"พระนรวิชญ์" บวชให้ "หมอกระต่าย" มีคดี-คนตาย บวชได้ยังไง?
"พระนรวิชญ์" หรือ "ส.ต.ต.นรวิชญ์" บวชให้พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ "หมอกระต่าย" หลายคนตั้งข้อสงสัยมีคดี-คนตาย บวชได้ยังไง?
ประเด็นร้อน "บวชให้หมอกระต่าย" ความคืบหน้ากรณี ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก หรือ "พระนรวิชญ์" ผบ.หมู่ กองร้อยที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ขับขี่บิ๊กไบค์ชน พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ "หมอกระต่าย" จักษุแพทย์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะกำลังเดินข้ามทางม้าลาย จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 มกราคมนั้น
ต่อมา เมื่อวันที่ (24 ม.ค.65) ส.ต.ต.นรวิชญ์ และ ร.ต.ต.นิคม บัวดก ผบ.หมู่ จร.สน.ปทุมวัน ซึ่งเป็นพ่อ ได้บวชอุทิศส่วนกุศลให้กับ "หมอกระต่าย" ที่วัดปริวาสราชสงคราม ถนนพระราม 3 เกี่ยวกับเรื่องนี้ พล.ต.ต.นครินทร์ สุคนธวิท ผู้บังคับการกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (ผบก.อคฝ.) กล่าวว่า เรื่องการบวชไม่ใช่นักโทษหนีหมายจับ ส่วนเรื่องผิดวินัยหรือไม่นั้นต้องถามพระอุปัชฌาย์
“เบื้องต้น ผู้ต้องหามีความจำนงที่จะอุปสมบทเพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับผู้เสียชีวิตโดยยังไม่ทราบกำหนดการที่จะสึก” พล.ต.ต.นครินทร์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- ครอบครัว "หมอกระต่าย" เตรียมเค้กแต่ต้องมาจัดในงานศพ ไม่ห้าม ส.ต.ต.จะบวชให้
- พ่อเจ้าของรถบิ๊กไบค์ดูคาติชน "หมอกระต่าย" ขายไปนานกว่า 3 ปีแล้ว
- “วิโรจน์” ลงพื้นที่-โชว์กึ๋นแก้ปัญหา หลัง คฝ.ขับบิ๊กไบค์ชน “หมอกระต่าย”
- "ชัชชาติ" อาลัย "หมอกระต่าย" ชี้วินัยจราจรหย่อนยาน จี้ปรับปรุง
- มีคดี-คนตาย บวชได้ยังไง?
หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม นครปฐม กล่าวว่า กรณีแบบนี้มีเยอะ เป็นการบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้เสียชีวิตเพื่อให้จิตใจสงบ ส่วนเรื่องคดีก็ว่ากันไปตามคดี ก่อนหน้านี้ "พระนรวิชญ์" ได้ขออนุญาติผู้บังคับบัญชาเพื่อลาบวชแล้ว ส่วนระยะเวลาการบวชนั้นขึ้นอยู่กับพระผู้บวชเอง
"กรณีนี้กฎมหาเถรสมาคม ไม่ได้ห้ามเพราะไม่ได้หนีคดี เป็นคดีอุบัติเหตุจนจิตตก จึงขอลาออกบวชได้ ส่วนขั้นตอนการออกบวชนั้น ต้องขออนุญาติพุทธศาสนาแห่งชาติ ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผลตรวจโควิด" หลวงพี่น้ำฝน กล่าว
- ถอดบทเรียน "ทางม้าลาย" มรณะ
นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก ด้านการป้องกันการบาดเจ็บ กล่าวว่า ปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตบนถนนในประเทศไทย จากรายงานของระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนประมาณ 5% เฉลี่ยปีละ 1,000 คน โดยมีผู้ประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บกว่า 1 แสนคน โดย 50% เกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
ส่วนใหญ่วัฒนธรรมคนไทย ไม่ได้จอดรถให้คนข้ามถนน ผู้รับผิดชอบสร้างถนน สร้างโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของคนใช้ทางเท้า โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้การเดินทางต้องอยู่บนถนนตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป ซึ่งคนเดินถนนถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการใช้รถใช้ถนน
ส่วนใหญ่ในเมืองไทย ไม่เห็นความสำคัญของการสร้างทางเท้า ทางม้าลาย ทางข้าม ยังไม่ได้มาตรฐานสากล ไม่มีสัญญาณไฟเตือน ไฟกระพริบ ไม่มีลูกระนาด ไม่มีเกาะให้คนยืนตรงกลาง ฯ
องค์ประกอบที่สอง คนขับขับเร็ว ไม่จอดให้คนข้ามถนน โดยทางองค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ขีดความเร็วชุมชนเมืองล่าสุด ไม่เกิน 30 กม./ชม. ซึ่งสวนทางกับพฤติกรรมคนไทยปกติ นี่จึงเป็นปัญหาใหญ่
ทั้งนี้ ต้องสร้างรับรู้ให้คนขับรถ ขับให้ช้าลง เพื่อเอื้อความปลอดภัยให้คนเดินทางเท้า
เสนอ 5 ข้อแก้ “ทางม้าลาย”
1. รณรงค์ให้หยุดรถให้คนเดินข้ามถนน
2. ขับไม่เกิน 30-50 กม./ชม. ในเขตเมือง เช่น เขตโรงเรียน วัด ชุมชน
3. ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด จริงจัง
4. ปลูกฝังสร้างวินัยให้ข้ามถนนอย่างปลอดภัย จริงจังตั้งแต่เด็ก
5. ปรับเปลี่ยนทางข้ามทุกแห่งทั่วประเทศ ให้ได้มาตราฐานสากล
ที่มา : รายการเจาะลึกทั่วไทย