เงินทดแทนขาดรายได้ "ประกันสังคม" เช็กแจ้งผลการยื่น-โอนเข้าบัญชี

เงินทดแทนขาดรายได้ "ประกันสังคม" เช็กแจ้งผลการยื่น-โอนเข้าบัญชี

ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ตรวจสอบความคืบหน้า เงินทดแทนขาดรายได้ "ประกันสังคม" เช็กแจ้งผลการยื่น-โอนเข้าบัญชี

อัปเดต กรณี ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ตรวจสอบความคืบหน้า เงินทดแทนขาดรายได้ "ประกันสังคม" เช็กแจ้งผลการยื่น-โอนเข้าบัญชี

ตามที่ สำนักงานประกันสังคม ได้รับรายงานจาก ประกันสังคมจังหวัด เขตพื้นที่ว่า ผู้ประกันตนที่รักษาตัวหายจากโควิดแล้ว ไปติดต่อขอรับเงินขาดรายได้ จากประกันสังคมก็เป็นห่วงว่า เจ้าหน้าที่จะติดเชื้อจากท่านประกันตน หรือท่านจะติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่ เพราะตอนนี้โอมิครอนระบาดเร็วมาก 

เช็คสิทธิประกันสังคม "ผู้ประกันตน" ม.33 ม.39 และ ม.40 หากติดเชื้อโควิด-19 สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคมได้ภายในระยะเวลาเท่าไร และจะได้รับชดเชยอย่างไร ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่ (คลิก) คำตอบคือ เงินขาดรายได้ที่จะเบิกจากประกันสังคม ไม่ต้องห่วง สามารถยื่นได้ภายใน 2 ปี หรือไม่ต้องไปที่ประกันสังคมก็ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุด ผู้ประกันตน สอบถามกันเป็นจำนวนมากว่า เงินทดแทนขาดรายได้ จะเช็กแจ้งผลการยื่นและโอนเข้าบัญชีเมื่อไหร่อย่างไร

สำนักงานประกันสังคม โดยเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ประกันตน กรณีผู้ประกันตนที่ยื่นเอกสารขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีทดแทนการขาดรายได้ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามลำดับการยื่นเรื่องก่อน-หลัง และจะได้รับการอนุมัติช้าหรือเร็วนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณของพื้นที่เจ้าของเรื่อง 

พร้อมทั้งเอกสารประกอบการยื่นเรื่องเบิกมีครบถ้วนสมบูรณ์ หากได้รับการอนุมัติจะมีหนังสือแจ้งผลให้ทราบ และเงินจะตัดจ่ายเข้าบัญชี 5-7 วันทำการ

หากนานเกินไปยังไม่ทราบผลการอนุมัติ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม  หรือสายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้ประกันตนติดโควิดจ่ายชดเชยอย่างไร?

- ม.33

  • กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง

หยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

- ม.39

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50

โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 - ม.40

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3

พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/,ม.40)
 

เมื่อติดเชื้อโควิด-ป่วย-กักตัว-พักรักษา ยื่นขอรับเงินชดเชยจากประกันสังคมได้

 

กรอกแบบฟอร์มขอรับเงินคืน คลิกที่นี่

ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม

เงินทดแทนขาดรายได้ \"ประกันสังคม\" เช็กแจ้งผลการยื่น-โอนเข้าบัญชี

ที่มา สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน