ราชกิจจาฯประกาศมาตรการเยียวยาลูกจ้าง เพิ่มระยะเวลาจ่ายเงินสงเคราะห์

ราชกิจจาฯประกาศมาตรการเยียวยาลูกจ้าง เพิ่มระยะเวลาจ่ายเงินสงเคราะห์

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศจาก "กระทรวงแรงงาน" ออกระเบียบเพิ่มอัตราและระยะเวลาการจ่ายเงินสงเคราะห์ให้แก่ลูกจ้างจากสถานการณ์โควิด-19 เพิ่มอัตราและระยะเวลาการจ่ายเงินสงเคราะห์ให้แก่ลูกจ้าง

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศจาก "กระทรวงแรงงาน" ออกระเบียบเพิ่มอัตราและระยะเวลาการจ่ายเงินสงเคราะห์ให้แก่ลูกจ้าง จากสถานการณ์โควิด-19 

 

สำหรับ มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง หลังสถานประกอบกิจการปิดดำเนินการเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เรื่อง ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย กรณีการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 โดยมีเนื้อหา ดังนี้

 

โดยที่เกิดกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จนเป็นเหตุให้สถานประกอบกิจการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้นายจ้างบางส่วนไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ และมีการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้างโดยไม่ถูกต้อง รวมถึงมีการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเขยตามที่กฎหมายกำหนด และพนักงานตรวจแรงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวแล้ว แต่นายจ้างไม่ปฏิบัติตาม อันเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างจากกรณีดังกล่าว จึงสมควรกำหนดระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) พ.ศ.2564"

 

 

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ข้อ 3 ในระเบียบนี้ "เงินสงเคราะห์" หมายความว่า เงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อันเนื่องมาจากนายจ้างได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ส่งผลให้มีการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือไม่จ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยให้ถูกต้องตามกฎหมาย "คำสั่งเป็นที่สุด" หมายความว่า คำสั่งพนักงานตรวจแรงานที่สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยหรือเงินอื่นให้แก่ลูกจ้าง โดยนายจ้างมิได้ปฏิบัติตามและไม่ได้นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลากำหนด "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

 

ข้อ 4 ลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์ได้ในกรณี ดังต่อไปนี้

 

(1) นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เนื่องจากนายจ้างได้รับผลกระทบจากกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2565 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวและคำสั่งเป็นที่สุด

 

(2) นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปเนื่องจากนายจ้างได้รับผลกระทบจากกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID- 19)) โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว แม้คำสั่งยังไม่เป็นที่สุด

 

(3) นายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าจ้างตามกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล ค่าตอบแทนหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานเฉพาะที่เป็นเงินสด เงินตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เนื่องจากนายจ้างได้รับผลกระทบจากกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าว และคำสั่งเป็นที่สุด

 

ข้อ 5 ลูกจ้างที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามข้อ 4 ให้ยื่นคำขอภายในสองปีนับแต่วันที่คำสั่งเป็นที่สุด โดยยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีกำหนด หรือวิธีการอื่นใดตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

 

ข้อ 6 อัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ตามข้อ 4 ให้จ่ายในอัตรา ดังต่อไปนี้

 

(1) กรณีค่าชดเชยตามข้อ 4 (1) และ (2) ให้จ่ายในอัตรา ดังนี้

 

(1.1) หกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบสามปี

 

(1.2) แปดสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามประกาศคณะกรรมการค่จ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแตไม่ครบสิบปี

 

(1.3) หนึ่งร้อยเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป

 

(2) กรณีเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยตามข้อ (3) ให้จ่ายในอัตราหนึ่งร้อยเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในคราวเดียวกันทั้งจำนวน แต่ไม่เกินกว่าจำนวนค่าชดเชย หรือเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย เว้นแต่กรณีลูกจ้างได้รับ เงินสงเคราะห์ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์

 

อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้รับตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่งข้อ 7 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์ ขั้นตอนการพิจารณาคำขอ ผู้มีอำนาจอนุมัติและระยะเวลาการจ่ายเงินสงเคราะห์ ซึ่งระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ ให้นำระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับเท่าที่จะบังคับได้

 

ข้อ 8 ให้อธิบดีรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจวินิจฉัยตีความปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

 

ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2564 บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

 

ราชกิจจาฯประกาศมาตรการเยียวยาลูกจ้าง เพิ่มระยะเวลาจ่ายเงินสงเคราะห์

 

ราชกิจจาฯประกาศมาตรการเยียวยาลูกจ้าง เพิ่มระยะเวลาจ่ายเงินสงเคราะห์

 

ราชกิจจาฯประกาศมาตรการเยียวยาลูกจ้าง เพิ่มระยะเวลาจ่ายเงินสงเคราะห์