4 ยุทธศาสตร์ 15 แนวทาง ส่งเสริมแบตเตอรี่เป็นอุตสาหกรรม New S Curve
4 ยุทธศาสตร์ 15 แนวทาง ส่งเสริมแบตเตอรี่เป็นอุตสาหกรรม New S Curve
กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำแผนปฏิบัติการการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2575 โดยได้กำหนดทิศทางในการสร้าง Demand & Ecosystem เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของไทยและมุ่งสู่เป้าหมายของความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งจะครอบคลุม 4 ยุทธศาสตร์ และ 15 แนวทาง ดังนี้
1) ด้านการใช้ : ส่งเสริมให้เกิดการใช้แบตเตอรี่ในประเทศโดยใช้ Demand ภาครัฐในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ (Demand Driven) ประกอบด้วย 6 แนวทาง ครอบคลุมใน 2 ภาคส่วน คือ ภาคระบบโครงข่ายไฟฟ้า และ ภาคยานยนต์ไฟฟ้า
- แนวทางที่ 1 : การปรับรูปแบบสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า
- แนวทางที่ 2 : การส่งเสริมการติดตั้ง BESS ร่วมกับ VRE (New VRE Integration)
- แนวทางที่ 3 : การใช้ BESS เพื่อชะลอการลงทุนขยายสายส่งและสายจำหน่ายไฟฟ้า (Transmissions Line and Distribution Line (T&D) Investment Deferral)
- แนวทางที่ 4 : การรับซื้อบริการไฟฟ้าเพื่อเสริมความมั่นคงจาก BESS (Battery Ancillary Services)
- แนวทางที่ 5 : การเปลี่ยนยานยนต์ของภาครัฐ และสัมปทานภาครัฐเป็นยานยนต์ไฟฟ้า(Government Vehicles to Electric Vehicle (EV))
- แนวทางที่ 6 : การมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับผู้ใช้ BESS ที่ผลิตในประเทศ (Direct Financial Support)
2. ด้านการผลิต : ส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการแข่งขันการผลิตของประเทศ ในห่วงโซ่มูลค่าและการผลิตแบตเตอรี่เพื่อความยั่งยืนในประเทศ ประกอบด้วย 3 แนวทาง
- แนวทางที่ 1 : การส่งเสริมความร่วมมือ Government to Government (G2G) และ Business to Business (B2B)
- แนวทางที่ 2 : การอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนโดยจัดตั้ง One-Stop-Service (Ease of Doing Business)
- แนวทางที่ 3 : การส่งเสริมโรงงานผลิต BESS ที่มีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality support by Thai Government)
3. ด้านกฎหมายและมาตรฐาน : มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทางกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ และ มาตรฐานของประเทศให้สามารถดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วย 2 แนวทาง
- แนวทางที่ 1 : การสร้างมาตรฐานสาหรับผู้ใช้งาน BESS ทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย (Standard (Production, Safety, Utilization, Waste)
แนวทางที่ 2 : การแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทางกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการต่าง ๆ ของประเทศ ที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันธุรกิจ (Revision of Regulation)
4. ด้านการวิจัย พัฒนา และสร้างบุคลากร : ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และ เป็นการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรภายในประเทศ ประกอบด้วย 4 แนวทาง
- แนวทางที่ 1 : การจัดทำ Ecosystem ให้เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนา BESS (Readiness Deployment)
- แนวทางที่ 2 : การกำหนดประเด็นวิจัยสู่การพัฒนาในอนาคต (Next Generation of ESS) ในระดับ Technology Readiness Level 1-6
- แนวทางที่ 3 : การส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่มีองค์ความรู้ BESS ในประเทศ (Human Resource Transfer)
- แนวทางที่ 4 : การร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับสถานศึกษาผลิตบุคลากรเพื่อรองรับการพัฒนา BESS (Capacity Building in High Value Battery Chain)
ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ของประเทศไทย จะส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ รองรับแนวทางของอุตสาหกรรมอนาคต หรือ New S-Curve ต่อไป
#สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน #สนพ
#เราสร้างสรรค์เพื่อทุกคน #CreateTheFutureEnergy
#กระทรวงพลังงาน