‘เรียนออนไลน์’ ผ่าน ‘DLTV’ วันแรก เจอเรื่องขัดข้องเพียบ!

‘เรียนออนไลน์’ ผ่าน ‘DLTV’ วันแรก เจอเรื่องขัดข้องเพียบ!

เริ่มแล้ว เรียนออนไลน์วันแรก! เจอปัญหาเพียบ โดยเฉพาะช่องทางเว็บไซต์หลักของ DLTV และแอพพลิเคชัน DLTV ก็เกิดล่ม เข้าใช้งานไม่ได้ทำให้เด็กๆ เรียนไม่ทัน

เริ่มแล้ว เรียนออนไลน์วันแรก! ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์มการเรียนการสอนทางไกล DLTV ซึ่งมีทั้งชมผ่านทีวีดาวเทียมในช่อง DLTV 1 - DLTV 15 (หรือช่อง 186-200 ของดาวเทียมจานทึบ) และผ่านแอพพลิเคชัน “DLTV” ก็มีให้โหลดแอพฯ เพื่อเรียนผ่านออนไลน์ได้เช่นกัน

แต่การเรียนการสอนทางไกลครั้งแรกทั้งประเทศแบบนี้ไม่ง่าย เด็กๆ นักเรียน และผู้ปกครองต่างก็พบกับปัญหาจากการเรียนการสอนออนไลน์มากมาย ตั้งแต่เข้าใช้งานเว็บไซต์หลักของ DLTV ไม่ได้, แอพพลิเคชัน DLTV ล่ม, การเรียนที่ยังไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรเพราะพ่อแม่ต้องทำงาน ไม่ว่างมาคอยกำกับดูแลบุตรหลาน ฯลฯ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ได้สำรวจปัญหาและความขัดข้องต่างๆ ที่หลายคนพบและแชร์กันว่อนในโลกโซเชียลเกี่ยวกับการ “เรียนออนไลน์” ผ่านช่องทาง “DLTV” วันแรก มาให้ดูกัน ดังนี้

1. แอพฯ “DLTV” ล่มแต่เช้า เข้าเรียนไม่ได้!

เช้านี้กระแสเรื่อง “เรียนออนไลน์” ในโลกโซเชียลมาแรงมาก เนื่องจากระบบใช้งานไม่ได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเว็บไซต์ DLTV และแอพพลิเคชัน DLTV ล่ม ไม่สามารถเข้าระบบได้ แม้ว่าจากนั้นไม่นั้นก็สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ แต่ก็ต้องรอการดึงสัญญาณอยู่อีกระยะ สัญญาณมาช้า ทำให้เรียนไม่ทัน

2. ปัญหา google classroom

จากการสำรวจปัญหาในโซเชียลพบว่าเด็กนักเรียนส่วนหนึ่งออกมาแชร์ความขัดข้อง และไม่เข้าใจเกี่ยวกับ google classroom โดยระบุว่า “google classroom เขาสอนคุณครูไม่ได้สอนพวกเรา” และ “การเรียน ม.5 ในวันนี้สอนเรียนวิชาหลัก 50 กว่านาที สอน google classroom ไป 1 ชั่วโมง ที่เหลือต้องดูรีรันเอา”

3. ผู้ปกครองของนักเรียนชั้น ป.6

ผู้สื่อข่าวกรุงเทพธุรกิจได้สำรวจความเห็นของผู้ปกครองในประเด็นการ "เรียนออนไลน์" พบว่าผู้ปกครองรายหนึ่งของนักเรียนชั่น ป.6 อธิบายว่า ลูกของตนใช้ช่องทางการ "เรียนออนไลน์" ผ่าน DLTV ทางทีวีดาวเทียมทั่วไป ปรากฏว่าเจอปัญหาความผิดพลาดในเนื้อหาการสอน ที่อาจส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจของเด็กระยะยาว และยังได้แสดงความเห็นอีกว่า 

"เรียนออนไลน์ไม่ดีค่ะ ตราบใดที่มันเป็นการเรียนแบบ one way และการจัดแผนการเรียนการสอนที่ไม่บูรณาการกับพฤติกรรมเด็ก gen z ก็ทำได้ไม่ดีค่ะ ไม่ได้บอกว่าการเรียนแบบ one way แย่ไปหมดนะ แต่มันมีปัญหาที่แผนการเรียนการสอนจากความไม่เข้าใจในความเป็นเด็กในแต่ละสมัย คือเด็กที่เห็นจากทีวีและชีวิตจริง เด็กพวกนี้ติดอยู่ในกรอบของการตอบคำถามด้วยหลักเหตุผลไม่ได้"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

   

158978475962

4. บางคนสับสนจะเรียนผ่านมือถือหรือทีวี?

