โพลระบุ วิกฤติ 'โคโรน่า' ประชาชนกว่าครึ่ง เชื่อมือหมอ-สาธารณสุขไทย

โพลระบุ วิกฤติ 'โคโรน่า' ประชาชนกว่าครึ่ง เชื่อมือหมอ-สาธารณสุขไทย

สํานักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นําเสนอผลสํารวจภาคสนาม เรื่องเสียงประชาชนต่อโรค "โคโรน่า" จากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ พบว่าเกินครึ่งของกลุ่มตัวอย่าง เชื่อมือหมอ-สาธารณสุขไทย และพอใจการทำงานของรัฐบาล

สํานักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสํารวจภาคสนาม เรื่อง เสียงประชาชนต่อโรค "โคโรน่า" กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดําเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ด้วยระบบ Net Super Poll จํานวน 5,968 ตัวอย่าง และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จํานวน 1,302 ตัวอย่าง ดําเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา พบว่า

158064530635

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.6 คิดว่าช่วงเวลาของการระบาดโรคโคโรน่าจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่ ร้อยละ 40.4 คิดว่าจะระบาดอีกนาน เป็นช่วงระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.7 มีความ ตื่นตัวดูแลสุขภาพมากขึ้น ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงคนหนาแน่น แหล่งท่องเที่ยว เวลาทาน อาหารร่วมกับผู้อื่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 12.3 ยังเฉย ๆ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ไม่ตื่นตัวอะไร

ที่น่าสนใจคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ กระทรวงสาธารณสุขไทย หมอไทยเก่ง เชื่อมือหมอ ระบบสาธารณสุขไทยดี คุมโรคระบาดได้อยู่ ร้อยละ 57.9 ในขณะที่ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 42.1

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.7 เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทํางานเต็มที่แล้ว และร้อยละ 63.6 เห็นว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขทํางานเต็มที่แล้ว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กล่าวด้วยว่า ผลการสํารวจประมาณการ “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll เกี่ยวกับโรคระบาดโคโรน่า พบว่า มีจํานวนคนที่ ข้อมูลโรคระบาดโคโรน่าเข้าถึงในโลกโซเชียลเพิ่มขึ้นจาก 21,602,083 คนหรือประมาณ 21 ล้านกว่าคนใน วันที่ 25 มกราคม สูงขึ้นมาอยู่ที่ 22,998,547 คน หรือเกือบ 23 ล้านคนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ผอ.ซูเปอร์โพล ยังกล่าวว่า พฤติกรรมการพูดคุยของคนในโลกโซเชียลเป็นเชิงบวกต่อ การตื่นตัวและใส่ใจสุขภาพมากขึ้นร้อยละ 54.2 ในขณะที่เป็นข้อความเชิงลบอยู่ที่ร้อยละ 45.8 ซึ่งถือว่าเป็น จํานวนมากและที่น่าห่วงคือ กลุ่มคนอิทธิพลในโลกโซเชียลของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลส่วนใหญ่จะโจมตีรัฐบาล และเผยแพร่ข้อมูลน่ากลัวเกี่ยวกับโรคระบาดโคโรน่า แต่ข้อมูลจากสํานักข่าวกระแสหลักจะให้ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์เชิงเฝ้าระวังป้องกันมากกว่า

อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนในโลกโซเชียลกลางๆ ไม่ฝักใฝ่การเมือง จะส่งข้อความส่วนใหญ่เป็นเรื่องการแนะนําใส่หน้ากากอนามัยป้องกันได้ทั้งฝุ่นและโรคระบาด นอกจากนี้ ยังค้นพบข้อความให้กําลังใจเตือนให้ระวังการติดเชื้อและการให้กําลังใจกันต่อคนไทยและต่างชาติมากกว่าจะ มองเป็นเรื่องการเมือง เช่น ใส่หน้ากากอนามัย คนจีนเขาไม่กล้าด่ารัฐบาลของเขา เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง เขาแยกแยะออก เป็นต้น