อัพเดท "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. 605 จับตานครศรีฯ สุราษฎร์ เชียงใหม่
เกาะติดเช็คอัพเดทล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. 605 รายจับตานครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ สมุทรปราการ ชลบุรี ภูเก็ต ปัตตานี นครราชสีมา
อัพเดทต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดวันนี้ 29 พ.ย. 64 เกาะติดความคืบหน้า 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบ อัพเดท 10 จังหวัดอันดับพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงสุด
จํานวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับ
1 กรุงเทพมหานคร
2 นครศรีธรรมราช
3 สงขลา
4 สุราษฎร์ธานี
5 เชียงใหม่
6 สมุทรปราการ
7 ชลบุรี
8 ภูเก็ต
9 ปัตตานี
10 นครราชสีมา
29/11/64 กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ยอดติดเชื้อโควิดสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ ตามด้วย นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ สมุทรปราการ ชลบุรี ภูเก็ต ปัตตานี และนครราชสีมา
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 28 พ.ย. 2564)
รวม 92,360,417 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 235,121 โดส
เข็มที่ 1 : 115,534 ราย
เข็มที่ 2 : 89,759 ราย
เข็มที่ 3 : 29,828 ราย
----------------------------
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 47,963,180 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 41,053,644 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 3,343,593 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
เกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ เดือน พฤศจิกายน 2564
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เวลา 12.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564
ผู้ป่วยรายใหม่ 4,753 ราย
หายป่วยแล้ว 1,985,595 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,082,703 ราย
เสียชีวิตสะสม 20,640 ราย
--------------
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
หายป่วยแล้ว 2,013,021 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,111,566 ราย
เสียชีวิตสะสม 20,734 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 28 พฤศจิกายน 2564
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 92,360,417 โดส
----------
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 115,534 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 89,759 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 29,828 ราย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 261,756,353 ราย
อาการรุนแรง 83,878 ราย
รักษาหายแล้ว 236,381,226 ราย
เสียชีวิต 5,216,989 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 49,099,590 ราย
2. อินเดีย จำนวน 34,578,749 ราย
3. บราซิล จำนวน 22,080,906 ราย
4. สหราชอาณาจักร จำนวน 10,146,915 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 9,570,373 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 2,111,566 ราย
ชี้ โควิดสายพันธุ์โอไมครอน
• แพร่กระจายมากกว่าสายพันธุ์เดลต้า
• ความรุนแรงของโรคยังต้องศึกษา
• สามารถตรวจ RT-PCT ได้
การฉีดวัคซีนยังจำเป็น ช่วยลดความรุนแรง ลดป่วย และเสียชีวิต ทำให้โควิดเป็นเหมือนโรคทางเดินหายใจ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ผ่านเฟสบุ๊ก ระบุว่า ขณะนี้ทั่วโลกให้ความสนใจมากกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน ทั้งนี้เพราะการกลายพันธุ์เฉพาะในส่วนหนามแหลม สามารถเก็บจาก การกลายพันธุ์ที่เกิดในสายพันธุ์แอลฟา เบต้า และเดลต้า มาแล้ว ยังเพิ่มตำแหน่งการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 30 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะต้องตอบคำถามขณะนี้คือ
1. ไวรัสนี้ติดง่ายแพร่กระจายง่ายหรือไม่
จากการดูพันธุกรรมไวรัสนี้ พัฒนาเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้า ที่แพร่กระจายง่ายอยู่แล้ว อย่างน้อยการแพร่กระจายของโรค ก็ไม่น่าจะน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า
2. ความรุนแรงของโรคโควิด 19
จากข้อมูล ที่ได้มาจากแอฟริกาใต้เบื้องต้น ในหลายครอบครัว พบว่าสายพันธุ์นี้มีอาการไม่มาก ทั้งในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแล้วและไม่ได้รับวัคซีน โดยธรรมชาติของไวรัสที่แพร่กระจายง่าย ไวรัสเองก็ต้องการมีชีวิตอยู่ยาวนาน หรือแพร่พันธุ์ได้ยาวนาน ในการศึกษาในอดีตสำหรับไวรัสตัวอื่น ที่มีการถ่ายทอดลูกหลานมายาวนาน หรือการเพาะเลี้ยงจากรุ่นต่อรุ่นไปยาวๆ จะพบว่าความรุนแรงจะลดน้อยลง ในอดีตการทำวัคซีนจึงใช้วิธีการเพราะเลี้ยงไปเรื่อยๆ 30-40 ครั้ง ก็จะได้ไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ลง แล้วเอามาทำวัคซีนเช่นการทำวัคซีนโปลิโอชนิดเชื้อเป็น
อย่างไรก็ตามสำหรับไวรัสตัวนี้ยังใหม่เกินไป ที่จะบอกว่า อาการของโรคลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้น จะต้องดูจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ผลการรักษา อัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ เช่นสายพันธุ์ เดลต้า
