เปิดที่มา ‘พายุ’ รายชื่อที่เรียกขาน มาจากไหน?

เปิดที่มา ‘พายุ’ รายชื่อที่เรียกขาน มาจากไหน?

ซิลากู ฮีโกส จนถึง บาหวี่ ฯลฯ ชื่อ "พายุ" เหล่านี้มีที่มาจากอะไร? แล้วทำไมเราถึงเจอพายุชื่อซ้ำๆ ทั้งที่เป็นคนละลูกเดียวกัน

พายุที่เพิ่งผ่านพ้นไปอย่าง “ซินลากู” (Sinlaku) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากดีเปรสชั่นเป็นโซนร้อน ส่งผลให้ไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น บางแห่งฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่ครอบคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ จนทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก อย่างเช่น พื้นที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ เป็นต้น และพายุ "ฮีโกส" (Higos) ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา รวมถึงพายุ "บาหวี่" ที่ใกล้จะเคลื่อนตัวเข้าทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ช่วงปลาย ส.ค.นี้

บางคนอาจสงสัยว่าว่า.. พายุเหล่านี้ มีใครเป็นกำหนดชื่อ และมีหลักการอย่างไร พายุบางลูกก็มีชื่อไทยคุ้นหู แต่อีกหลายลูกก็มีชื่อประหลาด ฟังไม่คุ้นเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  

แต่ละชื่อนั้นจริงๆ แล้วตั้งขึ้นจากอะไร?

159800471173

ก่อนจะไปดูเรื่องเบื้องหลังการตั้งชื่อพายุ เราต้องทำความเข้าใจถึงความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนเสียก่อน เนื่องจากมีผลต่อการตั้งชื่อ

โดย พายุหมุนเขตร้อน คือ พายุที่เกิดขึ้นเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 100 กิโลเมตร (กม.) ขึ้นไป ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับลมพัดที่รุนแรง ดยในซีกโลกเหนือ ลมจะพัดทวนเข็มนาฬิกาเข้าหาศูนย์กลาง ส่วนซีกโลกใต้ ลมจะพัดตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลาง ยิ่งใกล้ศูนย์กลางความแรงก็จะเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้พายุหมุนเขตร้อนจะเรียกแตกต่างกันไป โดยในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและอ่าวเบงกอล เรียกว่า ไซโคลน (CYCLONE) ขณะที่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก จะเรียกว่า เฮอร์ริเคน (HURRICANE) ส่วนมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้ เรียกว่าไต้ฝุ่น (TYPHOON)

ทั้งนี้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้แบ่งระดับ ความรุนแรงของพายุ ซึ่งมีผลต่อการตั้งชื่อพายุ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1.พายุดีเปรสชั่น (Derpession) เป็นพายุกำลังอ่อน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 34 นอต หรือราว 63 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง

2.พายุโซนร้อน (Tropical Storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต แต่ไม่เกิน 64 นอต หรือราว 63 กม.ขึ้นไป/ชม. แต่ไม่เกิน 118 กม./ชม

3.ไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคน มีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป หรือราว 118 กม./ชม.

จากข้อมูลของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ อธิบายถึงการตั้งชื่อพายุว่า มีการบันทึกว่าช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักอุตุนิยมวิทยาชาวออสเตรเลียเริ่มใช้อักษรกรีกเรียกพายุ แต่การเรียกพายุหมุนเขตร้อนอย่างเป็นระบบเริ่มขึ้นราวๆ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐกำหนดใช้ชื่อ "ผู้หญิง" เรียกพายุหมุนเขตร้อนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก

ขณะที่ปี 2496 ศูนย์พายุเฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐอเมริกาก็เริ่มตั้งชื่อพายุที่เป็นชื่อผู้หญิงเช่นกันในมหาสมุทรแอตแลนติก

การเรียกพายุหมุนเขตร้อนอย่างเป็นระบบเริ่มขึ้นราวๆ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐกำหนดใช้ชื่อ "ผู้หญิง" เรียกพายุหมุนเขตร้อนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก

ในบางแหล่งระบุว่า การที่ใช้ชื่อผู้หญิงเพื่อลดความเกรี้ยวกราดของพายุ แต่ก็มีการประท้วงว่าเป็นการเปรียบเทียบผู้หญิงกับความโหดร้าย จนปี 2522 จึงมีการนำชื่อผู้ชายมาร่วมด้วย

ล่าสุดปี 2543 องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกและประเทศสมาชิกในแถบแปซิฟิกตอนบนกับทะเลจีนใต้ 14 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐ และเวียดนาม จึงตกลงว่าจะตั้งชื่อพายุเอง

โดยแต่ละประเทศจะเสนอชื่อประเทศละ 10 รายชื่อ รวมทั้งหมด 140 รายชื่อ แบ่งออก 2 กลุ่มใหญ่ และ 5 คอลัมน์ โดยจะเริ่มจากชื่อแรกและเรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ ดังนี้

159661517615

159661519068

สำหรับการเรียกชื่อพายุ เมื่อเกิดพายุขึ้น จะเริ่มเรียกจากชื่อแรกในคอลัมน์ที่ 1 (หรือตามภาพคือ I) ตั้งแต่ Damrey (ดอมเรย) ของประเทศกัมพูชา ไล่เรียงลงมาที่ชื่อ Longwang (หลงหวาง) จนมาสุดที่ Trami (จ่ามี) ของเวียดนาม และจะวนกลับไปที่ชื่อแรกของคอลัมน์ 2 (หรือตามภาพคือ II) Kong-rey (กองเรย) และต่อไปเรื่อยๆ วนไปจนถึงคอลัมน์ 5 (หรือตามภาพคือ V) จบที่ชื่อสุดท้าย Saola (ซาวลา) ของเวียดนาม เมื่อชื่อถูกใช้วนจนครบแล้ว ก็จะกลับมาเริ่มที่ Damrey (ดอมเรย) อีกครั้ง 

ทั้งนี้สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 คณะกรรมการกำหนดการออกเสียงชื่อพายุภาษาไทย ที่มี ทวีสิทธิ์ ดำรงษ์ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายบริหาร ที่เป็นประธานกรรมการ ได้มีการเสนอชื่อพายุชุดใหม่ 10 ชื่อ ได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา นิดา มรกต ชบา กุหลาบ และขนุน อย่างที่เราคุ้นหูกันดีนั่นเอง

ที่มา : cmmet.tmdsaranukromthaistem