เด็กนักเรียนบางคนยังมีความสับสนว่าควรเรียนผ่านออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์  www.dltv.ac.th หรือ แอพพลิเคชั่น "DLTV" หรือควรดูการสอนของคุณครูผ่านทางช่องทีวีดาวเทียม DLTV  ซึ่งพบว่าบางคนเลือกเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์และแอพฯ จากนั้นพอเจอเว็บล่ม หรือสัญญาณเน็ตไม่ดี ก็เลยไม่สามารถเรียนได้ต่อเนื่อง โดยมีการสื่อสารปัญหาดังกล่าวผ่านกรุ๊ปไลน์ระหว่างครูและผู้ปกครอง ที่ต้องคอยสอบถามและคอยตอบกันวุ่นวาย กว่าจะได้เรียนก็เสียเวลาไปมากทีเดียว

5. ดาวเทียม “DLTV” จูนหาช่องเรียนไม่เจอ

เด็กนักเรียนบางคนออกมาโพสต์ข้อความในโลกโซเชียลว่า “กล่องรับสัญญาณดาวเทียมจูนช่องเรียนไม่ได้ พอจะเข้าไปในแอพ “DLTV” ก็ล่มอีก” , “เรียนๆ อยู่ เว็บล่มเฉยเลย” , “ตอนเรียนต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน ทั้งตอบไลน์ครู ทั้งถ่ายรูปส่งงาน จดไม่ทัน” , “ต้นทางสอนเร็วมาก สักพักก็ข้ามไปแล้ว เรียนไม่ทัน” 

6. ผู้ปกครองบ่นอุบ เรียนแบบนี้ยากลำบาก!

ผู้ปกครองของนักเรียนชั้น ม.6 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ออกมาตอบโต้ครูเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ว่าเป็นการเรียนที่ลำบากมาก ทั้งต่อเด็กและต่อผู้ปกครอง โดยระบุว่า

“ถ้ามันยากลําบากนัก คงต้องรอเรียนเปิดเทอมเลยคะ เด็กนักเรียนไม่ได้ฉลาดทุกคน พ่อกับ แม่ก็ต้องทํางาน จะให้มานั่งเฝ้าลูกเรียนออนไลน์ทุกวันมันก็ไม่ใช่ แต่ถ้าจะปล่อยลูกเรียนเอง ลูกก็ไอคิวไม่เก่งเหมือนเด็กคนอื่น ขนาดเรียนกับครู ยังไม่รู้เรื่อง แล้วจะให้มานั่งเรียนเองมันจะรอดเหรอค่ะ วันนี้ทั้งวันเข้าแอพ Zoom อยู่ทั้งวัน ยังไปไม่ถึงไหนเลย”

158978475728

อ่านเพิ่มเติม : 

7. เด็กสงขลาบอก “เรียนออนไลน์” ต้องเสียค่าเน็ตแพง

เคสนี้เป็นเด็กนักเรียนจากจังหวัดสงขลา ที่พบปัญหาเรื่องการเรียนออนไลน์เช่นกัน เริ่มจาก เด็กชายกวินภพ ฮารีมัด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ซึ่งเจ้าตัวได้บอกเล่าเกี่ยวกับการ “เรียนออนไลน์” กับผู้สื่อข่าวกรุงเทพธุรกิจว่า การเรียนออนไลน์ก็ดีตรงไม่ต้องตื่นแต่เช้าไปโรงเรียน แต่เรียนไม่ค่อยรู้เรื่องเพราะไม่มีสมาธิ ครูมอบหมายงานก็ต้องส่งงานผ่านออนไลน์ และก็ต้องเสียเงินเพื่อซื้ออินเตอร์เน็ตเดือนละ 150 บาท ซึ่งต้องขอเงินจากพ่อแม่เพิ่มอีก

ส่วนอีกคนคือ เด็กหญิงสิริทรัพย์ ขันธ์แก้ว นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทร์ จังหวัดสงขลา บอกว่าตนเองต้อง “เรียนออนไลน์” วันละ 5 คาบ ซึ่งต้องซื้ออินเตอร์เน็ตทุกวันเพราะใช้โทรศัพท์ในการเรียน ต้องให้แม่เติมเงินให้ทุกวัน ซึ่งแม่ก็ต้องลำบากในการทำงานรายวันหาเงินเพื่อมาซื้ออินเตอร์เน็ตในส่วนนี้ให้

158978475817

8. ผู้ปกครองชาวเชียงใหม่ท้อ! ไม่มีอุปกรณ์ให้ลูกเรียนออนไลน์

ผู้สื่อข่าวกรุงเทพธุรกิจลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบปัญหาเรื่องการเรียนออนไลน์อยู่มากเช่นกัน เริ่มจาก นางพลอยใส แสงสุวรรณ​ อายุ 43 ปี ผู้ปกครองของนักเรียน 2 คน คนแรกเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยและอีกคนเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตอนนี้เป็นห่วงการเรียนของลูกทั้ง 2 คนมาก เพราะแต่ละครอบครัวมีพื้นฐานชีวิตไม่เหมือนกัน ถ้าครอบครัวไหนมีความพร้อมก็สามารถช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์ลูกได้ แต่อย่างตนเองไม่มีความพร้อมที่จะซื้ออุปกรณ์และติดอินเทอร์เน็ตให้ลูกๆ เรียนออนไลน์ได้

อีกคนคือ นางนุช ลุมหม่อง อายุ 45 ปี ผู้ปกครองเด็กนักเรียนชั้นม.1  บอกว่า ตอนนี้ตนเองตกงานไม่มีรายได้ ยิ่งมีการให้เรียนออนไลน์ที่ต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ ตนเองก็ไม่สามารถสนับสนุนให้ลูกได้ ขนาดข้าวจะกินยังต้องมารอบริจาค ค่าเช่าห้องก็หาแทบจะไม่ทัน

158979108419