ป่วยโควิด-19 "ประกันสังคม" ให้สิทธิชดเชยผู้ประกันตนอะไรบ้าง ?
ป่วยโควิด-19 "ประกันสังคม" ให้สิทธิชดเชยผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 อะไรบ้าง ? เช็ครายละเอียดที่นี่
โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แต่ชาว "ประกันสังคม" ไม่ต้องหวั่นใจไป เพราะ "สำนักงานประกันสังคม" พร้อมจ่ายชดเชยให้ ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 โดยแต่ละมาตรามีรายละเอียดเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปดังนี้
- มาตรา 33
กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
หยุดรักษาตัว เกิน 30 วันสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จาก "ประกันสังคม" นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- มาตรา 39
รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดย คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท)
ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ทั้งนี้ ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
- มาตรา 40
รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข ดังนี้
กรณีทุพพลภาพ : ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ โดยเบื้องต้นต้องจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ
- รับ 500 บาทต่อเดือน เมื่อจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ
- รับ 650 บาทต่อเดือน เมื่อจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ
- รับ 800 บาทต่อเดือน เมื่อจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ
กรณีเสียชีวิต : ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือนก่อนเสียชีวิต โดยผู้จัดการศพจะได้รับค่าทำศพด้วย
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม