AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

AIS เปิดผล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ชี้ภาพรวมค่าเฉลี่ยดีขึ้น แต่ยังต้องเร่งสร้างความเข้าใจเรื่องไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ พร้อมเพิ่มเครื่องมือเช็กสุขภาวะดิจิทัลด้วยบริการ AIS Secure Net ช่วยคนไทยวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง

"สบายดีไหม?" อาจจะไม่ใช่เพียงคำทักทายในมิติแบบเดิมเหมือนอดีต แต่ในยุคที่โซเชียลมีเดียถาโถม คำถามนี้อาจจะนัยซ่อนถึงความรู้สึกในใจ

สัดส่วนพลเมืองอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยคาดว่าจะพุ่งถึง 120 ล้านการเชื่อมต่อ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรไทยที่มี 67 ล้านคน จากข้อมูลล่าสุดของ กสทช. และมีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 8-9 ชั่วโมงต่อวัน สิ่งเหล่านี้เป็นทั้ง "โอกาส" และ "ภัยคุกคาม" ของชาวเน็ตไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งในยุคที่โลกหมุนด้วยคอนเทนต์อย่างมหาศาล

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลชั้นนำของไทยที่มุ่งส่งเสริมการใช้งานที่ถูกต้อง ปลอดภัย และเหมาะสมให้กับลูกค้าและคนไทย ภายใต้โครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ได้เอาจริงเอาจังที่จะเข้ามาช่วยให้คนไทยเท่าทันกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เข้าสู่ยุคดิจิทัล ยุคที่ความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน

AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

อาชญากรรมออนไลน์ทวีความรุนแรง

จากผลสำรวจล่าสุดของ กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 พบว่า ประเทศไทยติดอันดับที่ 6 ของโลกในด้านการเกิดภัยทางการเงินทางออนไลน์ในปี 2566 สะท้อนให้เห็นถึงปัญหา อาชญากรรมทางไซเบอร์ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าประเทศไทยจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็วก็ตาม

จากข้อมูลสถิติการแจ้งความคดีออนไลน์ พบว่า จำนวนคดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานที่มักตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่หลอกลวงให้โอนเงิน หรือลงทุนในโครงการที่ไม่น่าเชื่อถือ

ทั้งนี้ รูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อย ได้แก่ การหลอกให้โอนเงินเพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการ, หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน, การหลอกให้กู้เงิน, หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และข่มขู่ผ่านโทรศัพท์ ซึ่งมิจฉาชีพมักจะใช้ช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์, อีเมล, และโซเชียลมีเดียในการติดต่อกับเหยื่อ

สานเจตนารมณ์เพื่อลูกค้าและคนไทย

ล่าสุด AIS ได้เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index 2024 เป็นปีที่ 2 เครื่องวัดผลทักษะการใช้งานในโลกออนไลน์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างกว่า 50,000 คนทั่วประเทศ และทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตอกย้ำเจตนารมณ์การทำงาน เดินหน้าส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่สามารถนำผลการศึกษาไปต่อยอดเพื่อสร้างความรู้ ทักษะ รวมถึงเส้นทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า การทำงานของ AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยยิ่งทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งในมุมของการ สร้างภูมิปัญญาหรือ Wisdom ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่รุดหน้าอย่างก้าวกระโดด ที่จะนำไปสู่การสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้เท่าทัน ภัยไซเบอร์ และในมุมของการใช้ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีมาส่งมอบเครื่องมือปกป้องภัยไซเบอร์และมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งานออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ

โดยมีกรอบแนวคิดในการเก็บข้อมูลของ Thailand Cyber Wellness Index ดัชนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัลโดยมี 7 ด้าน ได้แก่ การใช้ดิจิทัล, ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์, การรู้เท่าทันดิจิทัล, ความเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล, การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล, และ การแสดงออกทางดิจิทัลวัดผล 3 มิติทั้ง ความรู้, ทักษะ และทัศนคติ

AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

สุขภาวะดิจิทัลคนไทยยังน่าเป็นห่วง

ทั้งนี้ จากดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index ฉบับแรกของไทยที่ทำให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยยังคงต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหยิบเอาผลการศึกษาของเราไปต่อยอดในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ได้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ หรือแม้แต่พื้นที่อย่างสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน

จากการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และการวัดประเมินผลในการออกแบบระเบียบวิธีวิจัย กรอบแนวคิด จนสามารถพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยออกมาได้ 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับ Advanced ระดับ Basic และระดับ Improvement ที่จะบ่งบอกถึงความสามารถในการใช้งานดิจิทัลของประชาชนไทยแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งพบว่า ระดับสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทยในปี 2567 มีค่าเฉลี่ย 0.68 อยู่ในระดับพื้นฐาน (Basic) เพิ่มจาก 0.51 ในปี 2566

แม้ปีนี้ผลศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีการพัฒนาความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลเพิ่มขึ้น โดย 3 กลุ่มอายุที่มีค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางดิจิทัลต่ำที่สุด ได้แก่ อันดับ 1 เด็กอายุ 10-12 ปี ค่าเฉลี่ยที่ 0.53 อันดับ 2 เยาวชนอายุ 13-15 ปี ค่าเฉลี่ย 0.58 และอันดับ 3 วัยเกษียณอายุ 60 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ย 0.59 ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อภัยที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งง่ายต่อการคาดเดา แม้แต่การไม่ทราบว่าการเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัย ลิงก์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น

AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

เพิ่มเครื่องมือช่วยเช็กสุขภาวะดิจิทัล

นางสายชล อธิบายเพิ่มเติมว่า เราจึงทำงานควบคู่กันทั้งการส่งเสริมทักษะความรู้ และพัฒนาเครื่องมือปกป้องการใช้งาน ทำให้วันนี้เราพัฒนาเครื่องมือ "Digital Health Check" รวมถึงนำเสนอเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยบริการ AIS Secure Net เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง พร้อมทั้งแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าและคนไทย

AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

วันนี้ลูกค้าสามารถสมัครใช้งาน AIS Secure Net ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงกด *689*6# รวมถึงการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG ชูจุดเด่นปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานออนไลน์ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ ในราคาสุดคุ้มเดือนละ 39 บาทเท่านั้น สมัครง่ายๆ เพียงกด *689*10# โทรออก

"AIS ยังคงมุ่งมั่นในการเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย พร้อมเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้คนไทยสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ทั้งมาตรการยืนยันตัวตน การควบคุมสัญญาณบริเวณรอยต่อชายแดน หรือการสนับสนุนการทำงานของพี่ๆ ตำรวจโดยทีมวิศวกร ทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ AIS เพื่อให้ภัยไซเบอร์หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน" นางสายชล กล่าวทิ้งท้าย

AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

AIS เปิดผล TCWI 2024 พบคนไทยเกินครึ่งยังน่าห่วง ขาดความเข้าใจไซเบอร์ ซีเคียวริตี้