ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยังไม่ได้เงินเยียวยา ตรวจสอบที่นี่
เช็คอัพเดท ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยังไม่ได้เงินเยียวยา ตรวจสอบที่นี่ ยังมีเวลาถึงไหน จำนวนเท่าไหร่ยังไม่ได้บ้าง
ยังคงติดตาม เช็คอัพเดท ประกันสังคม กรณีผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ยังไม่ได้เงินเยียวยา
วันที่ 30 ธ.ค. 64 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับการยืนยันว่าเป็นข่าวจริง กรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวสารในประเด็นเรื่อง ครม. อนุมัติขยายระยะเวลาเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 , มาตรา 39 และ มาตรา 40 สิ้นสุด เดือน มี.ค. 2565
ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้อนุมัติขยายระยะเวลาโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด (กลุ่มจังหวัดได้รับเยียวยาเพิ่ม 1 เดือนในเดือน ส.ค. 2564 ) จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน ธ.ค. 2564 เป็นสิ้นสุดเดือน มี.ค. 2565
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา ประกอบด้วยนายจ้าง 5,948 แห่ง ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 199,232 คน รวมถึงกรณีโอนเงินไม่สำเร็จ ส่วนโครงการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา39 และมาตรา 40 ณ วันที่ 21 ธ.ค. 2564 เหลือผู้ประกันตนที่ยื่นอุทธรณ์/ทบทวนสิทธิ์ แยกเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 3,423 คน และผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวน 190,659 คน
ครม. ยังได้เห็นชอบการขยายระยะเวลาโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่มีอายุกิน 65 ปี จากเดิมสิ้นสุดเดือนพ.ย. 2564 เป็นสิ้นสุดเดือน ม.ค. 2565 ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลผู้ขอรับการตรวจสอบสิทธิ 2,307 คน
ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.prd.go.th หรือโทร. 02 618 2323
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้อนุมัติขยายระยะเวลาโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด เป็นความจริง
รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตข่าวปลอม สร้างข่าวบิดเบือน ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ประชาชนสับสน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2),(5) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ผลิตข่าวปลอมและผู้ที่เผยแพร่ทุกรายอย่างเด็ดขาดจริงจังและต่อเนื่องต่อไป
ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบข้อมูลการกระทำผิด สามารถแจ้งเบาะแสข่าวผ่าน
5 ช่องทาง
เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com
เฟซบุ๊ก ANTI-FAKE NEWS CENTER
ทวิตเตอร์ @AFNCThailand
ไลน์ @antifakenewscenter
ช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87 และสายด่วน 1599 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้าง และผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 คลิกที่นี่