กรมการแพทย์เผย อาการผู้สูงอายุติด'โควิด-19' อาจไม่ตรงไปตรงมา

กรมการแพทย์เผย อาการผู้สูงอายุติด'โควิด-19' อาจไม่ตรงไปตรงมา

กรมการแพทย์เผยผู้สูงอายุติดโควิด-19 อาการอาจไม่ตรงไปตรงมา อาจไม่มีไข้ ตัวไม่ร้อน ไอไม่ชัด บอกไม่ได้ว่าเจ็บคอ ต้องสังเกตอาการอื่นร่วม แนะแนวทางดูแลคนสูงวัยช่วงโควิดระบาด


เมื่อเวล13.30 น. วันที่ 20 เมษายน 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด-19 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน แต่จากการวิเคราะห์ของกรมควบคุมโรค กลุ่มที่มีอัตราเสียชีวิตมากที่สุด แต่จำนวนป่วยไม่มาก คือกลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไป อัตราการเสียชีวิต 12 % ผู้ที่อายุมากกว่า 80-89 ปี 24 % ในการดูแลผู้สูงอายุหลักการหลักการโดยทั่วไป มุ่งเน้น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ป้องกันการติดเชื้อ และ2.ป้องกันการถดถอยของร่างกายและสมอง เนื่องจากการเก็บตัวอยู่บ้านเป็นเวลานาน โดยใช้หลัก 5 อ. ประกอบด้วย อาหาร เน้นทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 


อารมณ์ พยายามอย่าให้เครียด ถ้าเครียดให้มีคนให้คอยระบาย และติดตามข่าวสารแต่พอควร อย่าใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกิน ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ ออกกำลังกาย ช่วงนี้ควรออกภายในบ้าน เช่น ซอยเท้าอยู่กับที่ แกว่งแขวน เอนกายพักผ่อน ที่พอเหมาะพอควรโดยนอนให้ได้วันละ 7-9 ชั่วมง และออกห่างสังคมนอกบ้าน ถ้าไม่จำเป็นอย่าออกจากบ้าน ถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้านต้องเว้นระยะทางกาย และใส่หน้ากากผ้า หรือเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือเมื่อทำกิจกรรมนอกบ้าน 

การดูแลผู้สูงอายุในช่วงโควิด 19 ระบาด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มช่วยเหลือตนเองได้ดี แม้สภาพร่างกายดูเหมือนปกติ แต่พลังสำรองร่างกายน้อยกว่ากลุ่มวัยอื่น จึงมีโอกาสป่วยรุนแรงและสียชีวิตสูง กว่ากลุ่มวัยอื่นหากติดเชื้อ ขอให้พยายามเก็บตัวอยู่บ้าน 2.กลุ่มติดบ้าน มีโอกาสรับเชื้อจากภายนอกน้อย แต่ต้องระวังคนในครอบครัวนำเชื้อมาติด โดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะมักแสดงอาการน้อย การระวังตัวต่ำ และผู้สูงอายุมักเอ็นดูคลุกคลี และ 3.กลุ่มติดเตียง แยกย่อยเป็น กลุ่มดูแลที่บ้าน จัดคนดูแลใกล้ชิดโดยเฉพาะ ซึ่งต้องระวังตัวจากการติดเชื้อและป้องกันการแพร่เชื้ออย่างเข้มข้น เพราะเว้นระยะห่างจากผู้สูงอายุได้ยาก เมื่อผลัดเปลี่ยนนคนดูแลต้องระวัง ถ้าผู้ดูแลป่วยจะติดผู้สูงอายุ จึงต้องให้ผู้ดูแลวัดไข้ ล้างมือฟอกสบู่ก่อนเข้าดูแล และกลุ่มดูแลที่สถานดูแลผู้สูงอายุ จะต้องคัดกรองผู้มาเยี่ยม คัดกรองบุคลากรและเฝ้าระวังอาการผู้สูงอายุ หากสงสัยติดเชื้อต้องแยกห้อง แยกของใช้ และปรึกษาแพทย์ทันที 

“ที่สำคัญคือการเฝ้าระวังอาการของผู้สูงอายุ ดูแอลกาอรกผู้สูงอายุโดยทั่วไปกคลายั้กบคนทั่วไป แต่จะปัญหานิดหน่อย เนื่องจากผู้สูงอายุมากๆภูมิต้านทานจะไม่ดี บางทีอาการจะไม่ชัดเหมือนกับคนวัยทำงาน อาจไม่มีไข้ ตัวไม่ร้อน ไอไม่ชัด บอกไม่ได้ว่าเจ็บคอ จึงควรสังเกตอาการ จากอาการหายใจเร็วหรือหอบหรือไม่ สังเกตอ่อนเพลียหรือไม่ เบื่ออาหาร หรือรับอาหารได้น้อยลงหรือไม่ ซึมสับสนเฉียบพลัน อารมณ์เปลี่ยนแปลงหรือไม่ ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลที่ดูแลประจำ สายด่วนกรมการแพทย์ 1668 สายด่วนศูนย์นเรนทร 1669”นพ.สมศักดิ์กล่าว


นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง แยกเป็น 1.ผู้ป่วยที่อาการทั่วไป คงที่ ผลการตรวจล่าสุดคงที่ไม่มีปัญหา จะมีการส่งยาถึงบ้านทางไปรษณีย์ รับยาร้านยาใกล้บ้าน เลื่อนนัดให้นานขึ้น และให้คำปรึกษาทางไกล 2.ผู้ป่วยที่อาการแย่ลง ผลการตรวจล่าสุดมีปัญหา จะต้องมาตรวจตามนัด และให้คำปรึกษาทางไกล และ3.ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยรุนแรงฉุกเฉิน เข้ารับบริการฉุกเฉินตามปกติ