เงินประกันข้าว ประกันรายได้เกษตรกร อัพเดทล่าสุดจาก ธ.ก.ส. กรณียังไม่ได้
ตรวจสอบ เงินประกันข้าว ประกันรายได้เกษตร อัพเดทล่าสุดจาก ธ.ก.ส. กรณียังไม่ได้เงินโอนเข้าบัญชี
รายงานความคืบหน้า เงินประกันข้าว ประกันรายได้เกษตรกร อัพเดทล่าสุดจาก ธ.ก.ส. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ล่าสุดวันนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ชี้แจงว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 ในรอบการเก็บเกี่ยวที่ 1-2 ธ.ก.ส. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จ่ายเงินตามโครงการดังกล่าว เข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง โดยในช่วงวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจ่ายเงินไปแล้วในวงเงินรวม 13,225 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 530,842 ครัวเรือน
ทั้งนี้ ในรอบการเก็บเกี่ยวต่อไป อยู่ระหว่างรอความเห็นชอบ กรอบงบประมาณตามที่กระทรวงพาณิชย์นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งหาก ครม. เห็นชอบ ธ.ก.ส. ก็พร้อมจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรที่ยังไม่ได้เงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร ประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท ต้องติดตาม จะนำเข้าพิจารณาใน ครม. คาดวันที่ 30 พ.ย. 64 เพื่อให้กระทรวงการคลัง ดำเนินการไฟเขียวให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โอนเงินให้เกษตรกร
ส่วนกรณี เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ซึ่งเงินส่วนนี้ อยู่ในมาตรการคู่ขนานในการช่วยเหลือชาวนาอีกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท จะนำเข้าพิจารณาใน ครม. คาดวันที่ 30 พ.ย. 64 เพื่อให้กระทรวงการคลังไฟเขียวให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โอนเงินให้เกษตรกร
อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ลุยมาตรการสินเชื่อคู่ขนานพยุงราคาข้าว และบรรเทาความเดือดร้อนชาวนา วงเงินรวมกว่า 35,000 ล้านบาท นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เห็นชอบให้
ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียน
ระหว่างชะลอการขายข้าว ไม่ต้องเร่งขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก และราคาตกต่ำ ซึ่งเป็น
มาตรการคู่ขนานกับการประกันรายได้ เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว วงเงินสินเชื่อรวม
20,401 ล้านบาท ไม่คิดดอกเบี้ยกับเกษตรกร
ตั้งเป้าดูดซับปริมาณข้าวเปลือก 2 ล้านตัน ประกอบด้วย ชนิดข้าวเปลือก หอมมะลิในเขต 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคเหนือ 3 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 และข้าวเปลือกเหนียว คุณสมบัติข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นข้าวเปลือกที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 และสีได้ต้นข้าวไม่ต่ำกว่า 20 กรัม โดยในส่วนข้าวหอมมะลิจะมีเมล็ดข้าวแดงได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 (ไม่เกิน 22 เมล็ดใน 100 กรัม) กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้ข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด 11,000 บาท/ตัน ข้าวหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด 9,500 บาท/ตัน ข้าวเจ้า 5,400 บาท/ตัน ข้าวหอมปทุมธานี 17,300 บาท/ตัน และข้าวเหนียว 8,600 บาท/ตัน โดยเกษตรกร กู้ได้รายละไม่เกิน 300,000 บาท สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท กรณีชำระคืนภายใน 5 เดือน ไม่มีดอกเบี้ย (รัฐบาลรับภาระจ่ายแทน)
นอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกหลักประกัน 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวเอง ได้รับ 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรฝากข้าวกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับ 500 บาทต่อตัน และสถาบันจะได้รับ 1,000 บาทต่อตัน ระยะเวลาจัดทำสัญญาตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 กรณีภาคใต้ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2565
นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65 วงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบธุรกิจรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิก เกษตรกรทั่วไป และมีคุณสมบัติตามที่กำหนดวงเงินกู้สำหรับสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งคิดจากสถาบันเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาลรับภาระแทน ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 กันยายน 2565
ข้อมูลจาก ธ.ก.ส.
พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์ ศิลาวงษ์