ดราม่า 'ปู ไปรยา' ขอไม่ยุ่งการเมืองกับตำแหน่ง ทูตสันถวไมตรี 'UNHCR'

ดราม่า 'ปู ไปรยา' ขอไม่ยุ่งการเมืองกับตำแหน่ง ทูตสันถวไมตรี 'UNHCR'

หลังแสดงจุดยืนไม่ขอออกความเห็นกรณี #saveวันเฉลิม ผ่านแอพพลิเคชั่นอินสตาแกรม ทำให้แฟนคลับต่างเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องดังกล่าว

จุดเริ่มต้นดราม่าจากที่นักแสดงสาว ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ตอบกลับแฟนคลับที่เข้าไปขอร้องให้ติดตามกรณีการหายตัวไปของ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวไทย ที่อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาในแอพพลิเคชั่นอินสตาแกรมส่วนตัวของ ปู ไปรยา 

159150956257

โดยสรุปได้ว่า เธอเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น แต่ขอไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยเธอนั้นทำหน้าที่ของทูตสันถวไมตรี "UNHCR" ในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอย่างเต็มที่ เรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากนี้อยู่นอกขอบเขตบทบาทของเธอ 

159150954783

159151031737

159151032593

จากการตอบกลับดังกล่าวทำให้ชาวโซเซียลส่วนหนึ่งเข้าไปแสดงความคิดเห็นอย่างล้นหลาม พร้อมถามถึงความเหมาะสมต่อตำแหน่ง ทูตสันถวไมตรี UNHCR

159150937333

เมื่อ ปี 2560 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees :UNHCR) ได้มอบตำแหน่งให้ "ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก" ได้รับทำหน้าที่ทูตสันถวไมตรี UNHCR เป็นคนแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการ

159150938343

โดย UNHCR นั้นเป็นองค์กรที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรเอกชน (NGOs) เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยที่พักพิงในค่ายที่พักพิงชั่วคราวในประเทศ ตามคำเชิญของรัฐบาลไทยในปี พ.ศ. 2518 อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งจะมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัย และบุคคลในความห่วงใย โดยดำเนินงานผ่านทางโครงการต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราวมีความเป็นอยู่ที่ปลอดภัย

ปัจจุบัน มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ในประเทศไทย 102,607 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559) ในค่ายผู้ลี้ภัยทั้งหมด 9 ค่าย 4 จังหวัดตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตกได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน และตาก ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลไทยและความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนต่างๆ (NGOs) ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดงจากประเทศเมียนมาประกอบด้วยผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก และคนชรา

159150957547

ปัจจุบัน มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ในประเทศไทย 102,607 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559) ในค่ายผู้ลี้ภัยทั้งหมด 9 ค่าย 4 จังหวัดตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตกได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน และตาก ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลไทยและความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนต่างๆ (NGOs) ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดงจากประเทศเมียนมาประกอบด้วยผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก และคนชรา