบุรี หนองมะโมง) สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อินทร์บุรี ค่ายบางระจัน) อ่างทอง (อ.เมืองฯ วิเศษชัยชาญ ป่าโมก ไชโย) พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ บางบาล พระนครศรีอยุธยา บางไทร) ลพบุรี (อ.เมืองฯ ชัยบาดาล โคกสําโรง บ้านหมี่) สระบุรี (อ.วังม่วง แก่งคอย บ้านหมอ พระพุทธบาท ดอนพุด) สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า สองพี่น้อง) และปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี)
ส่วนพื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง ได้แก่
ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ปภ.ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ริมลำน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมในระดับสูงระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง
พร้อมกับขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. จิตอาสา เครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรสาธารณกุศลได้เตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้านในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวหรือเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย