ไม่ได้รับสิทธิ! ‘เราไม่ทิ้งกัน’ สถานะยอดฮิตที่ยังรอคำอธิบาย

ไม่ได้รับสิทธิ! ‘เราไม่ทิ้งกัน’ สถานะยอดฮิตที่ยังรอคำอธิบาย

แจ้งสิทธิ “เราไม่ทิ้งกัน” วุ่น แจ้งลงทะเบียนไว้อาชีพหนึ่ง กลับหมดสิทธิเพราะอีกอาชีพ “เกษตรกร” เหตุผลยอดนิยมที่หลายคนสงสัยว่ารัฐใช้เกณฑ์อะไรในการเลือก

หลังจากระบบลงทะเบียน เราไม่ทิ้งกัน รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เริ่มทยอยคัดกรอง และจ่ายเงินให้กับผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ และชื่อบัญชีตรงกับชื่อลงทะเบียน โดยเริ่มจ่ายเงินล็อตแรกไปในวันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมา โดยมีผู้ที่ได้รับเงินเยียวยาในรอบนี้ไปกว่า 1.4 ล้านรายชื่อ
   
   
         
ขณะเดียวกัน ระบบลงทะเบียน เราไม่ทิ้งกัน ก็ยังได้ทยอยตรวจสอบสถานะ และแจ้งการขอข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งแจ้งแก้ไขข้อมูลให้กับผู้ที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว แต่ยังจ่ายเงินไม่ได้เพราะชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อที่ลงทะเบียนอีกด้วย อีกทั้งผู้ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิระบบก็เริ่มทยอยแจ้งผล พอๆ กับความผิดหวัง และคำถามคาใจถึงหลักเกณฑ์พิจารณา ความมั่นใจการตรวจสอบของผู้ลงทะเบียนที่ไม่ได้รับสิทธิยังติดใจกับผลการคัดกรองของระบบ 
   
158668796423
     
  
ความเห็นมากมายที่ถูกส่งผ่านมาทางกล่องข้อความของ เพจกรุงเทพธุรกิจ ตลอด 5 วันนับตั้งแต่ เราไม่ทิ้งกันเริ่มจ่ายเงินเยียวยาล็อตแรก นอกจากจะเป็นความคืบหน้าของการตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงข้อมูล ชื่อบัญชี ผลกระทบ เรื่องของการไม่ได้รับสิทธิก็กลายเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ถูกถามกันมาอย่างมาก 
ผู้ลงทะเบียนรายหนึ่งเล่าว่า ตนเองประกอบอาชีพขับแท็กซี่ และลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาทไป แต่หลังจากระบบตรวจสอบแล้ว กลับไม่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับสิทธิเพราะเป็นเกษตรกร! สร้างความสงสัยให้กับเจ้าตัวเป็นอย่างมาก และไม่รู้ว่าจะต้องติดต่อสอบถามข้อมูลจากที่ไหน เพราะเบอร์โทรศัพท์ของโครงการฯ ก็ไม่ว่างอยู่ตลอด 
    
บางรายส่งข้อความมาตัดพ้อว่า “ดิฉันเป็นส่วนนึงของคนที่โดนตัดสิทธิออกจากการรับเงินเยี่ยวยาทั้งๆ ที่ฉันค้าขายต่างจังหวัด และต้องออกไปยังจุดเสี่ยง แต่เนื่องจากทางรัฐบาลขอหั้ยหยุดอยู่บ้านเพื่อที่จะลดการติดเชื้อจากโควิด
    
158668800213
   
แต่ด้วยเหตุไหนทำไมถึงโดนตัดสิทธิออกค่ะหรือว่าอาชีพค้าขายไม่โดนผลกระทบหรอค่ะช่วยหั้ยความยุติธรรมกับประชาชนด้วยนะค่ะตอนนี้แย่กันหมดอาชีพค้าขายโดนตัดสิทธิหลายคนค่ะ ขอความเมตตาด้วยนะค่ะ”
     
ขณะที่อีกคนตั้งข้อสังเกตถึงระบบตรวจสอบของรัฐว่าใช้เกณฑ์ไหนมาตัดสิน เพราะจากกรณีของเจ้าตัวนั้นทำงานในห้าง มีผลกระทบจากโควิด เป็นลูกจ้างรายวัน ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม แต่ได้รับข้อความแจ้งว่า ไม่ได้รับสิทธิเพราะเป็นเกษตรกร
    
“แล้วสิ่งที่ได้มาคืองงมากกับการตรวจสอบระบบของภาครัฐ” 
    
