เช็คข้อปฏิบัติ กทม.ฉบับเต็ม! คลายล็อกกิจการ-กิจกรรมในกรุงเทพฯ เริ่มวันนี้
เช็คข้อปฏิบัติ ประกาศ กทม.ฉบับ 43 สั่งคลายล็อกกิจการ-กิจกรรม เริ่มวันนี้ ผู้ประกอบการตรวจรายละเอียดทั้งหมดที่นี่!
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ลงนามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 43 เรื่อง "สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว" โดยประกาศมาตรการผ่อนปรนการเปิดกิจการกิจกรรมในกรุงเทพฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1 -31 ต.ค.2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ ในประกาศ กทม.ฉบับที่ 43 ได้กำหนดคำสั่งแนบท้ายมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมบางประเภท เพื่อปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 29 กันยายน 2564 มีรายละเอียดมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดดังนี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เช็คประกาศ กทม.ฉบับ 43 คลายล็อกกิจการ-กิจกรรม ในกรุงเทพฯ เริ่ม 1 ต.ค.นี้
•สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ เฉพาะที่มีการรับตัวไว้
1.ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ เครื่องเล่น อุปกรณ์ พื้นที่เยี่ยมญาติ รวมถึงห้องสุขา และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ญาติ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะนั่งหรือยืน ที่นอนหรือเตียง ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5.ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัดและรวมกลุ่มกัน หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
6.ให้เจ้าของสถานที่หรือผู้ประกอบกิจการลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดรวมทั้งกำกับให้เจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดโดยเคร่งครัด
7.ผู้ดูแลต้องผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านการป้องกันควบคุมโรคสำหรับผู้สูงอายุร่วมด้วย
8.ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก และลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
9.มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ญาติ ก่อนเข้าอาคาร ทั้งนี้ ให้รายงานหน่วยงานรับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
10.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมถึงภายในห้องสุขา ทั้งนี้ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศและจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
11.จัดให้มีระบบคิว มีพื้นที่รอคิว ที่มีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร บริเวณรอเยี่ยมก่อนเข้าสถานที่
12.งดการรับประทานอาหารร่วมกัน รวมทั้งการตักอาหารส่วนกลางด้วยตนเอง และการตักอาหารในภาชนะหรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
13.จัดให้มีระบบเก็บบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพของพนักงาน ผู้ใช้บริการ และญาติที่มาเยี่ยมได้ทุกคน หากพบผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรคภายหลังจากการใช้บริการให้รีบรายงานหน่วยงานรับผิดชอบทันที
14.จัดให้มีการแนะนำเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ญาติ รวมถึงให้มีการตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการใช้บริการให้เป็นไป ตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคตามที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
•ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิด ให้บริการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน และจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน
1.ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อย ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะและระหว่างที่นั่งอย่างน้อย ๒ เมตร กรณีมีระยะห่างไม่ถึง 2 เมตร ต้องจัดให้มีฉากกั้น
5.ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด
6.มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จามหรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการก่อนเข้าอาคาร ทั้งนี้ ให้รายงานหน่วยงานรับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
7.ลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี้ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และลดการใช้เสียงดังภายในร้านอาหาร
8.กรณีจำหน่ายอาหารแบบบุฟเฟต์ให้ปรับรูปแบบการบริการโดยงดการตักอาหารส่วนกลางด้วยตนเอง รวมถึงการตักอาหารในภาชนะหรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน จัดให้มีระบบคิว มีพื้นที่รอคิว ที่มีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
10.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดีรวมถึงห้องสุขา
11.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทงราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
•ตลาดสด หรือตลาดนัด เฉพาะการจำหน่าย สินค้าอุปโภคหรือบริโภค ให้เปิดดำเนินการได้ ตามเวลาปกติจนถึงเวลา 21.00 นาฬิกา
1.เจ้าของ ผู้ประกอบการปรับปรุงสภาพแวดล้อมตลาด เช่น การระบายอากาศภายในตลาดให้เพียงพอ เหมาะสม ไม่มีกลิ่นเหม็นอับความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาด
2.เจ้าของ ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีทะเบียนผู้ค้าและลูกจ้าง
3.ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
4.ให้ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ ผู้ค้า และลูกจ้าง สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
5.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
6.ให้เว้นระยะห่างของแผง หรือระยะนั่งหรือยืน หรือระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชำระราคาห่างกันอย่างน้อย ๑ เมตร
7.ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
8.ให้มีการควบคุมทางเข้าออก และมีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการผู้ค้าและลูกจ้าง ตามขีดความสามารถ
