สุรินทร์ เลื่อนปลดล็อก "โควิด-19" เป็นโรคประจำถิ่น - เฝ้าระวังช่วงสงกรานต์

สุรินทร์ เลื่อนปลดล็อก "โควิด-19" เป็นโรคประจำถิ่น - เฝ้าระวังช่วงสงกรานต์

สุรินทร์ เลื่อนปลดล็อก "โควิด-19" เป็นโรคประจำถิ่น ออกไปหลังสงกรานต์ และจะการประเมินอีกรอบ เพราะช่วงสงกรานต์ อาจจะมีคลาสเตอร์อีกรอบ

กรณีที่มีการประชุม คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด(ศบค. จ.สุรินทร์ ) มีนายเสริมศักดิ์ สีสันต์ รอง ผวจ.สุรินทร์ นพ.สินชัย ตัณติรัตนานนท์ สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ พร้อมคณะกรรมการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ที่โดยในที่ประชุมมีมติให้การประกาศเลื่อนการส่งเรื่องขอประกาศให้โรคโควิด – 19 เป็นโรคประจำถิ่นไปก่อน โดยให้เฝ้าระวังช่วงสงกรานต์ก่อนเนื่องจาก อัตราครองเตียงผู้ป่วยหนักยังสูง 8.6% (ต้องไม่เกิน 3%) อัตราการฉีดวัคซีน 608 ยังไม่ถึง 80% อัตราป่วยยังมีแนวโน้มสูงขึ้นยังไม่เข้าระยะ คงที่ และลดลง จึงมีมติ ให้เลื่อนการประกาศให้โรคโควิด - 19 เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งทางจังหวัดสุรินทร์เพียงเสนอ แต่ผู้ที่อนุมัติ คือ ศบค. ส่วนกลาง ว่าเราผ่านตามมาตรการไหม ถ้าไม่ผ่านก็ไม่อนุมัติให้เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งมาตรการที่จะปรับเป็นโรคประจำถิ่นนั้น ต้องมาตรการถึง 13 ข้อ ซึ่งมีอีกหลายข้อที่เรายังไม่ผ่านเกณฑ์ มาตรการดังกล่าว ในที่ประชุม จึงขอให้เลื่อนออกไปหลังสงกรานต์ และจะการประเมินอีกรอบ เพราะช่วงสงกรานต์ อาจจะมีคลาสเตอร์อีกรอบ ซึ่งก็ยังประเมินสถานการณ์ช่วงสงกรานต์ยากอยู่ ทั้งนี้อัตราการครองเตียงผู้ป่วย ของจังหวัดสุรินทร์ยังสูงอยู่ คร่าวๆ ค่าเฉลี่ยกว่า 8 % ซึ่งเกณฑ์อยู่เพียง 3 % อาจมาจากวัคซีน เข็ม 3 ที่เรายังมีตัวเลขไม่ถึง 20 % ทำให้มีผู้ป่วยหนักยังสูงอยู่ จำนวนเตียง ทั้งหมดใน โรงพยาบาล ทั้ง โรงพยาบาลสนาม CI อยู่ที่ 671 เตียง มีผู้ป่วยหนัก 71 เตียง ใส่ท่อช่วยหายใจ 8 เตียง

ทั้งนี้ ทางทีมแพทย์ยังกังวลสถานการณ์ช่วงสงกรานต์อยู่ จึงขอความร่วมมือทุกคน ก่อนกลับมาบ้าน งดไปพื้นที่เสี่ยง 7 วัน และตรวจ ATK ก่อนเดินทางจะลดความเสี่ยงลงได้มาก แต่ต้องให้เข้าใจด้วยว่าไม่ใช่ว่าเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว เราจะสบายไปไหนก็ได้ แมสไม่ใส่ ดื่มได้สบาย ซึงเป็นการเข้าใจผิดกัน เมื่อเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว เรายังต้องเข้มตามมาตรการมากขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัด แล้วอนาคตค่อยปรับผ่อนปรนอีกทีต้องทำความเข้าใจ ในส่วนนี้ก่อน และตัวชี้วัดอีกบางส่วน ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ดังนั้นเน้นสร้างความเข้าใจ คำว่าโรคประจำถิ่น ว่าต่างกันอย่างไร ในส่วนผลได้ผลเสียของการปรับเปลี่ยนโรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น นั้น ในภาคเศรษฐกิจ ส่วนลึกแล้วถ้าปรับได้ก็จะเกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้ง รายได้ห้างร้านต่างๆ ทั้งด้านแรงงาน ทั้งด้านด่านชายแดน ทำให้มีจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยโรคอื่นมากขึ้น จำนวนผู้ฉีดวัคซีนจะสูงขึ้น จำนวนยารักษาจะหลากหลายขึ้น แต่ทั้งหมดก็ต้องวิเคราะห์ หลายประการว่าเราพร้อมไหม ส่วนข้อเสีย ทำให้ประกันที่ทุกคนทำอาจมีผล ทีมหมอต้องทำงานหนักขึ้นเพราะต้องดูแลผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน

ทางจังหวัดสุรินทร์ และคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ จึงขอเลื่อนการพิจารณา การปรับเป็นโรคประถิ่น Endemic ออกไปก่อน เพื่อความพร้อมกว่านี้ ย้ำ การพิจารณา ต้องมีความพร้อมหลายๆด้าน ซึ่งการตัดสินใจ ต้องมีทีมสาธารณสุข และอีกหลายๆฝ่ายร่วมพิจารณาด้วย โดยทางจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อคนสุรินทร์ ดังนั้นถ้าไม่พร้อมเราก็ยังไม่ประกาศ ไม่ฝืนความจริงความรู้สึกคนสุรินทร์ ให้ทุกท่านสบายใจได้

ล่าสุด นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า เนื่องจากว่ามีประชาชนส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 จำนวนมากและเข็มที่ 3 ถ้าติดเชื้อแล้วก็จะไม่เป็นผู้ติดป่วยสีส้มและสีแดงเพราะฉะนั้นตัวเลขจะตรงกัน ด้วยความรอบครอบทางคณะกรรมการโรคติดต่อโดยบอกว่าขอให้ชลอไปก่อนเพราะว่ามีความเสี่ยงและยังช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง งันชลอไปหลังสงกรานต์ ก็ประเมินผู้เข้ามาจังหวัดสุรินทร์จะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาอีกหรือเปล่า ประเมินสถานการณ์ช่วงสงกรานต์ยากอยู่ ทั้งนี้อัตราการครองเตียงผู้ป่วย ของจังหวัดสุรินทร์ยังสูงอยู่ คร่าวๆ ค่าเฉลี่ยกว่า 8 % ซึ่งเกณฑ์อยู่เพียง 3 % อาจมาจากวัคซีน เข็ม 3 ที่เรายังมีตัวเลขไม่ถึง 20 % ทำให้มีผู้ป่วยหนักยังสูงอยู่ จำนวนเตียง ทั้งหมดใน โรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลสนาม CI อยู่ที่ 671 เตียง มีผู้ป่วยหนัก 71 เตียง ใส่ท่อช่วยหายใจ 8 เตียง เรายังคงมุ่งมั่นเรื่อสุรินทร์นำร่องโรคท้องถิ่น ต้องประเมินว่าเราพร้อมจึงจะส่งเรื่องไปที่ ศบค. ส่วนกลาง ว่าเราผ่านตามมาตรการไหม ถ้าไม่ผ่านก็ไม่อนุมัติให้เป็นโรคประจำถิ่นต่อไป

จากข้อมูลระหว่างวันที่ 24 ธ.ค. 64 ถึง 29 มี.ค. 65 เวลา 18.00 น. ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสม 17,389 ราย ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 331 ราย - อำเภอเมืองสุรินทร์ 116 ราย - อำเภอปราสาท 36 ราย - อำเภอท่าตูม 28 ราย - อำเภอสังขะ 22 ราย - อำเภอศีขรภูมิ 20 ราย - อำเภอจอมพระ 19 ราย - อำเภอบัวเชด 14 ราย - อำเภอกาบเชิง 13 ราย - อำเภอลำดวน 13 ราย - อำเภอสนม 12 ราย - อำเภอรัตนบุรี 11 ราย - อำเภอสำโรงทาบ 9 ราย - อำเภอชุมพลบุรี 7 ราย - อำเภอศรีณรงค์ 6 ราย - อำเภอพนมดงรัก 5 ราย อยู่ระหว่างรักษา 2,917 ราย (โรงพยาบาลสนาม/ศูนย์พักคอย 1,152 ราย) เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง จำนวน 0 ราย (สะสม 0 ราย) หายป่วยสะสม 14,434 ราย (รายใหม่ 334 ราย) เสียชีวิตสะสม 38 ราย (รายใหม่ 4 ราย) - อำเภอเมืองสุรินทร์ 3 ราย - อำเภอศีขรภูมิ 1 ราย