ส่วนผู้ลงทะเบียนอีกคนหนึ่งนั้น อธิบายว่า ตนเองเรียนสมทบ ทำงานเอง แต่โดนตัดสิทธิออกเพราะเป็นนักศึกษา
    
“เขาน่าจะมีมาตรการสำหรับคนเรียนสมทบเสาร์อาทิตย์นะคะ แล้วนี่ดันทำขนมขาย ซวยไปค่ะ”
โดยส่วนใหญ่เป็นความสงสัยเรื่องของระบบตรวจสอบสิทธิ์ และหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนดว่าจะมีความแม่นยำ และถูกต้องแค่ไหน ซึ่งหลายคนยอมรับว่า การถูกตัดสิทธิ์ในส่วนนี้นั้นกระทบกับการใช้ชีวิตในช่วงนี้ของพวกเขาจริงๆ 
    
“อยากถามรัฐบาลมากคับว่าคุณเอาอะไรมาว่าพวกเราไม่มีผลกระทบกับโควิดผมทำอาชีพค้าขายจริงวิ่งรถเล่ด้วยแล้วคุณให้อยู่บ้านหยุดเชื่อถ้าออกขายก้อต้องวิ่งขายขึ้นเหนือหรือไปในพื้นที่เสี้ยง แต่คุณกับตัดสิทธ์บ้านผมไม่ได้เลยสักคนแล้วจะเอาอะไรกิน
   
แต่บ้างบ้านได้กันทั้งบ้าน 4-5 คนทั้งที่เขาไม่ได้เดือดร้อนเหมือนพวกผมในหมู่บ้านทำอาชืพค้าขายกันแทบทั้งหมู่บ้านแต่ก้อไม่มีใครได้เลยคุณเอาอะไรมาวัดว่าพวกผมไม่เดือดร้อน พวกผมเป็นคนหาเช้ากินค่ำแต่มาเจอสภาวะแบบนี้พวกผมก้อเดือดมากนะเพราะออกขายของไม่ได้เพราะคนก็ไม่กล้าซื้อเราด้วย
   
ส่วนพวกที่เขาไม่มีผลกระทบเท่าพวกผมทำไมเขาได้กันทุกคนอยากจะถามต้องรอให้คนจนอย่างพวกผมตายกันก่อนใช่ไหมคุณถึงจะคิดได้” ข้อความจากผู้ลงทะเบียนรายหนึ่ง
    
158668803697
   
ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังออกมาเผยความคืบหน้า ความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท หลังจากการตรวจสอบและคัดกรองตามหลักเกณฑ์แล้วพบว่า​ในรอบที่ 1 ได้มีการตรวจสอบคัดกรองไปแล้ว 7.99 ล้านราย โดยมีกลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์ 4.78 ล้านราย เนื่องจากได้รับการดูแลผลกระทบจาก Covid-19 โดยรัฐบาลผ่านช่องทางอื่น​ เช่น ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ ผู้ได้รับสิทธิ์ประกันสังคม เกษตรกร เป็นต้น หรือกลุ่มที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น นักเรียน นักศึกษา ซึ่งยังคงมิได้ประกอบอาชีพเป็นหลัก และส่วนหนึ่งได้รับการดูแลผ่านช่องทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือกลุ่มที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น ผู้ค้าขายออนไลน์
   
158668807484
โดยเฉพาะในประเด็นเกษตรกรที่สร้างข้อสงสัยอย่างมากนั้น ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า เกษตรกรจะมีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทุกปีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการขึ้นทะเบียนจะเป็นราย “ครอบครัว” โดยให้หัวหน้าครอบครัวเป็นคนมาขึ้นทะเบียนและในการกรอกรายละเอียดสมาชิกในครอบครัว จะให้ระบุด้วยว่ามีสมาชิกในครอบครัวกี่คน เป็นใครบ้าง และสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรมมีกี่คน คือใครบ้าง
ที่ผ่านมารัฐบาลใช้ฐานข้อมูลเกษตรกรชุดเดียวกันนี้ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นค่าเพาะปลูก ค่าเก็บเกี่ยว ค่าปัจจัยการผลิต เป็นต้น ดังนั้น ในการคัดกรองของมาตรการเยียวยา 5,000 บาท​ กำหนดหลักเกณฑ์ให้ครอบครัวที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรม ถือว่าเป็นกลุ่มเกษตรกร ไม่ผ่านเกณฑ์และจะมีการดูแลโดยมาตรการเยียวยากลุ่มเกษตรกรโดยเฉพาะที่จะออกมาเร็วๆ นี้