“ก๊าซธรรมชาติ” ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้อย่างไรบ้าง…
“ก๊าซธรรมชาติ” ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้อย่างไรบ้าง…
“ก๊าซธรรมชาติ” ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้อย่างไรบ้าง ?
1. เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศ
ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพและครอบคลุมโรงไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงในระดับภูมิภาคแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP 2022) ส่งผลให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง
- นโยบายในการส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือของเสียจากการผลิตมาผลิตเป็นไบโอมีเทนใช้ทดแทนการนำเข้า LNG ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2022) จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ
2. เสริมสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ
- จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมในแนวท่อก๊าซฯ จะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นการเพิ่มมูลค่าของก๊าซธรรมชาติ ได้ถึง 7-25 เท่า ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว
- จากศักยภาพของประเทศไทยในการเป็น Regional LNG Hub จะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 165 พันล้านบาท (ใน 10 ปี) และเกิดการจ้างงานประมาณ 16,000 คนต่อปี
- การใช้โครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติอย่างเต็มศักยภาพจะส่งผลให้ต้นทุนก๊าซฯ ลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้ค่าไฟฟ้าลดลง
3. เสริมสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศ
- ลดการปล่อยมลพิษจากการผลิตไฟฟ้าลง
ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศจากการใช้พลังงานได้ หากมีการเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน น้ำมันเตา LPG มาใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทน (Fuel Switching)
- การส่งเสริมการใช้ไบโอมีเทนจะเป็นการบริหารจัดการในการเปลี่ยนของเสียให้เป็นพลังงาน (Waste to Energy)
- ส่งเสริมให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่การขับเคลื่อนประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050
#สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน #สนพ
#เราสร้างสรรค์เพื่อทุกคน #CreateTheFutureEnergy
#กระทรวงพลังงาน #ก๊าซธรรมชาติ