TACC ปั้นธุรกิจ B2C ขึ้นแท่น 'ดาวเด่น' !
เมื่อความเสี่ยงธุรกิจเดิมพึ่งพิงรายใหญ่มากเกินไป ! 'จิรพรรณ คชฤทธิ์ชูแสง' หญิงเก่ง 'ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์' เผยแผนยุทธศาสตร์ 3-5 ปี (2563-2567) จ่อปรับลดสัดส่วนรายได้กลุ่มสินค้า B2B เหลือ 70% ผลักดันผลิตภัณฑ์ B2C ขึ้นแท่น 'ดาวเด่น'
'โควิด-19' แทรกซึมเข้าไปในทุกธุรกิจ แต่ บมจ. ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ หรือ TACC เจ้าของโถกดน้ำและกลุ่มสินค้าที่จำหน่ายใน All Café ในร้านสะดวกซื้อ 'เซเว่น อีเลฟเว่น' (7-Eleven) คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 80% ของรายได้รวม ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบของโควิด-19 'ไม่รุนแรงมาก !' เฉกเช่น ธุรกิจกลุ่มอื่นๆ อย่าง โรงภาพยนตร์ สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
'จิรพรรณ คชฤทธิ์ชูแสง' รองกรรมการผู้จัดการ บมจ. ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ หรือ TACC เล่าให้ 'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek' ฟังว่า บริษัทมีเป้าหมายสำหรับแผนธุรกิจ 3-5 ปี (2563-2567) โดยพยายาม 'ปรับลด' สัดส่วนรายได้ที่มาจากธุรกิจ 'Business-to-Business' (B2B) และ 'ปรับเพิ่ม' สัดส่วนรายได้ที่มาจากธุรกิจ Business-to-Consumers (B2C) มาเป็น 70 : 30 จากเดิม 84 : 16 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการ 'ลดความเสี่ยง' จากการพึ่งพิงผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงรายเดียว !
ด้วยการไปหา Café Business รายใหม่ที่มี 'ยอดขายและขนาดใหญ่' ซึ่งเป็นการขยายฐานลูกค้ารายใหม่ของบริษัทจากข้างนอก 'ไม่ได้จำกัด' ตัวเองอยู่เพียงแค่ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น อย่าง กรณีการรับจ้างผลิตเครื่องดื่มชานม Brown sugar ให้กับร้าน แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) โดยบริษัทต้องการขยายธุรกิจแบบดังกล่าวเนื่องจากสามารถจำหน่ายเข้าไปได้ครั้งเดียวถึง 350 สาขา ร้านกาแฟมวลชน Jungle , Café Arabitia , Café CP Fresh Mart ซึ่งมีสาขากระจายทั่วประเทศ ช่วยเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้าของบริษัทในอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม บริษัทมีเป้าหมายที่จะพยายามขยายธุรกิจในลักษณะดังกล่าวกับเจ้าของคาแฟ่อื่นๆ อีก ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับร้านคาแฟ่แบรนด์อื่นๆ อีก 2-3 ราย ซึ่งคาดว่าในปีนี้อาจจะมีโอกาสเห็นดีล Café Business อีก 1 แห่ง
'เรายอมรับว่าพึ่งพิงเซเว่นฯ เยอะไป แต่ในมุมมองเชื่อว่าไม่เสี่ยงมาก เพราะว่าเรากับเซเว่นฯ มีสัญญาระหว่างกัน 3 ปี ทว่าเราก็จะพยายามกระจายความเสี่ยงดังกล่าว ด้วยการหาคาแฟ่แบรนด์อื่นๆ เข้ามาเสริม ซึ่งเป็นการขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ของเราด้วย'
เธอ บอกต่อว่า จากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจ B2B หรือกลุ่มสินค้าที่วางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น จะยังคงสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเครื่องดื่มเย็นในโถกดที่มีความหลากหลายมากขึ้น กลุ่มสินค้าที่จำหน่ายใน All Café มีการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เครื่องดื่ม ชานมบุก ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับการตอบรับที่ดีสามารถรับรู้รายได้ ได้เต็มปี
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มธุรกิจ B2B นั้น บริษัทจะพยายามหาตัว 'สินค้าที่มียอดขายโดดเด่น' หรือ Signature และสินค้าที่เป็น 'ไฮมาร์จิน' ซึ่งจะสร้างรายได้เติบโตของบริษัท โดยคาดว่าแนวโน้มรายได้ปีนี้จะเติบโต 10-15% ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจ B2B หรือกลุ่มสินค้าที่วางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่นฯ จะยังคงสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเครื่องดื่มเย็นในโถกดที่มีความหลากหลายมากขึ้น
นอกจากนี้ อีกกลุ่มธุรกิจที่กำลัง 'โดดเด่น' และมีอัตราการเติบโต 'เท่าตัว' ทุกปี คือ 'ธุรกิจคาแรคเตอร์' โดยบริษัทได้เซ็นต์สัญญา Licensing Agreement กับบริษัท Ingram ประเทศญี่ปุ่น เป็นตัวแทนอนุญาตให้ ใช้ลิขสิทธิ์ของบริษัท San-X ประเทศญี่ปุ่น (Licensor) ซึ่งมีระยะเวลาของสัญญา 5 ปี ปัจจุบันบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายมาร่วม 3 ปีแล้ว กลุ่มคาแรคเตอร์ของ San-X ได้แก่ Rilakkuma , Sumikkogurashi , Sentimental Circus , Kamonohashikamo , Mamegoma เป็นต้น
โดยปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่ขอไลเซนส์กลุ่มคาแรคเตอร์ทั้งหมด 34 ราย ซึ่งตอนนี้ลูกค้ายังต่อสัญญาทุกราย แม้ว่าลูกค้าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และบริษัทพิจารณาต่อสัญญาให้ลูกค้าทุกรายออกไปอีก 6 เดือน จากสัญญาเดิม 1 ปี เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกค้าเนื่องจากผลกระทบจากการหยุดหรือชะลอการออกสินค้าใหม่ๆ สู่ตลาด
ทว่าในวิกฤติก็ยังเป็นโอกาสของกลุ่มผลิตภัณฑ์บางรายที่ยังออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่อเนื่อง อย่าง กลุ่มลูกค้าที่เป็นเจ้าของแบรนด์ซื้อผ้าเด็ก และลูกค้าอีก 2-3 ราย ที่เป็นเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับผ้าหันมาผลิตหน้ากากผ้าลายริลัคคุมะ (Rilakkuma) ออกมาจำหน่าย
ปัจจุบัน TACC มีผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.'กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่บริษัท ร่วมพัฒนากับพันธมิตรทางธุรกิจ' (B2B) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้บริษัทจะทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรหลักทางธุรกิจ (Key Strategic Partner) เพื่อผลิตและวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในร้านค้าของลูกค้า ซึ่งจะครอบคลุมถึงร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) และร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร (Food Chain Restaurant) ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทร่วมพัฒนากับพันธมิตรทางธุรกิจ 'เครื่องดื่มเย็นในโถกด' (Cold Beverage Dispenser) ที่เป็นรสชาติหลัก (Core Flavor) เครื่องดื่มประเภทนี้เป็นเครื่องดื่มที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัท ซึ่งบริษัทได้ร่วมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในโถกดร่วมกับเซเว่นฯ มานาน 15 ปี โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าววางจำหน่ายในเซเว่นฯ ในรูปแบบผงปรุงสำเร็จบรรจุในถุงขนาดต่างๆ
'เครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผงพร้อมชง' ซึ่งนอกเหนือจากการร่วมพัฒนาเครื่องดื่มในโถกดแล้ว บริษัทได้พัฒนาเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผงพร้อมชงขนาด 35 กรัม เพื่อจำหน่ายให้กับร้าน All Café ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายเครื่องดื่มชงสดที่ตั้งอยู่ในร้านเซเว่นฯ โดยเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เมื่อเดือนมิ.ย. 2557 และปัจจุบันมี 5 รสชาติ ประกอบด้วย ชานม ชาเขียวนมมัทฉะ ชามะนาว โยเกิรต์ผลไม้ปั่น และชานมบุก นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่บริษัทร่วมพัฒนาเพื่อจำ หน่ายเป็นครั้งคราวหรือ ตามฤดูกาล (Seasonal) เช่น ชาชีส ราสป์เบอร์รี่โรส แมงโก้ซัมเมอร์ ฟรุ๊ตที บูลลิ้นจี่ ชานมชามะนาวสูตรใหม่ ชานมบุก เครื่องดื่มรสไข่เค็ม และยูนิคอร์นมิลคีก์
'ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทร่วมพัฒนาเพื่อจำหน่ายเป็นครั้งคราวหรือตามฤดูกาล' (Seasonal) นอกจากนี้เครื่องดื่มในโถกดจะมีเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้แต่ละร้านสามารถเลือกได้ ตามความเหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละร้าน ซึ่งบริษัท ซีพี ออลล์ จะมีการพัฒนาสินค้าร่วมกับผู้จำหน่ายสินค้า แต่ละราย ซึ่งบริษัร่วมพัฒนาเพื่อจำหน่ายเป็นครั้งคราวหรือตามฤดูกาล (Seasonal)
'เครื่องกดเครื่องดื่มร้อนแบบอัตโนมัติ' (Hot Beverage Dispenser) ทางบริษัทร่วมพัฒนาสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มร้อนอัตโนมัติกับทางบริษัท ซีพี ออลล เพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริโภคเครื่องดื่มกับลูกค้ามากขึ้น ณ ร้าน 7-Eleven เริ่มติดตั้งปลายปี 2558 ปัจจุบันติดตั้งแล้ว 637 เครื่อง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในนร้าน 7-Eleven ในปั้มน้ำมันของปตท. เครื่องดื่มร้อนดังกล่าวราคาจำหน่ายแก้วละ 17 บาท ปัจจุบันมีทั้งหมด 3 รสชาติหลัก ได้แก่ กาแฟ ช็อกโกแลต และชาเขียวนม มัทฉะ