9.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
•สถานเสริมความงาม ร้านสัก
1.ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ ก่อนและหลังการให้บริการ รวมทั้งห้องสุขาและห้องอาบน้ำ และให้กำจัดขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อให้ได้ตามมาตรฐานทุกวัน
2.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ช่าง ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
3.ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง หรือเตียง อย่างน้อย 1.5 เมตร กรณีมีพื้นที่รอคิวต้องจัดให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5.ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมีให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น และต้องไม่มีผู้นั่งรอภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และเพิ่มรูปแบบการให้บริการโดยผ่านการนัดหมาย
6.มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ทั้งผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ช่าง ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการตามขีดความสามารถ ทั้งนี้ ให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในกรณีพบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
7.จัดการให้มีการระบายอากาศภายในร้านที่ดี ทั้งนี้ ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศและจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
8.จัดให้มีระบบเก็บข้อมูลและติดตามผู้ใช้บริการได้ทุกคน หากพบผู้ป่วยหรืออาการเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรคภายหลังการใช้บริการ
9.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทงราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
•ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม และร้านทำเล็บ
1.ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ ก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้ผู้ประกอบการ ช่าง ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
3.ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้ว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง หรือเตียง อย่างน้อย 1.5 เมตร กรณีมีพื้นที่รอคิวต้องจัดให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5.ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมีให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น และต้องไม่มีผู้นั่งรอภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และเพิ่มรูปแบบการให้บริการโดยผ่านการนัดหมาย
6.มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ทั้งผู้ประกอบการ ช่าง ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ ทั้งนี้ให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในกรณีพบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
7.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ช่าง และผู้ช่วย สวม Face Shield และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ให้บริการ
8.ให้มีการเปลี่ยนผ้าคลุมทุกครั้งที่ให้บริการ
9.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ตึ ทั้งนี้ ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศและจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
10.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ มาใช้ได้ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
•สวนสาธารณะ (ให้ใช้เพื่อการออกกำลังกายเท่านั้น)
1.ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องเล่นออกกำลังกาย พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอยอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ล้างมือบ่อยๆ และงดการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก
5.หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัดมีผู้คนจำนวนมาก และให้เว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 เมตร
6.ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
7.มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่
8.ห้ามจำหน่ายสินค้ายกเว้นจำหน่ายเครื่องดื่ม และห้ามรับประทานอาหารในสวนสาธารณะ
9.ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง และให้งดการรวมกลุ่มนั่งสนทนาหรือรับประทานอาหาร
10.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
•ลานกีฬา สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการ ออกกำลังกายประเภทกลางแจ้งหรือตั้งอยู่ในพื้นที่โล่ง สนามกีฬา หรือสถานที่เพื่อการกำลังกายประเภทในร่มที่อากาศถ่ายเทได้ดี
1.ทำความสะอาดพื้น ห้องสุขา ก่อนและหลังให้บริการ สำหรับพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยๆ อุปกรณ์กีฬา และห้องอาบน้ำทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังการใช้บริการทุกครั้ง และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ ผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
3.ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
4.ให้ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอยู่เสมอ
5.ควรเว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย 1 เมตร
6.ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
7.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี ทั้งบริเวณห้องสุขา และห้องอาบน้ำ ทั้งนี้ ให้งดบริการในส่วนการอบตัว อบไอน้ำ
8.มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานและผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่
9.จัดให้มีการให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
10.ร้านอาหารในสนามกีฬา สโมสร คลับเฮาร์ ให้ปฏิบัติตามมาตรการร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม
11.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
