สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ผนึกพลังสร้างสัมพันธ์เครือข่ายนานาชาติ หนุนเสริม SME ไทย นำคณะหารือกับ COSMED องค์กรระดับชาติ หนึ่งในเครือข่ายผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของประเทศฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน รวมถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต นำสู่การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทยต่อไป

 

คณะผู้เดินทางเมื่อเร็วๆ นี้ ประกอบด้วย  รศ.ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงาน และนายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) ร่วมด้วย
ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ และ ดร.โสภาพรรณ สัญญาณเสนาะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ตลอดจนคณะเจ้าหน้าที่ โดยมี Ms.Caroline BASSONI, the Director of COSMED และMs Stéphanie MIRATON, the Export International and Events นำทีมงานร่วมให้การต้อนรับคณะจากประเทศไทยอย่างอบอุ่น

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

ในการประชุม Ms.Caroline BASSONI, the Director of COSMED เปิดเผยว่า COSMED เป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น เป็นสถาบันอบรมครูฝึก ตรวจสอบและติดตามเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ เชื่อมต่อและสร้างเครือข่ายให้กับภาคส่วนต่างๆ ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัท หรือแนะนำแนวทางแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจด้านเครื่องสำอาง ปัจจุบัน มีสมาชิกกว่า 1,000 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส และบางประเทศในยุโรป แบ่งเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีร้อยละ 80 และอีกร้อยละ 20 เป็นผู้ประกอบการ Intermediate Size Enterprise: ISE ประกอบด้วยผู้ผลิต หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์จำนวน 725 ราย และเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) และที่ปรึกษาอีก 291 ราย จากทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

 

Ms.Caroline กล่าวต่อไปว่า COSMED มีบทบาทในการพัฒนาและแสดงความเห็นทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องสำอาง รวมถึงทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ในทุกระดับ ระดับประเทศ : เช่น หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ระดับภูมิภาคยุโรป : เช่น SME United for Cosmetics โดย COSMED ยังเป็นตัวแทนในสหภาพยุโรป (EU Commission) เพื่อแลกเปลี่ยนและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย แนวทางปฏิบัติในฐานะผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย สำหรับการทำงาน ระดับนานาชาติ :  ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านเครื่องสำอางในหลายภาคส่วน ทั้งประเทศแคนาดา เกาหลีใต้ และล่าสุดกำลังขยายเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

นอกจากนี้ ยังให้บริการด้านมาตรฐานและการรับรอง (Standardization or the certification) อาทิ AFNOR (a French Standard), CEN (a European Standard), ISO (International Standard)

 

สำหรับแนวการปฏิบัติและเครื่องมือในการดำเนินงานของ COSMED มีการใช้กลยุทธ์และการดำเนินงานหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวก และสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ ดังนี้ เครื่องมือด้านระเบียบปฏิบัติ : จัดคู่มือต่างๆ ที่เหมาะสำหรับอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการเริ่มธุรกิจ สถาบันอบรม : สามารถจัดคอร์สอบรมทุกรูปแบบ พร้อมปรับหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของแต่ละองค์กร รายการหลักสูตรอบรม : เช่น ด้านระเบียบปฏิบัติ จุลชีวภาพ (Microbiology) การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco design) นวัตกรรม (Innovation) รายการอ้างอิง : จัดทำขึ้นจากรายนามบริษัทเครื่องสำอางในประเทศฝรั่งเศส และหนังสือให้ความรู้ (Information Book) COSMED TV : ช่องทางการสื่อสารออนไลน์ในแพลตฟอร์มยูทูบ เผยแพร่เนื้อหาที่น่าสนใจรายสัปดาห์

 

จากนั้น คณะจากประเทศไทยได้แนะนำการดำเนินงานขององค์กร เริ่มจาก รศ.ดร. วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) กล่าวว่า “สสว. เป็นหน่วยงานภาครัฐของไทยที่มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในหลากหลายมิติ เช่น นโยบายการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย การเข้าถึงแหล่งทุน การจับคู่ทางธุรกิจ การสร้างเครือข่าย การอบรมและให้คำแนะนำ ซึ่งมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเป็นจำนวนมากในประเทศไทยที่ต้องการพัฒนา สร้างความเติบโตให้กับธุรกิจของตน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ตรงตามความต้องการของตลาด”

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

ผอ.สสว. กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา สสว.พบว่าผู้ประกอบการไทยมีความสนใจในเทคโนโลยีด้านการสกัดสารเป็นจำนวนมาก รวมถึงต้องการส่งออกผลิตภัณฑ์ของตนมายังกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป จึงต้องการที่จะทราบถึง เกี่ยวกับด้านมาตรฐานที่กำหนด ใบอนุญาตหรือใบรับรองต่างๆ รวมถึงการควบคุมคุณภาพ

 

ขณะที่ ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า สถาบันฯ ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ไทย ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในหลากหลายสาขา ซึ่งในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง วว.ได้มีการจัดทำหลายโครงการตามความต้องการของผู้ประกอบการ มีสาขาหลักๆ ได้แก่ การสกัด และควบคุมคุณภาพ ในหลากหลายภูมิภาคของประเทศ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการในการพัฒนาชาหมัก (Fermented Tea) และสมุนไพรท้องถิ่นที่มีกลิ่นหอม แต่ยังคงต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมที่จะใช้พัฒนาและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ จังหวัดน่าน ได้ดำเนินโครงการเกี่ยวกับการสกัดสารจากดอกไม้ โดยใช้เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethanol) ตัวอย่างเช่น การสกัดสารจากบัวสาย พบว่าเมื่อสกัดออกมาแล้วกลิ่นจะจางหายไปในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้น จึงต้องการเทคโนโลยีเมื่อสกัดสารออกมาแล้วสามารถรักษากลิ่นได้ยาวนาน นอกจากนี้ ยังมีโครงการเกี่ยวกับมะพร้าว ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการทำหน้ากากอนามัยและใช้แล้วทิ้ง (Disposable Facemask)

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

สสว. และ วว. ร่วมหารือ COSMED  หนุนศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย

“ทั้งนี้ทุกผลิตภัณฑ์ในโครงการต่างๆ ข้างต้น ได้รับการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง และผู้ประกอบการก็มีความต้องการที่จะขยายตลาดไปในประเทศยุโรป จึงจำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานตามแนวทางของ EU การตรวจสอบและรับรองในสหภาพยุโรปและในประเทศฝรั่งเศส และการเพิ่มศักยภาพเพื่อขยายโอกาสในการส่งออกมายังผู้บริโภคในทวีปยุโรป”

 

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้ร่วมหารือ ถึงการอบรมผู้ประกอบการเครื่องสำอางในประเทศไทย โดย สสว. จะสรุปประเด็นที่ต้องการ เพื่อให้ COSMED สามารถออกแบบหลักสูตรการอบรมให้กับผู้ประกอบการไทยต่อไป

 

นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจในการสร้างความร่วมมือเครือข่ายนานาชาติ เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานระหว่างกันในอนาคต สู่การพัฒนาเพื่อยกศักยภาพ SME ไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเครื่องสำอางของไทย อย่างยั่งยืน