'โดนัท อะ สไมลล์' บริษัทได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจเบเกอร์รี่ ซึ่งถือเป็นธุรกิจข้างเคียง (Adjacent Category) จากธุรกิจหลัก (ชา และกาแฟ) โดยบริษัทได้พัฒนาสินค้ากลุ่มโดนัทสไตล์ญี่ปุ่น สโนวีว์โดนัททวิส โดนัท สไตล์ญี่ปุ่น ตราอะ สไมล์ เป็นโดนัทเนื้อนุ่ม โดยบรรจุแยกซองน้ำตาลไอซิ่ง ทำให้สามารถแบ่งเทได้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ไม่ชอบทานหวาน และชอบทานหวาน ปัจจุบัน บริษัทได้หยุดการขายธุรกิจเบอเกอร์รี่ ชั่วคราวเนื่องจากอยู่ระหว่างการสรรหาโรงงานรับจ้างผลิตรายใหม่
และ 2.'กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของบริษัท' (B2C) เป็นผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเป็นผู้คิดและพัฒนาสูตรเพื่อจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของบริษัท โดแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ชาเขียวพร้อมดื่ม (Ready to Drink) ตรา 'เชนย่า' (Zenya) และน้ำผลไม้ ภายใต้แนวคิดผลิตภัณฑ์ว่า 'Zenya Super Power from Super Fruit' ในปีนี้บริษัทได้กลับเข้าไปจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่ม 'เชนย่ำ' (Zenya) ใน ประเทศกัมพูชาอีกครั้ง โดยทำการปรับสูตรใหม่เพิ่ม Cooling Agent
เครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง ตรา 'ณ อรุณ' (Na-Arun) เครื่องดื่มประเภทนี้เป็นผลิตภัณฑ์ปรุงสำ เร็จชนิดผง บรรจุในซองที่มีขนาดบรรจุ 500 กรัมจำหน่ายในรูปแบบลังบรรจุ 10 ซอง เครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง ตรา 'สวัสดี' (Sawasdee) เป็นเครื่องดื่มคุณภาพที่ผลิตภายใต้แนวคิดที่ต้องการสร้างความแตกต่างและความแปลกใหม่ในการบริโภค
'ธุรกิจคาแรคเตอร์' บริษัทได้เซ็นต์สัญญา Licensing Agreement กับบริษัท Ingram ประเทศญี่ปุ่น เป็นตัวแทนอนุญาตให้ ใช้ลิขสิทธิ์ของบริษัท San-X ประเทศญี่ปุ่น (Licensor) ซึ่งบริษัทจะเป็นตัวแทนที่จะดูแล Licensee ครอบคลมุ 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย กัมพูชา เมียนมา ลาว และเวียดนาม ระยะเวลาของสัญญา 5 ปี คาแรคเตอร์ข์อง San-X คือ Rilakkuma , Sumikkogurashi , Sentimental Circus , Kamonohashikamo , Mamegoma เป็นต้น
และ 'ธุรกิจคาเฟ่' บริษัทได้ขยายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มภายใต้ตราสินค้าของบริษัท เข้าสู่ธุรกิจคาเฟ่ (Café Business) เช่น ร้านกาแฟมวลชน Jungle Café Arabitia Café CP Fresh Mart และ Black Canyon โดยมีสาขากระจายทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ
โบรกฯ มองโควิด-19 กระทบน้อย
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า(ประเทศไทย) ระบุว่า ประเมินผลกระทบจากโควิด-19 ต่อ TACC มีจำกัดเพราะนักท่องเที่ยวไม่ใช่ฐานลูกค้าหลักของ TACC ส่วนความกังวลต่อการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศ มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่อ TACC เพราะเครื่องดื่มของ TACC มีราคาไม่สูงทำให้ได้โอกาสจากลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ต้องการลดค่าใช้จ่าย ขณะที่ลูกค้ากลุ่มเดิมอาจได้รับผลกระทบบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ภาวะภัยแล้งทำให้อุปสงค์ของการดื่มเครื่องดื่มยังสูง โดยเฉพาะเครื่องดื่ม Low cost
นอกจากนี้ด้วยสินค้าของ TACC เป็นแบบผงทำให้ภาวะขาดแคลนน้ำไม่กระทบ TACC ส่วนเรื่องการขายลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนเชื่อว่าได้รับผลกระทบจากโควิด-19 บ้างจากการหยุดชะงักในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของแบรนด์ต่างๆ แต่เป็นเพียงช่วงสั้น
อย่างไรก็ตาม คาดกำไรไตรมาส 1 ปี 2563 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่อาจชะลอลงจากไตรมาสก่อน ตามปัจจัยฤดูกาล
แม้ว่าราคาหุ้นปรับตัวลงมากเกินไปขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังแข็งแกร่ง อีกทั้งมีดีล M&A อยู่ระหว่างทำ Deal diligence และยังไม่รวมในประมาณการดังนั้น คงประมาณการกำไรปี 2563 ที่ 204 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.6% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และทำสถิติสูงสุด (New high) ต่อเนื่องอีกปี คงคำแนะนำ 'ซื้อ' ราคาเป้าหมาย 7.54 บาท มี Upside gain 99.5%