•สระน้ำเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำ เพื่อการสันทนาการ เช่น เจ็ตสกี ไคท์เชิร์ฟ เครื่องเล่นประเภทบานาน่าโบ๊ต โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นตามจำนวนเครื่องเล่นและขนาดพื้นที่
1.ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสบ่อย ๆ อุปกรณ์เครื่องเล่น เสื้อและอุปกรณ์ชีพ ห้องอาบน้ำ ห้องสุขา ทั้งก่อนและหลังการให้บริการและให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา สำหรับผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทั้งก่อนและหลังใช้บริการ
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะห่างระหว่างกัน ขณะทำกิจกรรมอย่างน้อย 1.5 เมตร โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
5.ให้เจ้าของสถานที่ หรือผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดกิจกรรม ลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งจัดให้มีพนักงานดูแลความปลอดภัยปฏิบัติงานขณะที่มีการใช้บริการ ตรวจตรา ควบคุม กำกับและให้คำแนะนำในการใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคตามที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
6.ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ จัดเก็บข้อมูลและติดตามผู้ใช้บริการ และเพิ่มมาตรการใช้แปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
7.มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานและผู้ใช้บริการก่อนเข้าสถานที่ ทั้งนี้ ให้รายงานหน่วยงานรับผิดชอบกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
8.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดีรวมทั้งบริเวณห้องสุขาและห้องอาบน้ำ
9.จัดให้มีระบบคิว และมีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
10.ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และระบบจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว
•สระว่ายน้ำสาธารณะ
1.ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ห้องอาบน้ำ ห้องสุขา ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้พนักงานบริการ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนและหลังใช้บริการว่ายน้ำ
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะห่างระหว่างกัน ขณะอยู่ในสระว่ายน้ำ อย่างน้อย 2 เมตร โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
5.จัดให้มีพนักงานดูแลความปลอดภัยสระว่ายน้ำปฏิบัติงานขณะที่มีการใช้บริการ เพื่อให้คำแนะนำการใช้บริการ ลดการพูดคุยขณะอยู่ในสระว่ายน้ำ ให้บ้วนน้ำและทิ้งสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี
6.ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมีให้แออัด รวมทั้งให้ว่ายน้ำโดยไม่เป็นการรวมกลุ่ม
7.ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
8.มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานและผู้ใช้บริการก่อนเข้าสระว่ายน้ำ ทั้งนี้ ให้รายงานหน่วยงานรับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
9.จัดให้มีการเก็บข้อมูลและติดตามผู้ใช้บริการสระว่ายน้ำ รวมทั้งควบคุมตรวจสอบคุณภาพน้ำในสระว่ายน้ำให้มีความเป็นกรด-ด่างระดับคลอรีนตกค้าง หรือการตรจสอบด้วยวิธีอื่นให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการฆ่าเชื้อโรคของสระว่ายน้ำในทุกระบบ และแสดงให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นประจำทุกวัน
10.จัดให้มีการตรวจตรา ดูแลความปลอดภัย ควบคุม กำกับการให้บริการและการใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
11.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมทั้งบริเวณห้องสุขา ห้องอาบน้ำ
12.จัดให้มีระบบคิวและมีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืน ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
•ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
•ร้านสะดวกซื้องดกิจกรรมส่งเสริมการขาย กิจกรรมที่ทำให้เกิดความแออัดหรือมีการรวมกลุ่มคน
1.ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้พนักงานและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
3.ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5.ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมีให้แออัด หรือพิจารณากำหนดมาตรการลดเวลาในการใช้บริการให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
6.มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการตามขีดความสามารถ
7.จัดให้มีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
8.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
•สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก
1.ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อให้ได้ตามมาตรฐาน
2.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5.ให้ควบคุมจำนวนผู้ช้บริการมิให้แออัดและมีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้ และเพิ่มรูปแบบการให้บริการโดยผ่านการนัดหมาย
6.มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จามหรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการก่อนเข้าอาคาร ทั้งนี้ ให้รายงานหน่วยงานรับผิดชอบกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
7.ผู้ให้บริการสวมอุปกรณ์ป้องกันโรคตามมาตรฐานสถานพยาบาลและสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
8.จัดให้มีระบบคิวและมีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
9.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี
10.จัดให้มีระบบเก็บข้อมูลและติดตามผู้ใช้บริการได้ทุกคน หากพบผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรคภายหลังจากการใช้บริการ
11.จัดให้มีการแนะนำผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการ รวมถึงให้มีการตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคตามที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
•ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา สนามพระเครื่อง พระบูชา
