อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505 สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 9 แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก รัฐบาล ตลอดจนสมาคมเกษตรกรแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ร่วมกันน้อมเกล้าฯ ถวายฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนม ไทย – เดนมาร์ก จังหวัดสระบุรี

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ เยือนราชอาณาจักรเดนมาร์กเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงกำหนดให้วันที่ 17 มกราคมของทุกปีเป็น “วันโคนมแห่งชาติ” สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรักษา สืบสาน และต่อยอด อาชีพพระราชทานนี้ ทรงมีพระราโชบายให้พัฒนางานของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ก้าวหน้า โดยใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาอำนวยความสะดวกในกระบวนการการเลี้ยงโคนม และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 65 เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ เผยแพร่วีดิทัศน์เรื่องอาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย ข้อมูลโดยงานรับรองและนำชม จัดทำโดยงานส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ แผนกการจัดการผลิตภัณฑ์โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ความว่า

ในปีพุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จประพาสราชอาณาจักรเดนมาร์ก เสด็จทอดพระเนตรกิจการโคนมและการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการริเริ่มเป็นอาชีพใหม่ให้แก่เกษตรกรไทย เนื่องจากการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยยังไม่มีมากนัก

รวมทั้งทรงมีพระราชดำริส่งเสริมให้ประชาชน มีนมสดคุณภาพดี ราคาถูกบริโภคภายในประเทศ หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช 2505 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

อันเป็นรายได้จากการจำหน่ายหนังสือหลักวิชาการดนตรีและการขับร้อง เพื่อจัดสร้างโรงโคมนมสวนจิตรลดาขึ้น เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2505 เพื่อศึกษาค้นคว้าและเป็นตัวอย่างเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมในเขตพระราชฐาน

ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์สำคัญเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยที่พระองค์ทรงริเริ่มและส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมอย่างเป็นแบบแผนตามหลักวิชาการ ดังนั้นอาชีพการเลี้ยงโคนม

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

จึงเป็นอาชีพที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทุกคนกล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า เป็นอาชีพพระราชทาน โดยเริ่มเลี้ยงโคนมพันธุ์เรดเดน จำนวน 4 ตัว โคนมพันธุ์บราวน์สวิส จำนวน 1 ตัวและลูกโคนมพันธุ์ผสมเรดเซกิ 1 ตัว ในปัจจุบันโคนมส่วนใหญ่เป็นลูกผสมโฮลสไตน์ ฟรีเชียน

ในระยะแรก โรงโคนมสวนจิตรลดา นำน้ำนมที่รีดได้หลังจากแบ่งเลี้ยงลูกโคมาจำหน่ายให้แก่ข้าราชบริพาร ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และเมื่อมีจำนวนโคนมเพิ่มขึ้น ก็ทำให้มีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น จึงสามารถผลิตนมสดออกจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก และโรงเรียนต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505 สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 9 แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก รัฐบาล ตลอดจนสมาคมเกษตรกรแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ร่วมกันสร้างและน้อมเกล้าน้อมถวายฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทยเดนมาร์ก จังหวัดสระบุรี

และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรเดนมาร์ก เมื่อปีพุทธศักราช 2503 จึงกำหนดให้วันที่ 17 มกราคมของทุกปีเป็นวันโคนมแห่งชาติ

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย อาชีพพระราชทานและโรงโคนมแห่งแรกของประเทศไทย