เช็คด่วน! รวมมาตรการช่วยเหลือ ‘ลูกหนี้ธุรกิจ-เอสเอ็มอี’ ของทุกธนาคาร
ลูกหนี้ธุรกิจ และเอสเอ็มอี เช็คด่วน! รวมมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ของธนาคารทุกแห่ง
เมื่อการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโคโรน่า หรือโรคโควิด-19 นอกจากสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะวันนี้ (24 มีนาคม 2563) กระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีก 106 ราย ทำให้ปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรวมทั้งหมด 827 ราย ทั้งนี้ผู้ป่วยได้ขยายวงกว้างไปทั้งหมด 47 จังหวัดแล้ว โดยพบมากที่สุดที่กรุงเทพมหานคร
ขณะเดียวกันสภาวะวิกฤติเช่นนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ อีกทั้งเมื่อกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และอีกหลายจังหวัด ได้ประกาศปิดพื้นที่เสี่ยงหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนต์ สถานบันเทิง ร้านนวด คาราโอเกะ สนามมวย เป็นต้น ยิ่งทำให้ภาคธุรกิจต้องเจอมรสุมครั้งใหญ่
โดยขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ได้อัพเดทมาตรการช่วยเหลือของบรรดาสถาบันการเงินและธนาคาร ในการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจทุกราย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดใหญ่
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ได้รวบรวมมาตรการต่างๆ แยกตามธนาคารดังนี้
1.ธนาคารกรุงเทพ
- สินเชื่อเดิมที่มีกับธนาคาร พักชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
- ให้สินเชื่อเพิ่ม
- ลูกหนี้ SMEs สนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติมตามโครงการ "สินเชื่อบัวหลวง SME บรรเทาทุกข์จากภาวะเศรษฐกิจ" เพื่อช่วยเหลือด้านเงินทุนและเสริมสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการที่ธุรกิจได้รับผลกระทบ วงเงินต่อรายสูงสุด 30 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR -1% ต่อปี หรือพิจารณาผ่อนผันตามความเหมาะสมแต่ละกรณี
- สำหรับลูกหนี้รายใหญ่พิจารณาสินเชื่อเพิ่มตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
2.ธนาคารกสิกรไทย
-
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ (ประเภทเงินกู้) : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน
-
วงเงินหมุนเวียน (ประเภทตั๋ว) : ขยายตั๋วได้ไม่เกิน 12 เดือน
-
สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักร : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน
3.ธนาคารไทยพาณิชย์
ลูกค้าธุรกิจ
- พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุด 12 เดือน
- ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน
- ขยายระยะเวลาวงเงินหมุนเวียน (P/N, T/R, P/C) สูงสุด 6 เดือน
ผู้ประกอบการรายย่อย
- พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน
4.ธนาคารกรุงไทย
-
พักชำระหนี้เงินต้นตามระดับผลกระทบ ทั้งนี้ไม่เกิน 12 เดือน
-
ขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้สอดคล้องกับธุรกิจ
-
สำหรับลูกค้ารายที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเดิม สามารถขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปได้อีก 5 ปี โดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และเป็นไปตามเกณฑ์ของ บสย.