1.ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อให้ได้ตามมาตรฐาน
2.ให้ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5.ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัดและรวมกลุ่มกันหรือลดเวลาในการทำกิจกรรมเท่าที่จำเป็นโดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อการสัมผัสระหว่างกัน
6.ให้มีการควบคุมทางเข้าออก ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลหรือรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
7.มีมาตรการคัดกรองไข้และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงาน และผู้ใช้บริการ
ตามขีดความสามารถก่อนเข้าอาคาร ทั้งนี้ ให้รายงานหน่วยงานรับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
8.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมถึงภายในห้องสุขา ทั้งนี้ ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ
9.ควบคุมมิให้มีกิจกรรมที่ใช้เสียงดังภายในสถานที่และงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความแออัดหรือมีการรวมกลุ่มคน
10.จัดให้มีการแนะนำผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการ รวมถึงให้มีการตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคตามที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
11.ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว
•สวนสัตว์ หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์
1.ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ โดยเฉพาะห้องสุขา พาหนะที่ให้บริการภายในสถานที่ทั้งก่อนและหลังการให้บริการและให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะนั่งและยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5.ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการตามขนาดพื้นที่โดยไม่ให้แออัด
6.ให้มีการลงทะเบียนเพื่อการจองคิวเข้าใช้บริการและให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัด โดยจัดเป็นรอบเข้าชมหรือใช้บริการ
7.ให้กิจการลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
8.ให้มีลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้
9.มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานบริการ และผู้ใช้บริการก่อนเข้าสถานที่ ทั้งนี้ให้รายงานหน่วยงานรับผิดชอบ ในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
10.การจัดแสดงโชว์ในลักษณะที่มีการรวมกลุ่มให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
11.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมทั้งบริเวณห้องสุขาและห้องอาบน้ำ ทั้งนี้ ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศและจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
12.ให้มีระบบคิวและพื้นที่รอเข้างานและพื้นที่รอคิว โดยมีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
13.จัดให้มีการให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ตรวจตราควบคุม กำกับการให้บริการ ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิดกัน
14.พิจารณากำหนดจำนวนผู้ใช้บริการจากต่างจังหวัดในระบบจองคิว เพื่อลดการเดินทางข้ามจังหวัด ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และระบบจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว
•สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะ เดียวกัน ให้เปิดได้เฉพาะการจัดกิจกรรมหรืองาน ตามประเพณี เช่น งานหมั้น โดยต้องไม่มีการจัดเลี้ยงอาหาร
•โรงแรม ให้งดกิจกรรมจัดประชุม การสัมมนา หรือการจัดเลี้ยง โดยสามารถให้บริการจัดกิจกรรมหรืองานตามประเพณี เช่น งานหมั้น โดยต้องไม่มีการจัดเลี้ยงอาหาร
1.ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ รวมถึงห้องสุขา และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ยกเว้นขณะทำพิธีการ
3.ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4.ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 3 เมตร และอาจพิจารณาจัดที่นั่งให้มีระยะห่างในลักษณะ 2 ที่นั่ง เว้น 1 ที่นั่งเฉพาะสถานที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี
5.ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด โดยพิจารณาจัดเป็นรอบเข้าร่วมกิจกรรม โดยคิดเกณฑ์ตามขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อคน รวมทั้งพิจารณาเพิ่มพื้นที่ทางเดิน (walk way) ให้มีสัดส่วนมากขึ้น
6.ให้เจ้าของสถานที่ หรือผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดกิจกรรมลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
7.ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก จัดระบบคิวตามรอบงาน และลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ รวมถึงบริเวณพื้นที่จัดงานและเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ได้
8.มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการก่อนเข้าสถานที่ รวมถึงมีห้องแยกในกรณีพบผู้ร่วมกิจกรรมมีอาการป่วยและให้มีระบบเก็บข้อมูลและติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกคน ทั้งนี้ให้รายงานหน่วยงานรับผิดชอบกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด
9.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมถึงห้องสุขา ทั้งนี้ ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
10.พื้นที่การรอเข้างานและพื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร โดยทำสัญลักษณ์ให้ชัดเจน และให้มีการจัดระเบียบก่อนเข้าและออกจากงาน เพื่อป้องกันผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
11.พิจารณาเหลื่อมเวลาการจัดงาน เพื่อลดความแออัดของการใช้สถานที่ รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ
12.ให้คำแนะนำผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึงลดการรวมกลุ่มใกล้ชิดกันเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
13.ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกสถานที่
อ่านรายละเอียดคำสั่งแนบท้ายทั้งหมด ที่นี่