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาพันธุกรรมในการวินิจฉัยที่เรียกว่า RT-PCR ยังใช้ได้ดีอยู่หรือไม่
แต่จากการที่ได้พิจารณาตามรหัสพันธุกรรม อย่างน้อยการตรวจทางห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จะใช้ N gene อย่างน้อย 1 ยีนส์ ในตำแหน่งของ N gene เป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างคงที่ ไม่มีผลกับการตรวจ แต่อาจจะมีผลต่อการตรวจในยีน RdRp ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ใช้กันอยู่
ที่ห้องปฏิบัติการของศูนย์ ที่ทำอยู่ขณะนี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบ ตามรหัสพันธุกรรม ก็พบว่ายังสามารถใช้ได้ดี ส่วนของบริษัทต่างๆ ก็คงต้องมีการตรวจสอบโดยเฉพาะในส่วนของยีนอื่นที่ไม่ใช่ N ยีนส์
4. การศึกษาตำแหน่งพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงบนหนามแหลม
มีความน่าสนใจมาก ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น สิ่งที่จะต้องศึกษาอย่างยิ่งก็คือจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดที่ใช้สไปรท์เพียงตัวเดียวลดลงหรือไม่ เช่นไวรัส Vector และ mRNA การตอบสนองต่อ T และ B เซลล์เป็นอย่างไร ต้องมีการศึกษาอย่างเร่งด่วน
5. การเตรียมตัวในการพัฒนา ทั้งวัคซีน และ การรักษา
แต่เดิมคิดว่าวัคซีนในเจนเนอเรชั่นที่ 2 จะต้องเป็นสายพันธุ์ Beta แต่ต่อมากลับพบว่าสายพันธุ์เบต้าสู้สายพันธุ์ Delta ที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วไม่ได้เลย สายพันธุ์เดลต้าหลบหลีกภูมิต้านทานที่ใช้อยู่เดิมที่เป็นสายพันธุ์อู่ฮั่นไม่มาก ดังนั้นวัคซีนที่ใช้อยู่จึงสามารถที่จะใช้ได้กับสายพันธุ์เดลต้า วัคซีนไม่มีการคิดที่จะเปลี่ยนสายพันธุ์ แต่ขณะนี้เมื่อเป็นสายพันธุ์ omicron คงต้องรอการศึกษา รวมทั้งประสิทธิภาพของ monoclonal antibodies ที่วางจำหน่ายแล้ว และยาที่วางแผนในการรักษา
6. การสื่อสารทางด้านสังคม
ขณะนี้มีการตื่นตัวกันอย่างมาก ดังนั้นข้อมูลที่ให้กับประชาชนทั่วไป จะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส ใช้ความจริง เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าความรู้สึก ในการแพร่กระจายข่าวออกไป ในบางครั้งมีผลกระทบทางจิตใจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข่าวที่ไม่เป็นความจริง และการ bully ในสังคม ไม่ได้ช่วยอะไรเลยต่อภาพรวม
7. การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และการถอดรหัสพันธุกรรม
ในภาวะเช่นนี้เราต้องการเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และการทดลองมาตอบคำถามทั้งหมด การถอดรหัสพันธุกรรมจะต้องดำเนินการต่อไปและเพิ่มจำนวนขึ้น ให้ได้เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง สำหรับประเทศไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน เกือบ 2 ปีมีการถอดรหัสพันธุกรรมไปทั้งตัว ประมาณ 6,000 ตัว ถือว่าไม่มากถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยถึง 2 ล้านคน ขณะนี้การถอดรหัสพันธุกรรมหลัก จะอยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์ที่ทำได้เป็นจำนวนมาก ในสถาบันโรงเรียนแพทย์เป็นส่วนเสริม สำหรับที่ศูนย์ จะถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวเพียงเดือนละ 30 ตัว และถอดส่วนของสไปรท์ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การพัฒนาการตรวจจำเพาะหาสายพันธุ์เลยซึ่งทำได้เร็วมาก ก็ได้พัฒนามาโดยตลอด การตรวจหาสายพันธุ์สามารถทำได้ตั้งแต่ตรวจหาจำเพาะ ตรวจหาตำแหน่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม กับการถอดรหัสทั้งตัว ที่ศูนย์ทำมาตลอดในการเฝ้าระวังในประเทศไทย
8. สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นถ้าหลบหลีกภูมิต้านทาน
ก็จะทำให้ลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง แต่ไม่ใช่ว่าวัคซีนจะไม่ได้ประสิทธิภาพเลย เช่นวัคซีนเคยได้ประสิทธิภาพ 90% สายพันธุ์ใหม่อาจจะลดลงมาเหลือ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการฉีดวัคซีนก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องทำ ให้ได้มากที่สุด และทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการป่วยและเสียชีวิต เพราะเรารู้อยู่แล้วว่า ไวรัสนี้ไม่หมดไปอย่างแน่นอน ถ้าทุกคนมีภูมิต้านทาน ถึงแม้จะเป็นบางส่วนก็จะลดความรุนแรงของโรคลง ลดการป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลและการเสียชีวิต จะทำให้มองดูว่าการติดเชื้อนี้เหมือนกับโรคทางเดินหายใจทั่วไป
9. การเฝ้าระวังด้วยการเดินทาง ที่ผ่านมาเรารู้อยู่แล้วว่าถ้าเดินทางทางอากาศเรามีมาตรการในการดูแลอย่างดี ในอดีตไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ G หรือสายพันธุ์อังกฤษสายพันธุ์เดลต้า เข้าสู่ประเทศไทยด้วยการเดินเข้ามาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเดินมาทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งตะวันออกของประเทศไทย หรืออาจจะว่ายน้ำมาก็ได้ ส่วนใหญ่จะไม่บินมา เพราะเรามีมาตรการที่เข้มงวดอยู่แล้ว
10. ในภาวะที่มีโรคระบาดทุกคนจะต้องช่วยกัน
ทุกคนจะต้องมีระเบียบวินัย เคารพในกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขวางกฎเกณฑ์ไว้ รวมทั้งปฏิบัติตาม และสุขอนามัยจะต้องเข้มงวดเช่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย กำหนดระยะห่างยังคงต้องยึดอย่างเคร่งครัด
ที่มา : ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ
Yong Poovorawan