5.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้กำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมโครงการไว้ ดังนี้
- เป็นลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ (ยกเว้น Business Banking) ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากภาวะเศรษฐกิจเป็นการชั่วคราว
- ปัจจุบันไม่ได้มีสถานะเป็นลูกหนี้ NPL ของธนาคาร
- ไม่ใช่ลูกหนี้ทุจริตหรืออยู่ในระหว่างขั้นตอนทางกฎหมายซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้หรือเป็นเหตุให้ลูกหนี้ล้มละลาย รวมถึงไม่มีรายชื่ออยู่ใน Blacklist หรือ Business Fraud
มาตรการผ่อนปรน เงื่อนไขในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้พิจารณาตามความรุนแรงของปัญหาเป็นรายกรณี โดยให้อยู่ภายใต้กรอบดังต่อไปนี้:
- วงเงินสินเชื่อไม่หมุนเวียน (Non-Revolving Facility)
- ลดอัตราดอกเบี้ยได้สูงสุดไม่เกิน 2% จากอัตราดอกเบี้ยเดิม เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
- ยอดหนี้ค้างชำระก่อนลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของโครงการฯ สามารถจ่ายชำระในช่วงท้ายของอายุสัญญาได้
- ผ่อนปรนการชำระเงินต้น เป็นระยะเวลารวมไม่เกิน 12 เดือน
- ลดจำนวนเงินผ่อนชำระ เป็นระยะเวลารวมไม่เกิน 12 เดือน
- ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ เป็นระยะเวลารวมไม่เกิน 12 เดือน
- การขยายอายุสัญญาสำหรับวงเงินที่ค้ำประกันโดย บสย. ภายในกรอบอายุของ บสย. โครงการนั้นๆ
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเป็นอัตราดอกเบี้ยปกติ พร้อมทั้ง ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมพิธีการสินเชื่อ
- วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Facility)
- การขยายวันครบกำหนดชำระของธุรกรรมสินเชื่อ สามารถขยายได้ครั้งละไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันครบกำหนดชำระเดิม ทั้งนี้ขยายได้ไม่เกินอายุเดิมของธุรกรรม
- การปรับวงเงินจากระยะสั้นเป็นสินเชื่อระยะยาว วงเงินของสินเชื่อระยะยาวต้องไม่เกินไปกว่าภาระสินเชื่อที่ปรับมา ทั้งนี้อายุของวงเงินสินชื่อระยะยาวต้องไม่เกิน 12 เดือน
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเป็นอัตราดอกเบี้ยปกติ พร้อมทั้ง ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมพิธีการสินเชื่อ
ระยะเวลาของโครงการ สิ้นสุดธันวาคม 2564
6.ธนาคารยูโอบี
- พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
- ลดดอกเบี้ยและค่าปรับ
- ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระเงินกู้ เช่น ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระรายงวด ขยายระยะเวลาการชำระเงินกู้ เป็นต้น
7.ธนาคารธนชาติ
- สินเชื่อ SMEs รายย่อย
- Term loan : พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน
- O/D ลดอัตราดอกเบี้ยลง 1.50% จากสัญญาเดิม ระยะเวลา 3 เดือน (ยกเว้น O/D ที่มีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน) - สินเชื่อลูกค้ารายใหญ่
- Term loan : พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาเงินกู้สูงสุด 6 เดือน
- Short term loan (Working Capital & Trade Finance): ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
8.ธนาคารทหารไทย
สินเชื่อลูกค้า SME
- พักชำระหนี้เงินต้นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน (6-month grace period) และขยายเวลาชำระหนี้ออกไปอีก 6 เดือน
- วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) ลดอัตราดอกเบี้ยลง 1.50% จากสัญญาสินเชื่อปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
สินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
- กรณีมีวงเงินกู้ระยะยาว (Term Loan) ขอพักชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 เดือนและขอขยายเวลาการผ่อนชำระออกไปได้อีก 6 เดือน สูงสุดได้ 2 ครั้ง รวม 12 เดือน (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคาร)
- กรณีมีวงเงินกู้ระยะสั้น ODB, O/D, RPN ธนาคารขยายเวลาชำระเงินให้ 3 เดือน สูงสุดได้ 2 ครั้ง รวม 6 เดือน และอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
- กรณีมีวงเงินกู้ Trade Finance ธนาคารขยายเวลาพักชำระเงินให้ 3 เดือน สูงสุดได้ 2 ครั้ง รวม 6 เดือน
- กรณีมีวงเงินกู้ LC: Letter of Credit ที่ครบกำหนดชำระเงิน สามารถแปลงวงเงิน LC เป็นวงเงิน TR ได้ โดยมีอายุวงเงิน TR ไม่เกิน 6 เดือน
ระยะเวลาโครงการ: 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2563
โดยมีการกำหนดเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
- เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า
- ประกอบธุรกิจบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ธุรกิจร้านค้าปลีกสำหรับนักท่องเที่ยว,ธุรกิจผลิตภัณฑ์การเกษตร, ธุรกิจการขนส่ง, ธุรกิจเช่ารถ หรือธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
9.ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย
ลดการผ่อนชำระหนี้
- พักชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน จากนั้นขยายระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 24 เดือน
- ขยายระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 24 เดือน(สามารถลดชำระค่างวด หรือชำระเฉพาะดอกเบี้ย หรือ เงินต้นได้)
เสริมสภาพคล่อง
- ให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม 2 แสน - 30 ล้านบาท ผ่อนชำระไม่เกิน 8 ปี
- ระยะเวลารับสมัครสินเชื่อ 1 มีนาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
ลดค่าธรรมเนียมตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ที่กรมที่ดินเหลือ 0.01%
10.ธนาคารออมสิน
ลูกค้ารายย่อย/ สินเชื่อบุคคล/ สินเชื่อ SMEs/ สินเชื่อธุรกิจ
- พักเงินต้น 2 ปี จ่ายดอกเบี้ยรายเดือน 50%-100%
- ขยายระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 4 ปี และ Cash back 20 % ให้แก่ลูกหนี้ที่ชำระดอกเบี้ย 100% เมื่อชำระหนี้ได้ตามสัญญาทุก 6 เดือน เป็นเวลา 1 ปี ทั้งนี้เมื่อคืนเงิน (Cash back) แล้วดอกเบี้ยที่ธนาคารได้รับชำระ ต้องไม่ต่ำกว่า 4% ต่อปี (ระยะเวลาลงทะเบียน 16 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563)
- ให้ลูกค้าเดิมกู้วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อเดือน (Flat rate) ปลอดชำระ 6 เดือน ชำระคืนเงินกู้ ไม่เกิน 5 ปี (ระยะเวลา 16 มีนาคม 2563 - 31 ตุลาคม 2563)
11.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ครอบคลุมลูกหนี้เกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการและสถาบัน
- ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ไม่เกิน 20 ปี ปลอดเงินต้นไม่เกิน 3 ปีแรก
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
- ให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือค่าใช้จ่ายประกอบอาชีพ
12.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
- พักชำระหนี้เงินต้นเฉพาะบัญชีสินเชื่อระยะยาวสูงสุด 12 เดือน และให้ลูกหนี้ชำระเฉพาะดอกเบี้ย
- ขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ธุรกิจ และขยายระยะเวลาค้ำประกันสำหรับลูกหนี้ที่มี บสย. ค้ำประกันโครงการ PGS5 - PGS7 ออกไปอีก 5 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
- ให้สินเชื่อใหม่เพื่อเสริมสภาพคล่องคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นิติบุคคล 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก วงเงิน 1.0 ลบ. ต่อราย และบุคคลธรรมดา 5 % ต่อปีใน 3 ปีแรก วงเงิน 0.5 ลบ. ต่อราย ระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 7 ปี
13.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
- พักชำระหนี้เงินต้นและชำระเฉพาะกำไรนานสูงสุด 12 เดือน
- ยกเว้นค่าชดเชย ค่าผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้น
- ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบรุนแรง โดยจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นรายกรณี
- ยื่นคำขอตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ณ สาขาของธนาคารทั่วประเทศ โดยมีระยะเวลาดำเนินการตามมาตรการและจัดทำนิติกรรมไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564
- ให้สินเชื่ออัตรากำไรเริ่มต้น 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก เพื่อเสริมสภาพคล่องและลงทุน
- ทั้งนี้ การช่วยเหลือทางการเงินขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและดุลยพินิจตามที่ธนาคารกำหนด
14.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
- มาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อเป็นระยะเวลา 12 เดือน สำหรับลูกค้า SMEs เดิม ของ บสย. ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ได้แก่ ธุรกิจบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นลูกค้า บสย. ที่ถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม 2563
- มาตรการขยายระยะเวลาการค้ำประกันโครงการค้ำประกัน PGS 5-7 ขยายระยะเวลาการค้ำประกันนานสูงสุด 5 ปี และไม่คิดค่าธรรมเนียมในช่วงเวลาต่อขยาย
- มาตรการ "ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย" สำหรับลูกค้า SMEs ที่ต้องการสินเชื่อใหม่และได้รับการผ่อนปรับเงื่อนไขชำระหนี้
- ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปี
- วงเงินค้ำประกันสูงสุด 30 ลบ.ต่อราย
- สินเชื่อใหม่ได้รับการค้ำประกันความเสียหาย เพิ่มขึ้นเป็น 40% ของสถาบันการเงิน
15.ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ.
ลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ ลูกหนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- พิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้ของสินเชื่อคงค้างเป็นรายกรณี
- พิจารณาเพิ่ม credit facilities เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องเป็นรายกรณีตามนโยบายของธนาคาร
นอกจากนี้ธนาคารทิสโก้, ธนาคารซีไอเอ็มบี (ไทย) ก็ช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจเช่นเดียวกัน โดยพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณี ส่วนธนาคารเกียรตินาคินได้ออกมาตรการช่วยลูกหนี้ เป็นการเฉพาะธุรกิจอพาร์ตเมนต์โรงแรม
ที่มา : bot